วันพฤหัสบดีที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2553

วาทะ แกนนำ

เราเกิดบนผืนแผ่นดิน เราโตบนผืนแผ่นดิน เราก้าวเดินบนผืนแผ่นดิน
เมื่อเรายืนอยู่บนดิน เราจึงห่างไกลเหลือเกินจากท้องฟ้า
เมื่อเรายืนอยู่บนดิน เราต้องแหงนคอตั้งบ่า แล้วเราก็รู้ว่า ฟ้าอยู่ไกล
เมื่อเราอยู่บนดิน แล้วก้มหน้าลงมา เราจึงรู้ว่า เรามีค่าเพียงดิน
แต่ด้วยพลังของคนเสื้อแดง ที่มันจะมากขึ้น ทุกวัน ทุกวัน
ขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกนาที ทุกนาที ทุกนาที
แม้เรายืนอยู่บนผืนดิน แม้เราพูดอยู่บนผืนดิน แต่จะได้ยินถึงบนท้องฟ้า
เสียงไชโยโห่ร้อง ของเราในยามนี้ จากคนที่มีค่าเพียงดิน
จากคนที่เกิดและเติบโตบนผืนแผ่นดิน จะได้ยินถึงบนท้องฟ้า แน่นอน
ข้า จะบอกดินบอกฟ้าว่า “คนอย่างข้าก็มีหัวใจ”
ข้า จะบอกดินบอกฟ้าว่า “ข้าก็คือคนไทย”
ข้า จะถามดินถามฟ้า“ว่าถ้าไม่มีที่ยืนที่สมคุณค่าจะให้ข้าหาที่ยืนเองหรืออย่างไร”

อยากให้พี่น้องได้แน่ใจ ว่าสิ่งที่เราทำอยู่ ไม่ผิด
ว่าสิ่งที่เราทำไม่ใช่การทำร้ายประเทศไทย
ว่าสิ่งที่เราทำไม่ใช่เป็นการรับจ้าง หรือ รับใช้ผลประโยชน์ทางการเมือง ของใคร
แต่สิ่งที่เราทำเพียงเพราะเราต้องการ “ประชาธิปไตย”
แล้วถามว่าเราทำไมต้องการประชาธิปไตย ประชาธิปไตยมันสำคัญอย่างไร
ก็มันสำคัญตรงที่ว่ามันเป็น “การปกครองของเรา”
ร่มเกล้าราชการที่ 7 ได้พระราชทานอำนาจมาโดยการร้องขอของประชาชน
ในกระนามคณะราษฎรแล้วหลังจากนั้นเราก็ เป็นประชาธิปไตยมาตลอด

เราจะไม่ลุกมาต่อสู้เลย
ถ้าประเทศนี้ประกาศว่า เป็น “อำมาตยาธิปไตย” มาตั้งแต่ต้น
เราจะไม่ลุกมาต่อสู้เลย
ถ้าประเทศนี้ไม่ประกาศหลอกผู้คนว่า ประเทศนี้เป็นประชาธิปไตย
ก็คุณเปิดเผยออกมา ว่าคุณต้องใหญ่ในประเทศนี้เพียงกลุ่มเดียว
คุณก็บอกมา ว่าประชาชนมันก็มีค่าเสมอไพร่
คุณก็บอกมา ว่าประชาชนมันเป็นเพียงก้อนอิฐก้อนดินที่คุณจะเหยียบย่ำ หรือจับวางตรงไหนก็ได้
ก็บอกมา ว่าประชาชนมันเป็นเพียงเศษหินเศษดิน ที่คุณจะเอาเป็นรากฐานของอำนาจให้คุณยิ่งใหญ่ตลอดไป
คุณก็บอกมา ว่าประชาชนไม่มีโอกาสจะเป็นใหญ่ในประเทศนี้ ในฐานะเจ้าของอำนาจ
แต่ถ้าคุณไม่พูด เราก็จะสู้.....

ที่ผ่านมาหัวใจประชาธิปไตยถูกเหยียบย่ำมามากแล้ว เราถูกเหยียบย่ำจนยับเยิน
แล้วจะมาเดินข้ามหัวเราไป แล้วก็บอกว่าให้สงบเพื่อสันติภาพ
คุณจะอุ้มคนกลุ่มหนึ่ง แล้วเหยียบหัวคนอีกกลุ่มหนึ่ง
แล้วหันไปถุยน้ำลายใส่หัวคนที่คุณเหยียบ แล้วบอกว่ามึงอย่าแหยมหน้ามานะ เพื่อสันติภาพ ถุย!..
ผมอยากจะบอกให้พวกคุณทราบ ว่าในผืนแผ่นดินนี้
หากไม่มีความยุติธรรม ก็ไม่ต้องถามหาคำว่าสันติภาพ..

เราจะชนะวันไหน ชนะเมื่อไหร่ไม่สำคัญ
แต่สิ่งหนึ่งจงภูมิใจ ที่ท่านเป็นส่วนหนึ่ง
ในการสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ ของประเทศไทย
รับภาระหนึ่ง โดยการกำอนาคตที่เลวร้ายของประเทศไทยไว้ แล้วนำมันไปสู่สิ่งที่ดีกว่า
สู่อนาคตที่ดีกว่า เพื่อลูกหลานของเรา เพื่อประเทศไทยของเรา......


...ถึงเจ็บปวดนักหนาในวันนี้ .......
...ก็ไม่มีถ้อยคำจะพร่ำบน.........
...เพราะเชื่อมั่นบนศรัทราประชาชน...
...ว่าวันพรุ่งความจริงจะหวนคืน......

วันอังคารที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2553

ข้อเรียกร้องให้ขับพรรคประชาธิปัตย์จากสมาชิกภาพของสหพันธ์เสรีนิยมสากล

นาย Hans van Baalen, MEP

ประธานสหพันธ์เสรีนิยมสากล (the Liberal International)

cc:The Bureau of the Liberal International, International Officers of the Liberal International’s Full Members and Observer Members.

ลอนดอน, 30 สิงหาคม 2553

จดหมายเปิดผนึก

ข้อเรียกร้องให้ขับพรรคประชาธิปัตย์จากสมาชิกภาพของสหพันธ์เสรีนิยมสากล

เรียน Hans van Baalen ที่เคารพ,

สหพันธ์เสรีนิยมสากลกำหนดให้สมาชิกของสหพันธ์ยอมรับและปฏิบัติตามข้อ บัญญัติในแถลงการณ์เสรีนิยม 1947 คำประกาศแห่งกรุงออกซ์ฟอร์ด 1967 และข้อเรียกร้องเสรีนิยมแห่งโรม 1981 แต่หลายปีที่ผ่านมา พรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นสมาชิกเต็มมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติหรือแม้แต่ เชื่อมั่นในแนวทางเหล่านี้เหล่านี้แม้แต่น้อย และจากหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการกระทำที่เป็นปริปักษ์ต่อแนวทางเสรีนิยม ของพรรคประชาธิปัตย์ที่มีอยู่มากมาย เราจึงขอเรียกร้องให้สหพันธ์เสรีนิยมสากลขับพรรคประชาธิปัตย์ออกจาการเป็น สมาชิกภาพ

เมื่อพรรคประชาธิปัตย์ได้ขึ้นสู่อำนาจเมื่อเดือนธันวาคมปี 2551 โดยคำตัดสินของศาลที่พิพากษาให้การเลือกตั้งปีก่อนหน้านั้นเป็นโมฆะ พรรคได้ดำเนินการทำลายระบอบประชาธิปไตย เสรีภาพการพูด สิทธิทางการเมืองและพลเรือน และนโยบายคุ้มครองชนกลุ่มน้อยในประเทศไทย

ประการแรก พรรคประชาธิปัตย์ได้ทำลายเสรีภาพแห่งการแสดงออกอย่างเป็นระบบ โดยการ

ก) ฟ้องร้องฝ่ายตรงข้ามโดยใช้กฎหมายอันกดขี่ เช่นกฎหมายอันเข้มงวดอย่างกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ จะเห็นได้จากสถิติการดำเนินคดีเหล่านี้ ในปี 2552

ข) ปิดกั้นข้อมูลข่าวสารทางเลือกอื่น รวมถึงสถานีทีวีฝ่ายตรงข้าม วิทยุชุมชนหลายสถานี

และเวปไซต์อีกกว่า50000 ถูกสั่งปิดโดยรัฐบาล

ประการที่สอง พรรคประชาธิปัตย์สนับสนุนการใช้ความรุนแรงและระบบศาลเตี้ยเพื่อกำจัดฝ่ายตรง ข้าม เป็นผลทำให้ประชาชนผู้ไม่มีอาวุธเสียชีวิตกว่าร้อยราย และบาดเจ็บอีกราวสองพันราย ตามรายงานข่าวของนักข่าวไร้พรมแดนกล่าวว่า ระหว่างการสลายการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงนั้น รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ได้ออก “ใบอนุญาตสังหาร” ให้กับกองทัพไทย เพื่อให้กองกำลังความมั่นคงใช้ในการ “หลีกเลี่ยงที่จะปฏิบัติตามกฎหมายระหว่างประเทศและระบบกฎหมายไทยที่ปกป้อง ประชาชน”

ประการที่สาม Human right watch ได้กล่าวว่าพรรคประชาธิปัตย์แสดงให้เห็นถึง “ พฤติกรรมที่ไม่เคารพสิทธิมนุษยชนและระบบกฎหมายอย่างต่อเนื่อง” เมื่อไม่นานมานี้พรรคได้ใช้อำนาจเผด็จการผ่านทางกฎหมายที่ไม่ความชอบธรรม อย่างพ.ร.ก.ฉุกเฉินเพื่อระงับสิทธิพลเรือนและสิทธิทารเมืองซึ่งเป็นสิทธิที่ ประกันไว้ในรัฐธรรมนูญ กระทำดังกล่าวเป็นการทำลายระบบนิติรัฐไม่ต่างจากการทำรัฐประหาร องค์การนิรโทษกรรมสากลประจำประเทศไทยได้กล่าวเมื่อไม่นานมานี้ว่า พ.ร.ก.ฉุกเฉินได้รองรับจุดประสงค์ของรัฐบาลที่ต้องการจะ “กดขี่ระบบกฎหมายและฝ่าตรงข้าม”

ประการที่สี่ พรรคประชาธิปัตย์ได้แสดงความไม่ประสงค์ที่จะปกป้องสิทธิของชนกลุ่มน้อยที่ ถูกดำเนินคดีทางการเมืองในประเทศเพื่อน ส่งผลให้ชาวโรฮิงญาราว 500รายเสียชีวิตเพราะขาดน้ำและอาหาร หลังจากที่กองทัพไทยได้ผลักเรือที่ปราศจากเครื่องยนต์หรือเข็มทิศนำทางของ ชาวโรฮิงญาออกไปยังน่านน้ำทะเลสากล พรรคประชาธิปัตย์ยังละเมิดกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศด้วยการส่งผู้ลี้ ภัยทางเมืองชาวม้ง4000คนกลับไปยังประเทศลาวในปี 2552 ซึ่งเป็นประเทศที่พวกเขาถูกดำเนินคดีทางการเมืองและทรมานเมื่อถูกประชาคมโลก วิจารณ์ สมาชิกสภาราษฎรจากพรรคประชาธิปัตย์นายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ กล่าวตอบโต้ว่าประเทศไทยไม่มีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติตามกระบวนของข้าหลวง ใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ เพราะประเทศไทยไม่ได้ลงนามร่วมในสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่ว่าด้วยการปกป้อง สิทธิของผู้ลี้ภัย

ประการที่ห้า พรรคมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ซึ่งเป็นกลุ่มที่ที่ต้องรับผิดชอบต่อการยึดทำเนียบรัฐบาลเป็นเวลา 3เดือน และยึดสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิเป็นเวลา 1อาทิตย์ และการยั่วยุทำให้เกือบจะเกิดสงครามระหว่างไทย-กัมพูชาในหลายครั้งตั้งแต่ปี 2551 นอกจากจะนิยมลัทธิคลั่งชาติ ต่อต้านแนวคิดแบบประชาธิปไตยแล้ว สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์หลายคนยังเป็นแกนนำกลุ่มพันธมิตร ภายใต้การนำรัฐบาลของพรรคประชาธิปัตย์ กลุ่มพันธมิตรไม่ต้องรับผิดชอบต่อการกระทำอันรุนแรงในความพยายามล้มรัฐบาล ที่มาจากการเลือกตั้ง

เราอาจสามารถเข้าใจได้ว่าสหพันธ์เสรีนิยมสากลอาจจะยอมรับใน“ความหลากหลาย ของกลุ่มประเทศสมาชิก”ตามแนวทางเสรีนิยม โดยเฉพาะประเทศที่ยังไม่มีประชาธิปไตยเต็มใบ อย่างไรก็ตาม เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องเข้าใจว่าพรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้ประยุกต์ใช้ “เสรีนิยมกับความเป็นไทย” อันที่จริงแล้วพรรคได้กระทำในสิ่งที่ตรงข้ามอย่างสิ้นเชิง

สหพันธ์เสรีนิยมสากลมีสมาชิกอย่างพรรคประชาธิปัตย์ที่ทำลายความเป็น ประชาธิปไตย และรักษาอำนาจของตนด้วยการอาศัยการสนับสนุนจากกองทัพและสถาบันที่ไม่ได้มา จากการเลือกตั้งและยังปฏิเสธที่ความชอบธรรมของการเลือกตั้ง สหพันธ์เสรีนิยมสากลยังมีสมาชิกอย่างพรรคประชาธิปัตย์ที่เป็นผู้นำรัฐบาลที่ มีการปิดกั้นข่าวสารอย่างหนักอย่าง มีระบบการดำเนินคดีกับฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองโดยการบิดเบือนกระบวนการทาง กฎหมาย และเพิกเฉยต่อสิทธิพลเรือนและสิทธิทางการเมืองของประชาชน และสหพันธ์เสรีนิยมสากลมีสมาชิกอย่างพรรคประชาธิปัตย์ที่สนับสนุนการผูกขาด ทางเศรษฐกิจทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ นอกจากนี้พรรคยังใช้ภาษาที่ลดความเป็นมนุษย์ต่อฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองอย่าง เป็นปกติวิสัยและเพื่อจะสร้างความชอบธรรมในการกดขี่คนกลุ่มน้อย พรรคยังเลือกที่จะยอบรับการกระทำอันรุนแรงที่เหล่าผู้นำพรรคมีส่วนเกี่ยว ข้องโดยการร่วมมือกับองค์กรกึ่งเผด็จการฟาสซิสต์อย่างกลุ่ม

พันธมิตร

นอกจากจะห่างไกลจากการเป็นพรรค “เสรีนิยม” พรรคประชาธิปัตย์แห่งประเทศไทยยังเป็นศูนย์รวมของนโนบายต่อต้านประชาธิปไตย และเต็มไปด้วยแนวทางที่พรรคที่เชื่อมั่นในเสรียมอย่างแท้จริงในประเทศยุโรป และที่อื่นต่อต้านมาเป็นเวลากว่าสองทศวรรษ เรา้เชื่อว่าสหพันธ์เสรีนิยมสากลจะไม่ยอมเสียชื่อเพราะมีพรรคที่ เป็น“ประชาธิปไตย”เพียงในนามเท่านั้นเป็นสมาชิก

เราได้แนบเอกสารทั้ง 23หน้าอธิบายถึงการกระทำและแนวทางความคิดของพรรคประชาธิปัตย์ที่เป็นปริ ปักษ์ต่อแนวทางเสรีนิยม จากหลักฐานดังกล่าว เราขอเรียกร้องให้สหพันธ์เสรีนิยมสากลขับพรรคประชาธิปัตย์ออกจากการเป็น สมาชิกอย่างเร่งด่วน เพราะการกระทำของพรรคประชาธิปัตย์จะองค์การสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศประณาม สหพันธ์เสรีนิยมสากล กระทำของพรรคยังเป็นปริปักษ์ต่อนโยบายของสหพันธ์เสรีนิยมสากลที่พยายามเผล แพร่แนวทางเสรีนิยมทั่วโลก นอกจากนี้การกระทำของพรรคประชาธิปัตย์ที่พยายามจะกำจัดฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลยัง คงอยู่ในช่วงดำเนินการ ดังนั้นการกดดันจากประชาคมโลกจะช่วยนำแนวทางเสรีนิยมประชาธิปไตยกลับมาสู่ ประเทศไทย

รายงาน Chatham Houseที่เขียนโดยอดีตเอกอัครราชทูตออสเตรเลียเมื่อไม่นานมานี้ ได้กล่าวว่าประชาคมโลกควรจะร่วมกันกดดันรัฐบาลให้ยกเลิกการใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน การขี่ฝ่ายตรงข้ามอย่างเป็นระบบ และการจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไป เพื่อที่จะนำไปสู่แนวทางปรองดองสมานฉันท์ของทั้งสองฝ่าย สหพันธ์เสรีนิยมสากลคือหนึ่งในองค์กรระหว่างประเทศที่มีอิทธิพลที่จะกดดัน พรรคประชาธิปัตย์ และการกดดันดังกล่าวอาจจะช่วยนำแนวทางเสรีนิยมกลับสู่ประเทศที่ระบอบเสรี นิยมประชาธิปไตยกำลังถูกทำลาย


อ่านเพิ่มเติมที่ โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม

ใครสั่ง



ใครสั่ง เล็กชิ้นสด
ลูกชิ้นหมดจะเอาไหม ?
ใครสั่ง เปื่อยเส้นใหญ่
เอ้าจัดให้ไม่ต้องรอ

ใครสั่ง หมี่ขาวตับ
ได้เลยครับหมูปะช่อ
ใครสั่ง น้ำตกต่อ
ใส่เลือดไพร่ไม่ขาดตอน

ใครสั่ง เป็นสั่งตาย
บอกผู้ร้ายหน้าสลอน
ใครสั่ง ไม่รู้ร้อน
ซ้ำยังนอนหลับเต็มตา

ใครสั่ง เส้นหมี่เหลือง
ปรุงครบเครื่องอย่ารอท่า
ใครสั่ง ยอมรับมา
ใครสั่งฆ่าประชาชน !!!

ใครสั่ง สัดกับหมา
ใครสั่งฆ่าประชาชน !!!


โดย ลูกชิ้นประชาชน

ที่มา: ไทยอีนิวส์

ถ้าไม่ปล่อยนักโทษการเมือง ก็ไม่ต้องพูดเรืองอื่น

วัฒนะ วรรณ

19 กันยายน 2553 นี้ก็ครบ 4 ปี ของการรัฐประหารแล้ว เกิดอะไรขึ้นในประเทศไทยบ้าง เรามีทหารครองอำานาจผ่านรัฐบาลพลเรือนมือเปื้อนเลือด เราเห็นคนตายเมื่อ 10 เมษายน เราเห็นคนตายเมื่อเดือนพฤษภาคม เราเห็นความป่าเถื่อนของชนชั้นสูงในประเทศนี้ เราเห็นหลายสิ่งหลายอย่างที่ไม่เคยคิดว่าจะได้เห็น เราเห็นภาพแท้ของประเทศไทย เราเห็นความยากจน ความเหลื่อมล้ำ ว่าแท้จริงแล้วเกิดจากสิ่งใดกัน
เรามีนักโทษการเมืองกว่า 400 คนที่จังหวัดปทุมธานี สมุทรปราการ อยุธยา อุบลฯ อุดรฯ ขอนแก่น มุกดาหาร เชียงใหม่ เชียงราย น่าน นครปฐม และกรุงเทพ พวกเจาถูกจับคุมขังและห้ามประกันตัว เพราะคิดต่างจากผู้มีอำนาจ เพราะกล้าลุกขึ้นมาปกป้องศักดิ์ศรีของตนเอง นี่แหละภาพแท้จริงประเทศไทย
เราจะทำอย่างไรกันต่อ เราคงมีทางเลือกอยู่สองทาง หนึ่งยอมจำนนเป็นไพร่ไปตลอดชีวิต จนถึงรุ่นลูกรุ่นหลานอีกหลายร้อยปี กับสอง ลุกขึ้นมาสู้ต่อ เยี่ยงนักต่อสู้ที่ยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ ผมคิดว่าพวกเราเลือกข้อสอง
เราจะสู้กันอย่างไร? เป็นคำถามสำคัญ อย่างแรกต้องเรียกความมั่นใจของเรา ของกลุ่มเรา ของเพื่อนพี่น้องเรากลับมาก่อน หาทางรวมกลุ่มกันให้มั่น ปลุกปลอบ สร้างขวัญกำลังใจให้กันและกันอย่างต่อเนื่อง ออกปฏิบัติการในรูปแบบที่ทำได้ เช่น กิจกรรมวันอาทิตย์สีแดง หรือเข้าร่วมสมัชชา 19 พฤษภาคม เพื่อท้าทายพวกอำมาตย์ทางการเมือง
สองกำหนดเป้าหมายเฉพาะหน้า นั่นคือต้องมีการปล่อยนักโทษการเมืองทุกคนทันที โดยไม่มีเงื่อนไข สิ่งนี้เป็นภารกิจสำคัญของนักสู้ประชาธิปไตย เราต้องพูด ต้องรณรงค์ ต้องกระจายข่าว ของพี่น้องที่อยู่ในคุกให้กว้างขวางมากที่สุด ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ต้องฝึกฝนเพื่อจะนำตนเอง หรือร่วมกันเป็นแกนนอน อย่างที่ คุณสมบัติ พยายามกระทำอยู่ตอนนี้
เหตุผลที่พวกอำมาตย์จับกุมนักต่อสู้ประชาธิปไตย ไม่ใช่เพราะว่าเขาเข้มแข็ง แต่ด้านกลับพวกเขาอ่อนแอเต็มที่แล้ว จึงใช้มาตรการสุดท้ายที่พวกเขามีอยู่ในมือ นั่นคือคุก ศาล ทหาร ตำารวจ เขาไม่อาจจะครองใจคนส่วนใหญ่ได้อีกต่อไป ไม่สามารถทำให้คนส่วนใหญ่เชื่อและยอมอยู่ภายใต้ระบบการปกครองแบบเดิมได้อีก มันจึงเป็นโอกาสทองที่พวกเราชาวไพร่ จะได้ปลดแอกตนเองเสียที
นอกจากนั้นเราต้องสร้างกำลังใจให้คนที่อยู่ในคุก ต้องมั่นไปเยี่ยมในเรือนจำ ต้องมั่นไปเยี่ยมญาติพี่น้องของเขาที่บ้าน ใครมีเงินช่วยเงิน ใครมีสิ่งของช่วยสิ่งของ ใครมีแรงช่วยแรง เพื่อสร้างขวัญกำลังใจ เพราะพวกเขาคือแนวหน้าของนักสู้ประชาธิปไตย เราทอดทิ้งเขาไม่ได้
เรามีความชอบธรรมในการรณรงค์เพื่อให้รัฐบาลอำมาตย์ปล่อยนักโทษการเมือง เพราะพวกเขาไม่มีความผิด ดังคำที่คุณศราวุฒิ ประทุมราช นักสิทธิมนุษยชนได้พูดไว้ว่า “นปช.ทุกคนคือนักโทษการเมือง ความผิดของนักโทษการเมืองคือไม่มีความผิด”
ดังนั้นถ้าไม่มีการปล่อยนักโทษการเมืองทั้งหมด ก็ไม่ต้องมาพูดอะไรกันอีก จะตั้งคณะกรรมการมากี่ร้อยกี่พันชุดมันก็ไม่ทำให้สังคมเป็นปกติขึ้นมาได้
แต่การจะให้อำมาตย์ปล่อยนักโทษการเมืองนั้นคงไม่ง่าย ต้องกดดันด้วยพลังมวลชนอย่างต่อเนื่อง ต้องสอดประสาน แล้วตั้งเป็นนโยบายเฉพาะหน้าร่วมกัน ทุกคน ทุกกลุ่ม ทุกองค์กร ว่าเราจะต่อสู้เพื่อปล่อยนักโทษการเมืองให้จงได้

ที่มา: นสพ.เลี้ยวซ้าย ฉบับที่ 63 กันยายน 2553

ว่าด้วย"เสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ"

การปรองดองจะไม่มีทางเป็นไปได้บนสถานะที่แต่ละฝ่ายไม่สามารถเทียบกันได้ (equivalent to) คือ ฝ่ายหนึ่งไม่มีเสรีภาพ นอกจากนี้ไม่มีความเสมอภาคกับอีกฝ่าย และยังไม่มีภราดรภาพแก่กัน

ระบอบการปกครองปัจจุบันอันเป็นที่ยอมรับและเป็นกระแสหลักนั้นมันไม่ใช่ เพียงแค่ประชาธิปไตยโดดๆ หากแต่มันคือ “เสรีนิยมประชาธิปไตย” ซึ่งเสรีนิยมประชาธิปไตยนั้น ก็ไม่ใช่ประชาธิปไตยแบบกรีกโบราณ (ซึ่งผู้หญิง ทาสเองก็ไม่มีสิทธิมีเสียงในทางการเมือง) คำขวัญสำคัญอันหนึ่งของเสรีนิยมประชาธิปไตยที่ได้มาจากการปฏิวัติฝรั่งเศสก็ คือ Liberté, égalité, fraternité หรือ “เสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ” ซึ่งทั้ง 3 อย่างนี้ไม่ได้ได้มาพร้อมๆ กัน หรือได้อย่างหลังมาก่อน แต่มันต้องเริ่มต้นที่เสรีภาพก่อน จึงจะเกิดความเสมอภาค และสุดท้ายก็จะเกิดภราดรภาพ (สำหรับองค์ประกอบของเสรีนิยมประชาธิปไตย ดูได้จากหนังสือ อุดมการณ์ทางการเมืองร่วมสมัย ของรศ.ดร.สมเกียรติ วันทะนะ)

ความคิดในคำว่าเสรีภาพ (liberty) ก็ออกจะไม่ยุ่งยากนักคือ “You have freedom if you have choice. I have liberty if I have choice, if I have option and if I am able to select among them.” หมายถึง “คุณมีอิสระ ถ้าคุณมีทางเลือก ฉันมีเสรีภาพ ถ้าฉันมีทางเลือก หากฉันมีตัวเลือก ฉันก็สามารถที่จะเลือกของพวกเขาได้” คือไม่ว่ายังไงเสรีนิยมประชาธิปไตยย่อมมีตัวเลือกให้ประชาชนที่หลากหลาย ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงตัวเลือกเดียว เช่นว่า ถ้าคุณไม่เลือกผมถือว่าคุณไม่รักชาติ?

ส่วนคำว่าเสมอภาค (equality) นั้นเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับความเท่ากัน หรือมีค่าเท่ากัน (equivalence) ซึ่งก็คือ“people or things are equal when they are equivalent to each other” หมายถึง “คนหรือทุกอย่างที่เท่าเทียมกัน เมื่อมีการเปรียบเทียบกัน” สำหรับความเสมอภาคทางการเมืองนั้นก็คือ ความมีสิทธิที่เท่าเทียมกันในการมีส่วนร่วมทางการเมือง และในกระบวนการตัดสินใจต่างๆ เมื่อเกิดความเสมอภาคขึ้นก็จะไม่เจอกับปัญหา เช่น สองมาตรฐาน? สามมาตรฐาน?

ภราดรภาพ (fraternity) มีรากศัพท์มาจากภาษาละตินว่า frater หมายถึง brother คือความเป็นพี่น้อง หรือเพื่อนร่วมชาติ พูดกันอย่างหยาบๆ ก็คือ “คนบ้านเดียวกัน” มาอยู่รวมกันแล้วก็เป็นเพื่อนกัน ซึ่งมันก็จะไม่เกิดคำถามเช่นว่า คุณเป็นคนพื้นเพที่ไหน? คุณไม่ใช่พวกผมเพราะคุณไม่ได้มาจากที่เดียวกับผม?

ถ้าจะพูดกันให้ทันสมัยหน่อยสำหรับการเมืองไทย ก็คือคำว่า “ปรองดอง” (ถ้าจะดูเป็นภาษาอังกฤษก็คือ hamony มาจากภาษากรีกคือ hamonia แปลว่า การร่วมกัน “joint”, การตกลงกัน “agreement”, สอดคล้องกัน “concord” ซึ่งมาจากคำกริยาว่า harmozo หมายถึง ให้พอดีกัน “to fit together” , ให้ร่วมกัน “to join”) ซึ่งคำพูดที่โก้หรูอย่างคำว่า “ปรองดอง” ดูจะเป็นเป้าหมายที่ทุกๆ ฝ่ายอยากจะให้เป็น แต่เมื่อดูสภาพการณ์ต่างๆ หรือบริบททางการเมืองแล้ว มันไม่ได้ตอบสนองต่อองค์ประกอบทั้งสามเลย (แถมออกจะไปในทางตรงกันข้าม) ถ้าไม่มีองค์ประกอบทั้งสามอย่างนี้ คำว่า “ปรองดอง” ก็ไม่มีทางที่จะเกิดขึ้นได้จริง และสิ่งที่สำคัญการปรองดองนั้นไม่ใช่การเกี้ยเซียะกันเองของนักการเมือง แต่มันจะต้องเกิดขึ้นตั้งแต่ระดับประชาชน

ทำไมรัฐ(บาล)ต้องเริ่ม? รัฐ(บาล)ต้องเป็นตนแบบ ตัวเริ่มอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะรัฐ(บาล)คือผู้ที่กุมอำนาจของรัฐทั้งหมด หาใช่ประชาชนหรือกลุ่มการเมืองอื่นๆ รัฐ(บาล)สามารถที่จะประกอบกิจกรรมใดๆ แม้กระทั่งความรุนแรงโดยชอบธรรมด้วย ดูจากความเห็นเช่น แมกซ์ เวเบอร์เองก็กล่าวถึงว่า “รัฐคือประชาคมของมนุษย์ที่อ้างสิทธิผูกขาดเหนือการใช้กำลังทางกายภาพโดยชอบ ธรรมภายในอาณาเขตหนึ่งๆ” โดยเวเบอร์ก็อ้างถึงลีออน ทรอตสกี้ที่ว่า “รัฐทุกรัฐก่อตั้งขึ้นบนฐานของความรุนแรง” หรือแม้แต่คำกล่าวของจอร์จ วอชิงตันที่ว่า “รัฐบาลไม่มีเหตุผล ไม่สำบัดสำนวน – มันคือกำลัง” เป็นต้น

การปรองดองจะไม่มีทางเป็นไปได้บนสถานะที่แต่ละฝ่ายไม่สามารถเทียบกันได้ (equivalent to) คือ ฝ่ายหนึ่งไม่มีเสรีภาพ นอกจากนี้ไม่มีความเสมอภาคกับอีกฝ่าย และยังไม่มีภราดรภาพแก่กัน


ที่มา: ประชาไท

จากนิยายออนไลน์ถึงสังคมไทย : ว่าด้วยความรุนแรงที่เป็นลักษณะเฉพาะของไทย?

หลังจากที่ทดลองติดตามอ่านนิยายออนไลน์ในเวบไซต์แห่งหนึ่งมาเกือบเดือน ผู้เขียนก็พบข้อสังเกตของชื่อเรื่องที่มักจะขึ้นต้นด้วยคำว่า "อสูร" "ซาตาน" "มาเฟีย" หรืออะไรก็ตามที่แสดงให้เห็นถึงพลังที่เหนือกว่าของผู้ชายจะได้รับความนิยม เป็นอย่างมาก ในขณะเดียวกันจุดร่วมของเนื้อหาของนิยายเหล่านี้ก็ดูจะไม่พ้นเรื่องราวของ ความรักที่มีฉากของการ "ตบจูบ" "ขืนใจ" หรือการที่ผู้หญิงยินยอมใช้ตัวเองแลกกับเงินหรือครอบครัวที่ต้องเลี้ยงดู และหากจะหนักใจผู้เขียนมากขึ้นไปอีกก็คงจะเป็นการบรรยายถึงบทรักทั้งหลายที่ ดุเดือด รุนแรง และเห็นภาพชัดเจนเป็นอย่างยิ่งแม้ว่าจะมีการควบคุมเนื้อหาของนิยายก็ตาม

บุคลิกของตัวละครผู้หญิงที่ปรากฏในเรื่องก็หนีไม่พ้นผู้หญิงที่ไม่สามารถ จะหาทางออกอื่นได้นอกจากการยินยอมตกเป็นของผู้ชายที่ตนเองไม่ได้รักหรือแม้ แต่ไม่เคยพบหน้า แต่ในท้ายที่สุดทั้งคู่ก็ครองรักกันอย่างมีความสุขโดยที่บางคู่อาจจะมีพยาน รักพ่วงแถมมาจากความไม่ตั้งใจหรือการใช้กำลังใดๆก็ตามที่ผ่านมาและที่สำคัญ คือ นิยายประเภทนี้กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็วทั้งในเวบไซต์และตลาดหนังสือที่ตี พิมพ์ออกมาเป็นรูปเล่ม

บางทีนี่อาจไม่ใช่ข้อสังเกตที่แปลกใหม่อะไรในสังคมไทยเพราะนิยายประเภท นี้ก็เคยถูกนำมาทำเป็นละครหลายต่อหลายครั้ง ซึ่งแต่ละครั้งที่สร้างก็ประสบความสำเร็จอย่างมากมาย แต่เมื่อมองให้ลึกลงไปแล้วกับความรู้สึกนึกคิดของผู้หญิงในสังคมไทย เราก็จะพบว่าเรื่องการใช้ความรุนแรงในลักษณะนี้เป็นเรื่องที่สามารถยอมรับ กันได้เป็นปกติ ผู้เขียนเคยสอบถามเพื่อนที่เป็นผู้หญิงหลายคนเกี่ยวกับความรู้สึกที่ผู้ชาย ที่เป็นคู่รักใช้กำลังกับตน ผู้หญิงส่วนใหญ่จะตอบว่าเป็นเรื่องธรรมดาของผู้ชายไทยที่สามารถยอมรับได้ และที่หนักกว่านั้นคือบางคนบอกว่าพอใจเพราะรู้สึกว่าผู้ชายกำลังรู้สึกหึง หวงตน นั่นยิ่งแสดงว่าผู้ชายคนนั้นรักคนมาก และหมายความว่ายิ่งใช้กำลังมากเท่าใด ความรักก็เพิ่มตามไปด้วย

หลังจากคำถามดังกล่าวยิ่งทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกมึนงงกับทัศคติของหญิงไทย ที่มีต่อการใช้ความรุนแรงทั้งที่ความรุนแรงนั้นเกิดขึ้นกับตัวเองแต่กลับ รู้สึกว่าเป็นเรื่องที่ธรรมดาอย่างนั้นหรือ?

จากกรณีของผู้หญิงเมื่อหันกลับมาสู่สังคมไทยโดยรวม เราจะพบว่าการใช้ความรุนแรงของผู้ที่มีอำนาจเหนือกว่าก็เป็นเรื่องที่เกิด ขึ้นและได้รับการยอมรับอย่างปกติเช่นเดียวกัน ในสมัยของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ที่ใช้กฎหมายมาตรา 17 ในการควบคุมความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองที่สั่งการได้จากนายกรัฐมนตรีโดย ตรงทำให้เกิดการจับกุมอันธพาลเข้ามาอบรมเพื่อให้กลับสู่สังคมแบบคนดี เกิดการประหารคนที่ทำให้บ้านเมืองไม่สงบ เช่น การลอบวางเพลิง การค้าขายฝิ่นและยาเสพติด และการเป็นคอมมิวนิสต์ เป็นต้น ทั้งที่คนในสังคมเกิดความกลัวเป็นอย่างมากภายใต้สถานการณ์ที่ถูกลิดรอนทั้ง เสรีภาพทางด้านร่างกายและการแสดงออก แต่ทุกคนก็สามารถยอมรับจอมพลสฤษดิ์ได้และยังถือกันว่าเป็นผู้นำที่ใช้ความ เด็ดขาดในการทำให้สังคมเกิดความสงบเรียบร้อยขึ้นต่างไปจากผู้นำคนอื่นๆที่ เคยผ่านมาและรวมถึงผู้นำในสมัยปัจจุบันด้วย

ไม่เพียงเท่านี้ การเกิดรัฐประหารในประเทศไทยหลายต่อหลายครั้งก็อาจจะกล่าวได้ว่าสืบเนื่องมา จากการปูทางของคนในสังคมเองที่เรียกร้องให้มีการใช้อำนาจเข้ามาจัดการ "ความไม่เรียบร้อย" ที่เกิดจากบรรดานักการเมืองที่หวังผลประโยชน์เพียงอย่างเดียว คนไทยส่วนใหญ่มักจะเชื่อว่าการใช้ทหารเข้ามาจัดการให้สังคมเป็นระเบียบยิ่ง ขึ้นย่อมจะได้ผลที่ทรงประสิทธิภาพมากกว่าการเลือกตั้งที่มักจะมีการโกงกัน อย่างสกปรกและยังได้ผลมากกว่าการเชื่อมั่นในตัวนักการเมืองอีกด้วย ภายใต้เหตุการณ์ดังกล่าวเราได้ให้ความชอบธรรมกับความรุนแรงที่เกิดขึ้นโดย พยายามอธิบายว่าเป็นเรื่องของความเป็นไทยที่ไม่เหมือนใครและไม่จำเป็นจะต้อง มีใครเหมือน ทั้งยังลงท้ายด้วยการสรุปว่าวัฒนธรรมของไทยเป็นวัฒนธรรมที่สามารถใช้อำนาจ เพื่อจะผดุงความสงบสุขให้กับสังคม ซึ่งควรจะถือเป็นเรื่องน่ายินดีด้วยซ้ำที่ประเทศอื่นไม่สามารถจะทำตามได้

ย้อนกลับมาสู่สังคมไทยในปัจจุบันอีกครั้ง นอกเหนือไปจากกรณีของคนเสื้อแดงที่ถูกสลายการชุมนุมโดยใช้อาวุธ ในที่นี้ผู้เขียนจะไม่ขออธิบายรายละเอียดลงไปมากนักเพราะเชื่อว่าทุกคนคงจะ รับรู้เรื่องราวกันมาแล้วทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นด้านของคนเสื้อเหลืองหรือเสื้อ แดง แต่ไม่ว่าคนเสื้อแดงจะมีอาวุธจริงหรือไม่ ? หรือฝ่ายทหารได้ตั้งใจยิงเข้าสู่คนเสื้อแดงอย่างนั้นหรือ? นั่นไม่ใช่คำตอบที่เราสามารถจะสรุปลงไปได้อย่างชัดเจน (อย่างน้อยก็ภายใต้สภาวการณ์เช่นนี้) แต่สิ่งที่เราควรจะครุ่นคิดหาคำตอบคือ ปฏิกิริยาของคนในสังคมต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อความรุนแรงที่เกิดจนทำให้ มีจำนวนของผู้เสียชีวิตเป็นตัวเลขที่สูงมากและนั่นยังไม่รวมกับสภาพจิตใจที่ ย่ำแย่ของคนที่ร่วมชุมนุมและผู้ที่อยู่ ในเหตุการณ์

เราควรจะทำความเข้าใจสังคมของเราว่ากำลังเกิดอะไรขึ้นกับคนส่วนใหญ่ของ ประเทศหรือคนเกือบทั้งหมดของกรุงเทพมหานครที่กำลังโกรธแค้นบุคคลที่ทำลาย อนุสรณ์สถานแห่งความรื่นรมย์ของชีวิตเมืองกรุงของพวกเขาและเรียกร้องให้ รัฐบาลออกมาจัดการกับกลุ่มบุคคลดังกล่าวอย่างเร่งด่วน แต่กลับกันเป็นอีกอารมณ์หนึ่ง พวกเขาก็โหยหาอาลัยอาวรณ์จนถึงขนาดที่ว่าต้องมีการจัดงานระลึกหรืออะไรก็ตาม เพื่อดึงเอาความทรงจำที่ดีกับสถานที่เหล่านั้นของพวกเขากลับคืนมา

หรือแม้แต่ เหตุการณ์ความรุนแรงในภาคใต้ที่เคยสาหัสเพียงใด ในตอนนี้ก็ดูจะเท่าเดิมหรือมากกว่าเดิม กระแสของการหล่อหลอมคนไทยให้มีหัวใจเป็นหนึ่งเดียวได้จางหายไปกับกาลเวลา สิ่งที่เหลืออยู่มีเพียงความเมินเฉยของคนในสังคมส่วนใหญ่ที่ได้รับฟังข่าว คราวที่อาจจะปรากฏในหน้าหนังสือพิมพ์หรือสื่อต่างๆบ้างเท่านั้น ผู้เขียนไม่ขอปฏิเสธว่าผู้เขียนเองก็เป็นหนึ่งในคนเหล่านั้นที่สามารถรับฟัง ข่าวการเสียชีวิตของคนในภาคใต้ได้อย่างชินชา จนถึงในวันนี้ที่เกิดคำถามกับตัวเองว่าเราเคยถามตัวเองไหมว่าจำนวนของคนที่ เสียชีวิตจากเหตุการณ์ครั้งนี้มันเป็นจำนวนเท่าใด? แทนที่จะมัวมานั่งหาวิธีสมานฉันท์ เราควรจะย้อนกลับไปคิดหรือไม่ว่าเรากำลังรู้สึกอย่างไรต่อความรุนแรงที่เกิด ขึ้นและเราควรจะจัดการกับมันอย่างไร?

ท่ามกลางกระแสนิยายออนไลน์ที่กำลังขยายตัวไปพร้อมกับเรื่องราวที่วนเวียนอยู่กับการที่พระเอกข่มขืนนางเอกไม่รู้จบ

ท่ามกลางทัศนคติของผู้หญิงไทยที่มีต่อความรุนแรงทั้งในครอบครัวและชีวิตรักว่าเป็นเรื่องธรรมดา

ท่ามกลางการรัฐประหารที่เกิดขึ้นในสังคมไทยครั้งแล้วครั้งเล่าและยังมีที ท่าว่ารัฐประหารกับการเมืองไทยจะเป็นสิ่งที่อยู่คู่กันตลอดทั้งที่ผ่านมาและ อาจจะตลอดไปโดยไม่ต้องอาศัยการวิเคราะห์ใดๆทั้งสิ้น

ท่ามกลางปรากฏการณ์การแบ่งสีที่นำไปสู่การชุมนุมทางการเมืองและจบลงด้วยการสูญเสีย

ท่ามกลางสถานการณ์ภาคใต้ที่ยังคุกรุ่นอยู่และยากที่จะดับลงไป

ในเวลานี้ความรู้สึกต่อความรุนแรงของคนในสังคมมันกำลังดำเนินไปในทิศทาง ใด บางทีเราไม่ควรจะมองสิ่งเหล่านี้เป็นเพียงเรื่องธรรมดาที่เป็นลักษณะเฉพาะ ของสังคมไทยอีกต่อไปแล้ว แต่เราควรจะมองตัวเราเองด้วยความประหลาดใจว่าเรื่องเหล่านี้มันเกิดขึ้นได้ อย่างไรและหาวิธีจัดการกับมันอย่างเร็วที่สุดก่อนที่สังคมของเราจะกลายเป็น สังคมที่มีความรุนแรงเป็นพื้นฐานต่อการจัดการทางอำนาจมากไปกว่านี้ เราควรจะตระหนักว่าการใช้กำลังได้แทรกซึมเขาสู่ปริมณฑลของปัจเจกบุคคล ครอบครัว สังคม ตลอดจนรัฐของเราอย่างช้าๆ และในท้ายที่สุดมันก็อาจจะกลืนให้สังคมไทยสามารถใช้กำลังในการตัดสินใจทุกๆ อย่างโดยไม่ต้องมีศีลธรรมหรือเหตุผลมารองรับ

เอกลักษณ์ของความเป็นไทยอาจมีหลายรูปแบบเท่าที่เราจะสร้างมันขึ้นมาได้ และสามารถนำออกไปอวดสู่สายตาชาวโลกได้อย่างภาคภูมิใจ แต่กับความรุนแรงที่กลายมาเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ สำหรับผู้เขียนแล้ว มันช่างเป็นความเป็นไทยที่บิดเบี้ยวไปอย่างน่าใจหายเหลือเกิน


ที่มา: ประชาไท

แทนที่ศีลธรรมแบบพ่อด้วยศีลธรรมแห่งมนุษย์

ศีลธรรมแบบพ่อ” เป็นคำที่มีนัยบ่งถึงการให้ ที่เกิดขึ้นบนพื้นฐานของความรัก ซึ่งโดยอุดมคติแล้วควรจะเป็นความรักที่บริสุทธิ์ แต่ในความเป็นจริงอาจจะไม่ใช่

มนุษย์ทุกคนต้องการความเคารพยกย่องจากผู้อื่นว่ามีเกียรติและศักดิ์ศรีที่ เท่าเทียมกัน นี่คือที่มาของพันธะทางศีลธรรมของการสร้างสังคมแห่งความเสมอภาค แต่สังคมแห่งความเสมอภาคก็ไม่ใช่สิ่งที่จะสร้างขึ้นได้ง่ายๆ (คงเป็นไปไม่ได้ที่มนุษย์จะครอบครองอำนาจ และสิ่งที่น่าปรารถนาต่างๆ อย่างเท่าเทียมกัน) แม้ลัทธิสังคมนิยมจะ เคยพยายามเปลี่ยนแปลงโลกให้เป็นเช่นนั้น แต่ก็ยังไม่ยังเคยประสบความสำเร็จ (และดูเหมือนว่าความหวังเช่นนั้นก็จบสิ้นไปแล้วในความรู้สึกของคนส่วนใหญ่) และด้วยการครอบครองที่ไม่เท่าเทียมกัน ด้วยความรัก ความหลงตนเอง มนุษย์ก็ยังสามารถยกตนเองเหนือกันและกันเป็นชั้นๆ และสร้างวาทกรรมที่ ทำให้ผู้ที่อยู่ต่ำลงมาเป็นชั้นๆ ยอมรับฐานะลดหลั่นเช่นนั้น วาทกรรมดังกล่าวมีพันธะทางศีลธรรมที่บิดเบือนเป็นแกนกลาง หมายความว่า เราอาจจะคิดว่าเราควรสร้างสังคมที่มนุษย์ทุกคนรู้สึกเสมอภาคเท่าเทียมกัน แต่ถ้าพันธะทางศีลธรรมถูกเข้าใจอย่างผิดพลาดบิดเบือน เราอาจคิดว่าเรามีพันธะทางศีลธรรมต่อการรักษาสังคมแบบชนชั้นแทนก็เป็นได้

นักสังคมวิทยาเรียกระบบชนชั้นในสังคมไทยว่าระบบอุปถัมภ์ เพื่อ ที่จะแสดงว่าระบบชนชั้นแบบนี้มีพันธะทางศีลธรรมบางอย่างเป็นแกนกลาง เพื่อสร้างและรักษาความสัมพันธ์ทางจิตใจระหว่างกัน เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรง ปกติคำว่า ชนชั้น หมายความว่ามีกลุ่มคนที่มีอำนาจเหนือผู้อื่นและใช้อำนาจนั้นบังคับขูดรีดเอา ผลประโยชน์จากกลุ่มคนที่ไร้อำนาจ นั่นคือระบบชนชั้นแบบดิบๆ ที่ทั้งสองฝ่ายไม่มีความรู้สึกของความสัมพันธ์ทางจิตใจต่อกัน ดังนั้นจึงไม่มีพันธะทางศีลธรรมต่อกัน ระบบอุปถัมภ์ไม่ใช่ระบบดิบๆ เช่นนั้น คำว่า อุปถัมภ์ เป็นคำทางศีลธรรม แสดงความเมตตาและการให้ความช่วยเหลือ ต่อผู้ที่มีน้อยกว่าตน สร้างให้เกิดพันธะทางศีลธรรมต่อผู้ที่ได้รับการอุปถัมภ์ ที่จะต้องตอบแทนต่อผู้ให้การอุปถัมภ์ นักสังคมวิทยาจะกล่าวว่าระบบอุปถัมภ์ของไทยมีศีลธรรมคือเมตตาธรรม และ ความกตัญญู เป็นแกนกลางของความสัมพันธ์ แต่แม้กระนั้นความมีชนชั้น คือความแตกต่างกันในอำนาจ และการขูดรีดผลประโยชน์ ที่ผู้อยู่เหนือเอาจากผู้อยู่ล่าง ก็ยังคงมีอยู่เป็นธาตุแท้ของความสัมพันธ์

จิตวิทยาเบื้องหลังความสัมพันธ์ทางสังคมแบบนี้ก็คือ ความรักความหลงในตนเองว่ามีค่าและอยู่เหนือผู้อื่นของผู้ให้การอุปถัมภ์ และความรู้สึกต่ำต้อยต้องการที่พึ่งพิง ความไร้ความเชื่อมั่นในตนเอง ของผู้รับการอุปถัมภ์

เป็นไปได้ว่าในระบบนี้ พันธะ ทางศีลธรรมที่มีระหว่างกัน จะพัฒนาไปถึงขีดสูงสุด จนการขูดรีดที่ผู้อยู่ข้างบนกระทำต่อผู้อยู่ข้างล่าง เป็นไปในขอบเขตที่น้อยที่สุด หรือไม่มีการขูดรีดตามความหมายปกติเลย คือ ผู้ให้อาจมีเมตตาอย่างสูงสุด คือให้ได้ในทุกสิ่งทุกอย่างที่ตนมีทรัพยากรที่จะใช้กระทำ เหลือความ เป็นชนชั้นอยู่แต่เพียงในความแตกต่างกัน ของระดับของเกียรติและศักดิ์ศรี และอำนาจที่ผู้ที่อยู่ข้างบนจะกำหนดความถูกผิด และความน่าปรารถนาไม่น่าปรารถนาต่างๆ ให้ผู้อยู่ข้างล่างต้องยึดมั่นตาม ด้วยพันธะของความกตัญญู จนสูญเสียอำนาจ ในการกำหนดคุณค่าในชีวิตของตนเอง

เราจะเรียกระบบศีลธรรมที่มี เมตตาธรรม และ ความกตัญญู นี้เป็นแกนกลางว่าอย่างไรดี? คำว่าระบบอุปถัมภ์มุ่ง เน้นที่ความเป็นชนชั้น ที่มีระบบศีลธรรมแบบนั้นเป็นตัวยึดเหนี่ยว แต่ตอนนี้ เราต้องการที่จะเน้นที่ตัวระบบศีลธรรมนี้เอง ในฐานะที่สร้างผลให้เกิดความต่างในระดับของเกียรติยศและศักดิ์ศรีของคนใน สังคม และสร้างความเป็นชนชั้นตามขึ้นมา นั่นก็คือเราต้องการสลับที่การเน้นและสลับความสัมพันธ์ทางตรรกะ ระบบศีลธรรมนี้เน้นความสัมพันธ์ระหว่างการเป็นผู้ให้ การเป็นผู้รับ และการใช้อำนาจ ดังนั้นต้นแบบที่ดีที่สุดคือครอบครัว เพราะพ่อแม่เป็นผู้ให้กับลูก แต่ก็ใช้อำนาจกับลูก ดังนั้นขอให้เรียกระบบศีลธรรมแบบนี้ว่า ศีลธรรมแบบพ่อ แม้อาจจะเรียกแบบเต็มๆได้ว่า ศีลธรรมแบบพ่อแม่ แต่จะขอใช้ตามการใช้ของวิชาสังคมวิทยาที่เรียกสังคมที่ผู้ชายเป็นใหญ่ว่า สังคมแบบพ่อ(patriarchal society) และจะถือว่าแม่คือผู้ได้รับอำนาจและทรัพยากรในการให้ต่อลูกมาจากพ่อ คำว่า ศีลธรรมแบบพ่อ เป็นคำที่มีนัยบ่งถึงการให้ ที่เกิดขึ้นบนพื้นฐานของความรัก ซึ่งโดยอุดมคติแล้วควรจะเป็นความรักที่บริสุทธิ์ แต่ในความเป็นจริงอาจจะไม่ใช่

เราอาจบรรยาย พ่อ ในฐานะต้นแบบทางศีลธรรมได้ ดังนี้ พ่อคือผู้ที่ใช้แรงกายแรงปัญญา แสวงหาทรัพยากรของความอยู่ดีกินดีของตนเองและครอบครัว พ่อส่งผ่านทรัพยากรไปให้แม่ เพื่อใช้ในการดูแลลูก ลูกเป็นผู้รับ เพราะไม่อาจแสวงหาทรัพยากรของชีวิตด้วยตนเองได้ พ่อคือต้นกำเนิดของความดีทั้งมวล เพราะพ่อคือผู้ให้คนแรก โดยมีแม่เป็นผู้ให้คนที่สอง เพราะเป็นผู้สนับสนุนภารกิจของพ่อ ลูกคือผู้รับ การให้คือความดี ดังนั้นลูกคนที่หนึ่งจะยังไม่มีความดีในตนเอง แต่เมื่อครอบครัวขยายออก ลูกคนโตสามารถกลายเป็นผู้ให้ต่อน้อง เขาได้ความดีในฐานะผู้ให้ต่อน้อง เขาเป็นผู้ช่วยพ่อ สร้างชีวิตที่ดีให้กับลูกคนอื่น ความดีนี้เกิดขึ้นเป็นขั้นๆ ไปตามอำนาจในการสร้างชีวิตที่ดีให้กับผู้อื่น พี่คนรองๆ สามารถให้ต่อน้องไปเรื่อยๆ จึงมีความดีลดหลั่นลงมา จนถึงน้องคนสุดท้อง แต่น้องคนสุดท้องคือผู้ที่รับเพียงอย่างเดียว เพราะไม่มีใครอยู่ต่ำกว่าที่เขาจะมีบทบาทเป็นผู้ให้อีกแล้ว การสร้างความดีระหว่างกันของลูกๆ และการที่พี่ให้ต่อน้อง คือการกตัญญูตอบแทนพระคุณพ่อ เพราะไม่มีอะไรที่พ่อต้องการกลับจากลูก พ่อคือผู้ที่ครอบครองฐานชีวิตทุกอย่างอยู่แล้ว แต่สิ่งที่พ่อต้องการตอบจากลูก คือการให้ระหว่างกัน เพราะพ่อต้องการความสุขของลูกทุกคน

ในสังคมไทยเราได้ยินเสียงของวาทกรรมทาง ศีลธรรมแบบนี้ตลอดเวลา เราถูกเรียกร้องให้สร้างความดีต่อกัน ในฐานะความกตัญญูต่อผู้ให้สูงสุด ผู้ที่เป็นต้นกำเนิดของความดี ในชีวิตของคนทุกคน ความดีระหว่างเรา ไม่ได้เกิดด้วยเหตุแห่งความรักระหว่างเรา เท่ากับที่เกิดจากความรัก และความกตัญญูตอบ ต่อผู้ที่ให้ทุกสิ่งต่อเรา สรุปก็คือ ในวาทกรรมนี้พ่อคือ ต้นแบบของความดีงามทางศีลธรรม แต่วาทกรรมนี้ก็มีนัยว่า ความดี หรือเกียรติ หรือคุณค่าของคน มีไม่เท่ากัน หากแต่ลดหลั่นเป็นชั้นๆ ตามการครอบครองทรัพยากร ซึ่งกลายมาเป็นอำนาจของการให้ คนที่ไม่อาจให้อะไรต่อใครได้ เพราะเขาคือผู้ที่ขาดแคลน ก็จะกลายเป็นคนที่ไม่มีความดีอยู่เป็นสมบัติของตนเองเช่นกัน

สิ่ง ที่ยังต้องเติมเข้าไปในภาพอุปมาอุปมัยดังกล่าว ก็คือ อำนาจที่มีเหนือกันเป็นขั้นๆ พ่อถือครองอำนาจสูงสุด ลูกจะต้องเคารพบูชาเชื่อฟังพ่อ ในฐานะพันธะของความกตัญญู พ่อกำหนดว่าอะไรคือสิ่งที่ดีที่ลูกจะต้องทำตาม ไม่มีสิทธิโต้เถียงตั้งคำถาม และพี่ก็มีอำนาจเดียวกันเช่นนั้นเหนือน้อง ลูกที่ดื้อดึงเกเรไม่เชื่อฟังหรือบังอาจตั้งคำถามโต้เถียง ก็ย่อมถูกลงโทษ และประณามว่าอกตัญญู เมื่อการถืออำนาจเหนือลูกเข้ามาเป็นเงื่อนไขประกอบของการให้ ความรักของ พ่อก็ย่อมไม่บริสุทธิ์จริง พ่อที่รักลูกอย่างบริสุทธิ์ย่อมไม่สร้างความแตกต่างในอำนาจอย่างเบ็ดเสร็จ เด็ดขาด ไม่สร้างความแตกต่างแบบฟ้ากับดิน แต่ย่อมปรารถนาที่จะก้าวลงมาสู่ความสัมพันธ์ที่เสมอกันฉันท์เพื่อนกับลูก ยอมรับได้ว่าบางครั้งพ่อก็ผิด และขอโทษลูกได้ ยอมรับได้ว่า สิ่งที่พ่อกล่าวว่าดีสำหรับลูก ลูกอาจเห็นว่าไม่ใช่สิ่งที่ดีจริงสำหรับตน ซึ่งหมายความว่า ในความรักที่บริสุทธิ์ของพ่อแม่ ลูกจะต้องไม่สูญเสียตัวตน วาทกรรมของศีลธรรมแบบพ่อ ที่เรียกร้องความกตัญญูจนลูกสูญเสียตนเอง จึงไม่ใช่ศีลธรรมที่บริสุทธิ์จริง ดังนั้นความสัมพันธ์ทางศีลธรรมในระบบอุปถัมภ์จึงเป็นศีลธรรมที่จอมปลอม

ภาพยนตร์เพลงของวอลท์ดิสนีย์เรื่อง Mary Poppins แสดง การเปลี่ยนของสังคมตะวันตก จากสังคมพ่อเป็นใหญ่ หรือ ครอบครัวแบบพ่อใช้อำนาจต่อลูก มาสู่สังคมที่เสมอภาค หรือครอบครัวที่พ่อเสมอกับลูกๆ ได้อย่างน่ารักสนุกสนาน พ่อทำงานธนาคาร แม่เป็นแม่บ้าน พ่อกำหนดทุกอย่างในบ้าน แม่ไม่เคยเถียงพ่อตรงๆ แต่แม่ก็ออกจากบ้าน ไปร่วมขบวนการเรียกร้องความเสมอภาคในสิทธิทางการเมืองของสตรี พ่ออยากสอนลูกให้เห็นค่าของเงิน และการทำธุรกิจ จึงให้เงินลูกเพื่อนำไปฝากธนาคารที่ตนทำงาน แต่ลูกต้องการเอาเงินไปให้ขอทาน พ่อบังคับให้ลูกทำตามสิ่งที่ตนเห็นว่าดี แต่ในที่สุดลูกก็ดื้อทำตามใจตนเองแบบเด็กๆ ไปตะโกนขอถอนเงินจากธนาคาร เกิดความโกลาหล ลูกค้าคนอื่นเกิดความตระหนก ว่าธนาคารจะไม่ยอมคืนเงินฝาก แห่กันถอนเงินตาม ธนาคารจึงล่มในวันนั้นเอง พ่อถูกไล่ออกจากงาน จึงสำนึกในความโง่ ในการใช้อำนาจบังคับให้ลูกยอมรับความคิดและค่านิยมของตน ทั้งๆ ที่ลูกมีคุณค่าอื่นอยู่ในใจเป็นของตนเอง เมื่อสำนึกแล้วจึงลงมาชวนลูกไปเล่นว่าว ซึ่งลูกรอคอยมานาน เป็นสัญลักษณ์ของความสัมพันธ์ฉันท์เพื่อน และความรักที่บริสุทธิ์ของพ่อ

ในการเรียนรู้ทางศีลธรรมของเด็ก ครอบ ครัวและการให้ของพ่อแม่คือต้นแบบของศีลธรรมจริงๆ ไม่ใช่แค่ในเชิงของอุปมาอุปมัยเพื่ออธิบายศีลธรรมในสังคม แต่การให้ของพ่อแม่ต้องบริสุทธิ์ อยู่เหนือความปรารถนาที่จะมีอำนาจเหนือลูก เพราะเมื่อนั้นศีลธรรมที่ลูกมีต่อผู้อื่นก็จะเป็นการให้ที่บริสุทธิ์เช่นกัน มิใช่เพราะต้องการความเหนือกว่าในอำนาจ หรือในเกียรติและศักดิ์ศรีเป็นการตอบแทน แต่ในศีลธรรมของระบบอุปถัมภ์นิยม การที่ผู้ให้การอุปถัมภ์เรียกร้องเอาอำนาจเหนือผู้รับการอุปถัมภ์ ถือตนว่ามีเกียรติมีศักดิ์ศรีเหนือกว่า คือตัวธรรมชาติธาตุแท้ของระบบดังกล่าว ระบบอุปถัมภ์คือระบบชนชั้น ระบบชนชั้นคือการมีอำนาจและเกียรติยศศักดิ์ศรีที่ไม่เท่าเทียมกัน ตัวอย่างที่เห็นชัดๆ ก็คือ การมีสถาบันชั้นสูงที่เป็นผู้อุปถัมภ์ชนชั้นล่าง แต่อยู่เหนืออำนาจการวิพากษ์วิจารณ์ของชนชั้นล่าง พ่อแม่ที่กำหนดวิถีชีวิตของลูก ครูบาอาจารย์ที่ไม่อนุญาตให้ศิษย์โต้เถียงแสดงความคิดเห็นของตนเอง ซึ่งบังคับเอาจากพันธะทางศีลธรรมของความกตัญญู การที่ผู้สมัครเลือกตั้งใช้อำนาจเงินซื้อเสียงได้เสมอ ก็เพราะอาศัยพันธะของความกตัญญู ภายใต้วาทกรรมของศีลธรรมแบบพ่อนี้เอง เราจะเห็นการให้ที่ผู้ให้บังคับเอาอำนาจเหนือผู้รับ อยู่ในทุกกรณีของความสัมพันธ์ทางสังคมแบบอุปถัมภ์นิยม

แต่ การเปิดเผยให้เห็นถึงความไม่เท่าเทียมกันในอำนาจ และความไม่บริสุทธิ์ของการให้ ก็ยังไม่เพียงพอสำหรับการเอาชนะระบบศีลธรรมแบบชนชั้น ตราบใดที่เรายังไม่อาจเอาชนะความคิดว่า ความดีงามทางศีลธรรมเกิดจากอำนาจของการให้ในสิ่งที่มีค่าน่าปรารถนาต่อผู้ ที่ขาดแคลน ตราบนั้นเกียรติยศ คุณค่า และศักดิ์ศรีของผู้คนในสังคมย่อมไม่มีวันเสมอภาคเท่าเทียมกัน บทเรียนจากวิชาจริยศาสตร์จึงเป็นสิ่งสำคัญ

ขอให้เรามาพิจารณากันอย่างละเอียดที่สุด ถึงผลตามนัยของความคิดว่าค่าทางศีลธรรมของบุคคลอยู่ที่อำนาจของการให้ ความ คิดเช่นนี้มีอยู่จริงในสังคม และแสดงออกผ่านคำพูดว่า “ค่าของคนอยู่ที่ผลของงาน” ซึ่งหมายความว่าใครสร้างผลงานเป็นความดีในสังคมได้มากเท่าไร คน ๆ นั้นก็ย่อมมีค่ามากขึ้นเท่านั้น คำพูดนี้ฟังดูธรรมดา แต่เราก็จะรู้สึกถึงความจอมปลอมของมัน ทันทีที่เรานำความคิดนี้มาใช้ เพราะตามความคิดนี้ หมอมีค่ามากกว่าพยาบาล เพราะหมอมีอำนาจในการรักษาความป่วยไข้ได้มากว่าพยาบาล อาจารย์มหาวิทยาลัยย่อม มีค่ากว่าอาจารย์โรงเรียนมัธยม ประถม อนุบาล ไปตามลำดับ และอาจารย์ย่อมมีค่ามากกว่าภารโรง อย่างเทียบกันไม่ได้ เราสามารถจัดลำดับความสำคัญของอาชีพต่างๆ ต่อสังคมได้ไม่ยาก และคนก็มีค่าลดหลั่นกันไป ตามความรู้ความชำนาญ สถานะและบทบาทในสังคม ด้วยศีลธรรมอันบิดเบี้ยวเท่านั้น ที่จะทำให้เราเห็นจริงเห็นจังไปกับความคิดเช่นนี้ได้

แต่ อย่าคิดว่าความคิดเช่นนี้ห่างไกลจากตัวเรา ซึ่งเป็นนักศึกษาในมหาวิทยาลัย มองดูความหยิ่งทะนงและภาคภูมิใจในตัวเองของคุณ คุณทะนงว่าคุณเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัย ที่ย่อมเหนือกว่านักเรียนพาณิชย์หรือนักเรียนอาชีวะ เพียงเพราะคุณชนะเรียนเก่งกว่า หรือเพราะคุณคิดว่าในอนาคตต่อไป คุณจะเป็นคนที่มีอำนาจ ที่จะทำในสิ่งที่มีคุณค่าต่อสังคมมากกว่าพวกเขา และนักเรียนแพทย์ก็คงหยิ่งทะนง ว่าเขาเหนือพวกคุณ ความรู้สึกทะนงตนและมีอำนาจอาจมีเรื่องเงินทองมาประกอบ แต่ ครู หมอ พยาบาล สามารถทะนงตนกว่าพ่อค้านักธุรกิจที่ร่ำรวย แต่เราก็รู้สึกไม่ใช่หรือว่า ความทะนงตนว่าเราเหนือต่อกันในด้านทั้งปวง ล้วนคือความหลงตัวเองอันจอมปลอม ค่าของความเป็นมนุษย์ ของนายกรัฐมนตรีและคนกวาดถนน หรือขอทาน ต่างกันตรงไหน? ในศีลธรรมที่ออกมาจากหัวใจลึกๆ เราอยากยืนยันว่ามนุษย์ทุกคนมีค่า มีเกียรติและศักดิ์ศรีที่เท่าเทียมกัน

ขอให้ดูนัยทางศีลธรรม ที่บิดเบี้ยวที่สุดของคำพูดว่า “ค่าของคนอยู่ที่ผลของงาน” ตาม ความคิดนี้ คนที่ไม่สามารถให้อะไรกับใครได้เลย เป็นได้แต่เพียงผู้รับ และเป็นได้แต่เพียงภาระของสังคม ย่อมไม่มีค่าในตนเองเลย ไม่ว่าจะเป็นคนไร้ความรู้ ไร้ทรัพยากร ขอทาน คนพิการ คนปัญญาอ่อน เด็กๆ ทั้งหลาย ซึ่งนี่คือสถานการณ์ของน้องคนสุดท้องในครอบครัวในระบบศีลธรรมแบบพ่อ แล้วยิ่งคนที่เป็นปัญหาต่อสังคมอีกละ อาชญากรนอกจากไม่มีค่าต่อสังคม แล้วยังมีค่าทางลบอีกด้วย ถ้าอย่างนั้นเราจะไม่ยอมรับเลยหรือว่า แม้ว่าเขาจะเป็นผู้ที่กระทำผิดต่อผู้อื่นก็ตาม เขาก็ยังมีค่าของความเป็นมนุษย์อยู่ในตัว เห็นได้ชัดว่า เราต้องเอาชนะความคิดที่ว่า ความดีตัดสินกันที่อำนาจของการให้ ให้จงได้ แต่จะด้วยวิธีอะไร?

นัก จริยศาสตร์จะบอกเราว่า ถ้าเราคิดว่าความดีเกิดขึ้นจากอำนาจของการให้ เรากำลังคิดผิดด้วยการมองความดีว่าเป็นคุณสมบัติของการกระทำ แต่การกระทำที่ดีต้องออกมาจากจิตใจที่ดีไม่ใช่หรือ? ค้านท์ยืนยันว่าถ้ามีเจตนาที่ดี แต่ไม่มีอำนาจในการกระทำตามเจตนานั้น เพราะถูกขัดขวางไว้ด้วยอุปสรรคทั้งปวงที่เหนืออำนาจที่เขาจะเอาชนะ ไม่ว่าจะเพราะด้วยความพิการ หรือความขาดไร้ทรัพยากร ฯลฯ ความดีงามทางศีลธรรมก็เกิดขึ้นแล้วอย่างสมบูรณ์ ขอเพียงแค่มี “เจตนาที่ดี” อยากที่จะกระทำก็พอ ตัวการกระทำและผลสำเร็จของการกระทำ ไม่ได้ช่วยเพิ่มอะไรให้กับคุณค่าและความดีงามที่เกิดขึ้นแล้วเลย คนที่เป็นกษัตริย์กับคนที่เป็นขอทาน อาจมีจิตใจที่ปรารถนาดีต่อผู้อื่นเท่าๆ กัน และคนทั้งสองย่อมมีคุณค่า และความดีงามทางศีลธรรมที่เท่าเทียมกันทุกประการตามการอธิบายนี้ แม้คนหนึ่งจะมีอำนาจทุกประการที่จะบันดาลในสิ่งที่ตนเจตนาให้เป็นจริง แต่อีกคนหนึ่งไม่อาจแม้แต่จะช่วยตนเองเสียก่อน ทั้งสองคนก็มีความดีเท่ากัน

ดัง นั้นการเอาชนะระบบศีลธรรมแบบที่ความดีตัดสินกันด้วยอำนาจของการให้ ทำได้ด้วยการตระหนักว่า เราไม่อาจมองความดีที่ภายนอก แต่ต้องมองกลับไปให้ถึงจุดกำเนิดของมัน เราต้องมองความดีไม่ใช่ที่เปลือก แต่ที่แก่นแท้ของมัน และนี่คือความผิดพลาดโง่เขลาของระบบศีลธรรมแบบชนชั้น แต่นี่อาจเป็นผลของเจตนาที่จะปิดกั้นสายตาของตนเองจากความเป็นจริง และการมีมโนสำนึกที่บิดเบือนไปเพราะผลทางจิตวิทยาของความต้องการอำนาจ เพื่อมาชดเชยชีวิตที่ต้องอยู่ใต้อำนาจกันเป็นชั้นๆ และนี่ให้คำอธิบายต่อข้อเท็จจริงที่ว่า ในระบบอุปถัมภ์ คน สามารถลดตนเองลงเป็นธุลีดิน เรียกตนเองเป็นฝุ่นผงธุลีดินราวกับคนในวรรณะจัณฑาลของฮินดู ต่อหน้าผู้ที่ตนเองรู้สึกกตัญญูว่าเป็นผู้ที่เมตตา ให้ทุกสิ่งทุกอย่างต่อตน และตนบูชาให้เป็นเทพเจ้า แต่คนเช่นนี้ก็จะต้องการความกตัญญู และเรียกร้องการยอมลดตัวเองลงต่ำของผู้ที่รับการอุปถัมภ์จาก ตนเช่นกัน นั้นก็คือ เขาย่อมต้องการคำเรียกว่า “ท่าน” “พณฯท่าน” และรูปแบบการปฏิบัติต่อเขาที่เหมาะสมตามคำเรียกนั้น จากสามัญชนผู้เป็น “นายนั่น” “นางนี่” ทั้งหลาย

กลับมาสู่บทเรียนของวิชาจริยศาสตร์ อะไรคือต้นกำเนิดของความดีที่อยู่ภายในจิตใจมนุษย์ ค้านท์ใช้ คำว่า “เจตนาที่ดี” อย่างที่เขาจะอธิบายเชื่อมโยงศีลธรรม เข้ากับการ “เคารพ” ต่อเหตุผล ซึ่งได้มาจากอำนาจทางปัญญาของมนุษย์ เพราะเขาเป็นนักปรัชญาแนวเหตุผลนิยม เรา จะไม่ขยายความทฤษฎีของเขาอีกครั้งในที่นี้ แต่จะเสนอคำอธิบายในทิศทางตรงกันข้าม คือมุ่งไปสู่ความรู้สึกทางอารมณ์ของมนุษย์ โดยจะอธิบายว่า ความรู้สึกทางจิตใจหรือความรู้สึกทางอารมณ์ คือแก่นแท้ของความรู้สึกถึงคุณค่าทางศีลธรรม ที่มีอยู่ในตัวเองของเราและของมนุษย์ผู้อื่นทุกคน ผู้เขียนเลือกทางนี้เพราะเห็นว่า เมื่อเราถามหาเหตุผลว่า ทำไม มันจะต้องจบลงที่จุดๆ หนึ่ง ซึ่งเราไม่สามารถหาเหตุผลอื่นมาตอบต่อไปได้อีกแล้ว ที่นั่นคือที่ที่เราจะตอบได้แต่เพียงว่า เพราะมันเป็นเช่นนั้น หรือ เพราะฉันรู้สึกเช่นนั้น “ทำไมฉันจึงควรเคารพต่ออำนาจในการใช้เหตุผลของฉัน ก็เพราะฉันรู้สึกเช่นนั้น” ดังนั้น ลึกลงไปจากเหตุผล ก็คือความรู้สึกทางอารมณ์ ได้แก่สิ่งที่เป็นความจริงแบบอัตวิสัยของคนแต่ละคน หมายความว่า วิภาษวิธีต้องจบลงที่ใดที่หนึ่ง และที่นั่นเราต้องถามต่อหัวใจ

ถ้าเราถูกถามว่า อะไรคือสิ่งที่เรารู้สึกว่าสูงค่าที่สุดในตัวเรา อะไรคือสิ่งที่ทำให้เรารับรู้ตนเองว่าเป็นมนุษย์ ซึ่งหมายถึงสิ่งที่มีคุณค่าทางศีลธรรมอยู่ในตนเอง และเป็นค่าที่เรารู้ด้วยความรู้สึกไม่ใช่ด้วยความคิด คำตอบที่ผู้เขียนจะให้ก็คือ การมีหัวใจที่จะรับรู้ถึงความรู้สึกของชีวิตอื่น ลองมาดูสิว่า ถ้าเป็นคุณ คุณจะตอบแบบเดียวกันนี้หรือไม่

การ มีหัวใจก็คือการมีความรู้สึกสุขและทุกข์ และหัวใจของมนุษย์ก็เป็นสิ่งน่ามหัศจรรย์ คุณเคยหรือไม่ที่รู้สึกมีความสุขในการรู้สึกถึงความทุกข์ คุณเคยยิ้มด้วย ความดีใจเมื่อรับรู้ว่าน้ำตาของคุณกำลังรินไหลด้วยความทุกข์หรือไม่ นี่ฟังดูแปลกประหลาด แต่นี่แหละคือความมหัศจรรย์ของหัวใจ แต่ดูเหมือนว่าในแต่ละวันเราจะมีหัวใจน้อยกว่ามีหัวคิด ลองคิดถึงชีวิตของคุณแต่ละวัน มันดำเนินไปตามแบบแผนที่คุณวางไว้ เพื่อพาไปสู่สิ่งที่คุณมุ่งหวังปรารถนาในอนาคต ตื่นมาก็อาบน้ำ แต่งตัว กินอาหาร คุยเล่นหัวกับเพื่อน เข้าเรียน พยายามทำความเข้าใจและจดจำบทเรียน กลับที่พัก ออกมาเล่นกีฬาเพื่อสุขภาพและความสนุกสนาน หรือมีกิจกรรมนันทนาการอื่น แล้วก็กลับที่พัก เข้านอนผักผ่อน เพื่อที่จะตื่นมาทำในสิ่งเดิมๆ ในวันต่อไป อาจมีความสุขในเชิงของความสนุกสนาน และความทุกข์ในเชิงของความเหนื่อยยากอยูนิดๆ หน่อยๆ คนส่วนใหญ่ในสังคมก็คงมีชีวิตเป็นรูปแบบที่ซ้ำซากเช่นนี้ไม่ต่างไปนัก นั่นก็คือเรามีชีวิตเหมือนหุ่นยนต์ที่ถูกตั้งโปรแกรมไว้ เรารู้สึกถึงความเป็นมนุษย์ของเราเท่าไรกันเชียวในแต่ละวัน แทบจะไม่เลย เรามีชีวิตอยู่กับหัวคิด และแผนงาน มากกว่ากับหัวใจ

เรา อาจจะลืมๆ ไปด้วยซ้ำว่าเรามีหัวใจ จนวันหนึ่ง อะไรบางอย่างทำให้คุณร้องไห้ด้วยความรู้สึกเจ็บปวด แต่คุณไม่ได้ร้องไห้ให้ตัวคุณเอง หรือให้คนที่คุณรักและผูกพันด้วย แต่ร้องไห้ให้กับคนที่คุณไม่เคยรู้จักเลยแม้แต่น้อย อาจเพราะเคราะห์กรรมของเขา ถูกนำมาเสนอเป็นข่าวในโทรทัศน์หรือในหนังสือพิมพ์ หรือด้วยความบังเอิญอะไรก็แล้วแต่ คุณรับรู้ถึงความเจ็บปวดสูญเสียอันลึกซึ้งของเขา แล้วคุณก็หลั่งน้ำตา และถ้าในวันนั้น คุณจำไม่ได้ว่าเมื่อไรคือครั้งสุดท้ายที่คุณเคยร้องไห้ให้กับคนที่คุณไม่เคย รู้จักมาก่อน คุณอาจยิ้มออกมาทั้งน้ำตา และพูดกับตัวเองว่า นี่ฉันยังมีหัวใจอยู่ ฉันยังมีความเป็นมนุษย์อยู่ แม้เวลาจะผ่านไปนานจนจำไม่ได้ แต่สิ่งที่มีค่าที่สุดในตัวฉัน ก็ยังอยู่เป็นตัวของฉัน คุณดีใจว่าวันเวลาที่คุณหมดไปกับการหมกมุ่นอยู่กับชีวิต ความสุข ความปรารถนาของตัวเอง มันไม่ได้กัดกล่อนจิตวิญญาณความเป็นมนุษย์ของคุณให้หมดสิ้นไป นี่คือขณะที่คุณจะยิ้มให้กับน้ำตาของคุณ

ความเป็นมนุษย์ในความหมายทางศีลธรรม คือความสามารถที่จะรู้สึกถึงความรู้สึกของชีวิตอื่น เสมือนเป็นความรู้สึกของตนเอง นี่คือการข้ามพ้นตนเอง การ สลายไปของขอบเขตของตัวตน คือการเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับชีวิตอื่นอย่างเป็นสากล ไม่ใช่การเป็นอันหนึ่งอันเดียวแบบการขยายออกของตัวตนที่สร้างการแบ่งแยกและความเป็นพวกเขาพวกเรา ในความหมายเช่นนี้ กวี คือผู้ที่มีความเป็นมนุษย์สูงสุด และเป็นต้นแบบของศีลธรรม และนี่คือศีลธรรมแห่งความเป็นมนุษย์ของเรา

กวีเป็น ผู้ที่มีความสุขในความทุกข์ของตนเอง เป็นผู้ที่ยิ้มให้กับน้ำตาของตน เพราะเขาเห็นคุณค่าและความหมาย ของความสุขและทุกข์ในชีวิตของเขา เขารับรู้ว่าความสุขทุกข์ของเขา เป็นชะตากรรมที่อาจเกิดขึ้นกับใครก็ได้ ดังนั้นมันจึงเป็นความสุขความทุกข์ของทุกคน และความสุขความทุกข์ของทุกคน ก็เป็นความสุขความทุกข์ของเขา เขาแสวงหาหนทาง ที่จะรับรู้ความสุขความทุกข์ของผู้อื่น เพื่อที่จะถ่ายทอดมันออกมา ให้มนุษย์ทั้งมวลได้รับรู้ และได้ร่วมรู้สึกอย่างเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพื่อให้

มนุษยธรรม เกิดขึ้นบนโลก เมื่อมนุษย์รับรู้ความทุกข์ของผู้อื่นอย่างไม่แบ่งแยก และทำทุกอย่างที่อยู่ในอำนาจของตน เพื่อบรรเทามัน ใน มนุษยธรรม ความสุขความทุกข์ของมนุษย์ หรือของชีวิตทั้งมวล มีค่าเท่าเทียมกัน ด้วย มนุษยธรรม เราให้ เพื่อให้ผู้เป็นทุกข์พ้นทุกข์ และกลับมามีความสุข เท่าที่เรามี เราให้อย่างที่ปรารถนาให้ผู้ที่ตกอยู่ในสถานะที่ต่ำต้อย ขึ้นมามีคุณค่าเสมอกับเรา

ความเป็นมนุษย์ใน ฐานะสิ่งที่มีค่าทางศีลธรรม เป็นสิ่งที่เรามีอย่างเท่าเทียมกัน เพราะมันเกิดอยู่ในหัวใจของการสามารถที่จะรู้สึกถึงความรู้สึกของผู้อื่น เสมือนกับเป็นความรู้สึกของเราเอง นี่คือสิ่งที่เราเรียกว่า ความสงสารแต่ทว่า แม้แต่เราเองก็ไม่ได้มี ความเป็นมนุษย์อยู่ ตลอดเวลา เฉพาะขณะที่เรารู้สึกด้วยหัวใจเท่านั้น และในชีวิตประจำวัน บางทีเราก็ไม่รู้ว่าหัวใจของเราไปซ่อนเร้นอยู่ที่ไหน ดังนั้น อาชญากร ผู้ที่กระทำผิดต่อผู้อื่น ก็มีความเป็นมนุษย์เท่าๆ กับเรา และเราต้องมีความหวังต่อเขาเสมอว่า แม้ว่าหัวใจของเขาจะหลับใหลไป ก็อาจตื่นขึ้นมาอีกครั้งได้เช่นเดียวกับหัวใจของเรา

และ ณ บัดนี้เราได้ข้ามพ้นศีลธรรมแบบพ่อมาสู่ศีลธรรมแห่งมนุษยธรรมแล้ว


ที่มา: ประชาไท

อานนท์ นำภา "บทกวีถึงนักสิทธิ์...???"

เมื่อนักสิทธิมนุษยชนหล่นหาย
ล้วนออกลาย ร่ายมนต์ คนต่ำ-สูง
โง่-จน-เจ็บ สงสารนัก ถูกชักจูง
ตายเป็นฝูง ก็สมควร เพื่อส่วนรวม

สังคมพึง ฟูมฟัก ด้วยนักปราชญ์
"คนดี"จึง ผูกขาด แต่ส่วนร่วม
นิติรัฐ นิติธรรม ต้องกำกวม
ใครเสือกสวม เสื้อแดง แม่งต้องตาย!

ความยุติธรรม จึงอำมหิต
บ้างยัดติด ตาราง บ้างอุ้มหาย
เสรีสิทธิ เบ็ดเสร็จ ดังเม็ดทราย
ให้เจ้านาย ปูพรม ขย่มเดิน @๑๐---------

(๒๐.๓๐ น. ณ ร้านสลิ่มสีแดง เชียงใหม่)


ที่มา: ประชาไท

ใบตองแห้ง...ออนไลน์: ปรองดองทางยุทธวิธี

พรรคเพื่อไทยออกมาแถลงพร้อมปรองดอง ข่าวบางกระแสว่ามาจากการประสานงานของนักวิชาการ UN ข่าวบางกระแสว่าถูกบีบ

ข่าวที่ผมได้ฟังก็เหมือนไทยรัฐหน้า 3 วันอังคาร คือถูกบีบ แถมมีคำขู่ว่าถ้าไม่ยอมปรองดองจะล้มกระดาน ปฏิวัติ ปิดประเทศ กวาดล้างปราบปรามขนานใหญ่

ผมฟังแล้วหัวร่อก๊าก ย้อนถามว่าอ้าว ตอนนั้นเสื้อแดงก็เคยคิดว่าให้ทหารปฏิวัติไปซะเลย จะได้พังเร็วขึ้น อย่างนั้นไม่ใช่หรือ ปฏิวัติตอนที่หุ้นจ่อพันจุดเนี่ยนะ มีแต่พังกับพัง มันจะเป็นไปได้ไง

ที่แน่ๆ ก็คือมีการเจรจาจากหลายฝ่าย ทั้งฝ่ายกลาโหม ฝ่าย ปชป.และฝ่ายไหนอีกมั่ง ก็ให้ดูว่าทำไมคนเจรจาจึงเป็นปลอดประสพ สุรัสวดี สืบสาวเครือญาติปลอดประสพดูสิ ว่าสาวถึงใครมั่ง (ซูโม่ตู้-ฮา)

เพราะเตรียมการมาก่อนหน้าแล้ว พอปลอดประสพเสนอ วันรุ่งขึ้นอภิสิทธิ์ก็สนองทันที ถ้าไม่เตรียมมาก่อน จะพี่ร้องน้องรำสอดรับกันได้อย่างนี้รึ

รวมทั้งมีการเจรจาสายตรงถึงทักษิณด้วย ทักษิณจึงออกมาทวิต สนับสนุนให้ปรองดอง แต่เขายื่นเงื่อนไขต่อรองแลกเปลี่ยนกันอย่างไร สุดที่เราจะทราบ

เท่าที่ทราบระแคะระคายก็คือการเจรจาในประเทศ ซึ่งไม่ได้ยื่นเงื่อนไขเลยสักนิดว่า จะประนีประนอมยอมอ่อนข้ออะไรบ้าง เป็นเหมือนบีบให้ยอมจำนนเสียมากกว่า

ส่วนในวงกว้าง ปชป.ก็ยังสำแดงสันดานเอาเปรียบทุกเม็ด ช่วงชิงให้ร้ายทางการเมือง เช่นบอกให้เลิกจาบจ้วงสถาบัน พูดแบบนี้ใครไปเจรจาด้วย บอกยอมเลิก ก็เท่ากับยอมรับว่าจาบจ้วงสถาบันนะสิ

ปรองดองแบบนี้ก็ไม่ต่างอะไรกับที่นายทหารคุยว่าไปเอาเสื้อเหลืองเสื้อแดง มาร้องเพลงชาติกับเพลงสรรเสริญพระบารมีแล้วยุติความขัดแย้ง โห อะไรมันจะง่ายปานเล่นปาหี่ ฟังแล้วขำกลิ้ง ถ้าง่ายปานนั้นก็ลงไปปรองดองกับ “โจรใต้” ให้ดูหน่อยสิ

ถ้าจะเอาง่ายๆ แค่ถ่ายภาพออกสื่อมันก็ง่าย สมมติผมนอนอยู่บ้านแล้วมีรถจี๊ปมาจอดหน้าบ้าน ใบตองแห้ง ไปลงชื่อปรองดองหน่อย! มีรึ ผมจะกล้าไม่ไป ต้องรู้ซะมั่งว่าประเทศนี้ใครใหญ่ อยู่ดีไม่ว่าดี ไปเที่ยวกล่าวหาว่าคนมีสีไล่ล่าเสื้อแดง ต้องมีความผิดตามประมวลกฎหมายไก่อู ที่สาวๆ เมืองกรุงชูจั๊กกะแร้โหวตท่วมท้น

ฉะนั้นผมก็ต้องไปลงชื่อปรองดอง แต่ใจผมปรองดองหรือเปล่า คุณก็รู้ เพราะปรองดองไม่ได้แปลว่าให้สยบยอมตามผู้มีอำนาจ การปรองดองไม่มีทางเกิดขึ้นได้ ตราบใดที่ไม่คืนความยุติธรรม และคืนประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์

อย่างไรก็ดี การ “ปรองดองทางยุทธวิธี” ก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้และยอมรับได้ ในสถานการณ์ที่แน่นอนหนึ่งๆ

ถ้าเรามองมุมกลับ การที่ระบอบอภิสิทธิ์ชน-จะขู่จะบีบหรือถูกหว่านล้อมด้วย UN ก็แล้วแต่ พยายามเรียกหาความปรองดอง ก็แสดงให้เห็นว่าพวกเขากลัวพลังประชาชน กลัวการลุกฮือของมวลชนเสื้อแดง ที่แม้จะโค่นล้มพวกเขาไม่ได้แต่ก็อยู่ในสภาพที่ปกครองไม่ได้ และพวกเขากลัวว่ายิ่งนานวันไป พลังอำนาจที่มีอยู่สูงสุดในวันนี้จะค่อยๆ เสื่อมลง ด้วยเงื่อนไขหลายอย่างที่เป็นชนวนระเบิดเวลา มันอาจจะถึงจุดหนึ่งที่เกิดกลียุคของแท้

ฉะนั้น ฝ่ายประชาธิปไตยจะต้องตั้งข้อเรียกร้องกลับว่า การปรองดองที่แท้จริงไม่มีวันเกิดขึ้นได้ ถ้าไม่คืนความยุติธรรมและความเป็นเสรีประชาธิปไตย และที่สำคัญ การปรองดองไม่ได้หมายความว่าจะต้องยุติความขัดแย้ง สยบยอมตามระบอบอภิสิทธิ์ชนโดยไม่สามารถมีปากเสียง แต่หมายความว่าจะต้องขัดแย้งกันต่อไปอย่างสันติหรือรุนแรงน้อยที่สุด ต่อสู้ทางความคิดกันอย่าง “แข่งขันเสรี”

ซึ่งถ้าจะปรองดองจริง ผู้มีอำนาจต้องเป็นฝ่ายริเริ่ม เหมือนที่ใครบางคนยกตัวอย่างแอฟริกาใต้ว่าแมนเดลาเป็นผู้ริเริ่มก่อน หลังได้ชัยชนะ (ถึงแม้จะเอามาเปรียบกันไม่ได้เพราะอภิสิทธิ์และอำมาตย์ปล้นอำนาจมา ไม่ได้ชัยชนะมาอย่างชอบธรรมเหมือนแมนเดลา)

และถ้าอยากปรองดองจริง ก็ไม่ใช่เจรจาแต่กับทักษิณหรือพรรคเพื่อไทย แต่จะต้องทำอะไรบางอย่างที่ส่งสัญญาณถึงประชาชนผู้รักประชาธิปไตย โดยเฉพาะคนเสื้อแดงที่เจ็บแค้นจากการถูกปราบปรามเข่นฆ่า

ซึ่งถึงวันนี้ต่อให้คุณเจรจาคืนเงิน 4 หมื่นล้านให้ทักษิณ นิรโทษกรรมทักษิณ มันก็ไม่ได้ลบความเจ็บแค้นของเสื้อแดงหรอก

ถ้าเข้าใจความเป็นจริง ผู้มีอำนาจจะต้องเข้าใจว่า ฝ่ายประชาธิปไตยไม่มีทางสยบยอมพวกคุณได้ ต้องต่อสู้กันต่อไปให้เห็นดำเห็นแดง แต่เรากับพวกคุณ “ปรองดองทางยุทธวิธี” ได้ นั่นคือทำให้มันเป็นการต่อสู้ขัดแย้งโดยสันติ หรือรุนแรงน้อยที่สุด

ฉะนั้นถ้าคุณอยากเจรจากับทักษิณ แลกเปลี่ยนเงื่อนไขผลประโยชน์อะไร ก็ว่ากันไป ที่จะให้ทักษิณยุติการเคลื่อนไหว ทำธุรกิจอยู่นอกประเทศ โดยรัฐบาลปลดล็อกบางอย่างให้ เพื่อไม่ให้เกิดการก่อวินาศกรรมหรือลอบสังหารหรือความรุนแรงใดๆ ที่ฝ่ายรัฐเชื่อว่ามาจากทักษิณ เชิญว่ากันไปตามสบายครับ ผมชอบอยู่แล้ว ที่จะให้ทักษิณถอยไป ฝ่ายประชาธิปไตยไม่ต้องการให้ใครมาบึ้มๆ อยู่ข้างๆ

ถ้าคุณอยากเจรจากับพรรคเพื่อไทย ไม่ให้สนับสนุนการใช้ความรุนแรง ก็ว่ากันไป ไม่ให้จตุพรโดดมานำม็อบ ยิ่งดีเข้าไปใหญ่ แต่คุณจะบอกให้พรรคเพื่อไทยเลิกสนับสนุนการเคลื่อนไหวของมวลชนเสื้อแดงไม่ ได้ เพราะการปรองดองที่แท้จริง คือคุณต้องสนับสนุนให้มวลชนเสื้อแดงเข้าสู่กระบวนการประชาธิปไตยปกติ เข้ามาเป็นมวลชนของพรรคการเมือง แล้วต่อสู้กันในระบบ

และถ้าคุณอยากจะปรองดองกับมวลชนเสื้อแดง ซึ่งความจริงเป็นไปไม่ได้ เพราะปราบเขาไปแล้ว มีคนตาย 91 ศพ คุณไม่มีวันทำให้เขาลืมหรือสยบยอมได้ แต่คุณลดความโกรธแค้นได้ นั่นคือให้ความยุติธรรมกับมวลชนที่ถูกจับกุมดำเนินคดี จะนิรโทษกรรมหรือไม่ผมไม่เรียกร้อง แต่ต้องแยกแยะปล่อยตัวคนที่แค่มาร่วมชุมนุมโดยไม่มีพยานหลักฐานว่าทำความผิด คนที่ถูกจับแบบเหวี่ยงแห ส่วนที่เหลือก็ให้ประกันรวมทั้งแกนนำ ซึ่งไม่มีปัญหานี่ครับ สามารถให้ประกันโดยกำหนดเงื่อนไขว่าระหว่างสู้คดีต้องไม่ไปนำการชุมนุมอีก

หรือถ้าคุณอยากจะลดแรงกดดันจากนักการเมือง คุณก็ต้องปลดล็อกยกเลิกการตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรคที่ถูกยุบ ซึ่งอันที่จริงโดยตัวบุคคล ปัจจุบันไปอยู่ในพรรคร่วมรัฐบาลเสียมากกว่า แต่นัยทางนิติรัฐ อย่างน้อยมันก็เป็นการ “คืนความยุติธรรม”

ข้อสำคัญที่สุดที่ผู้มีอำนาจหวาดหวั่นคือ กลัวว่าจะไปสู่ “ขบวนการล้มเจ้า” ทั้งที่ความจริงแล้วมันจะไม่เกิดขึ้นเลย ถ้าไม่มีการ “ปลุกผี” แอบอ้างสถาบันมาทำลายล้างกันทางการเมือง “ดึงฟ้าลงต่ำ”

ถามว่าวันนี้ยังแก้ไขได้ไหม ยังแก้ไขได้ แต่พวกคุณต้องแก้ไขเอง ผู้จงรักภักดีที่แท้จริงจะต้องวาง roadmap ในการเทิดสถาบันขึ้นไปให้พ้นจากความชุลมุนของการต่อสู้ขัดแย้งทางการเมือง การช่วงชิงอำนาจที่ใช้กองทัพและอำนาจตุลาการเป็นเครื่องมือ

ผู้จงรักภักดีที่แท้จริงควรเข้าใจว่า การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ยึดอุดมการณ์หลักคือเสรีประชาธิปไตย ไม่ใช่สังคมนิยมและไม่ใช่เผด็จการ อุดมการณ์เสรีประชาธิปไตยไม่จำเป็นต้องทำลายล้างอุดมการณ์ราชาชาตินิยม สามารถอยู่ร่วมกันได้ด้วยซ้ำ ดังที่เห็นในอังกฤษ สวีเดน ฮอลแลนด์ หรืออีกหลายๆ ประเทศ เพียงแต่ต้องไม่เอาอุดมการณ์ราชาชาตินิยมมาอยู่เหนืออุดมการณ์ประชาธิปไตย ผู้จงรักภักดีจึงต้องวาง roadmap ไปสู่การอยู่ร่วมกันในสังคมสมัยใหม่ที่เปิดกว้าง เพราะถ้าปล่อยให้อุดมการณ์ราชาชาตินิยมกับอุดมการณ์ประชาธิปไตยต่อสู้ทำลาย ล้างกัน ไม่ว่าใครชนะ ก็แลกมาด้วยความสูญเสียใหญ่หลวงยิ่งกว่าทุกครั้งที่เคยมีมารวมกัน

ยุทธศาสตร์เปลี่ยนไป

ที่พูดมาทั้งหมดอย่าว่าเพ้อฝัน เพราะผมยกตัวอย่างคร่าวๆ ว่าควรตั้งข้อเรียกร้องต่อผู้มีอำนาจอย่างไรในการ “ปรองดองทางยุทธวิธี” โดยที่ผมเองก็ไม่เชื่อว่าพวกเขาจะยอมปรองดอง เพราะพวกเขาต้องการให้ยอมจำนนมากกว่า

แต่ถ้าปรองดองทางยุทธวิธีได้ ไม่ว่าระดับใด ก็เป็นประโยชน์ต่อขบวนประชาธิปไตย ซึ่งในขั้นตอนนี้ ยังอยู่ระหว่างการตั้งขบวนใหม่ ตั้งลำใหม่ ฟื้นฟู เยียวยา และต้องอดทนรอคอยโอกาส รอความเสื่อมของ “ระบอบอภิสิทธิ์” โดยยังเป็นขั้นตอนของการต่อสู้ทางความคิด และยังเป็นขั้นตั้งรับ อย่าว่าแต่แตกหักเลย แค่รุกก็ยังไม่ใช่

ระบอบอภิสิทธิ์ยังอยู่ในจุด peak และยังจะ peak ไปจนถึงการเลือกตั้ง ผมไม่เชื่อข่าวขู่รัฐประหาร ขั้วอำนาจจารีตนิยมจะไม่ทำรัฐประหารอีก เว้นแต่เกิดเรื่องใหญ่ระดับฟ้าถล่มดินทลาย ทำไมต้องทำรัฐประหาร ในเมื่อเผด็จการมีหน้ากากหล่อๆ ไว้สวมหลอกชาวโลก

ผมมองตรงข้ามว่า ยุทธศาสตร์ของพวกเขา คือต้องการเอาชนะอย่างถล่มทลายในการเลือกตั้งที่จะถึงนี้ เพราะถ้าพรรคแมลงสาบกับพรรคภูมิใจห้อยกวาดที่นั่งไปซัก 300 กว่าที่นั่ง เพื่อไทยเหลือซัก 100 ที่นั่ง ที่เหลือเป็นพรรคเล็ก พวกเขาก็จะชิงความชอบธรรมไปได้ว่าได้อำนาจจากการเลือกตั้ง

ถามว่าทำไมจะเป็นไปไม่ได้ ในเมื่อระบอบอภิสิทธิ์ตีกินกระแส “ไทยนี้รักสงบ” ปกป้องสถาบัน ชนะเรียลลิตี้คลั่งชาติ กวาดกระแสคนกรุงคนชั้นกลางที่ยอมเป็น “คนขายเสรีภาพ” (ตามศัพท์ อ.เกษียร) เพื่อความสงบแบบซุกไว้ใต้พรม เพื่อดัชนีเศรษฐกิจที่จะนำไปสู่ความมั่งคั่ง โดยไม่สนใจหลักการประชาธิปไตยและความยุติธรรมอีกแล้ว

ถามว่าทำไมจะเป็นไปไม่ได้ ในเมื่อพรรคการเมืองใหม่ถอดใจหมดแล้ว พ่อยกแม่ยกกอดคอกันร่ำไห้ ที่เคยคิดกันว่า กมม.จะมาแย่งฐานเสียง ปชป.ในหลายพื้นที่ ตอนนี้จะเหลือส่งสมัครซักสิบเขตหรือเปล่า ก็ไม่รู้

ถามว่าทำไมจะเป็นไปไม่ได้ ก็พรรคภูมิใจห้อยดูด ส.ส.กันเห็นๆ อัดงบประมาณลงไปให้ ส.ส.เฉพาะจุด โดยไม่ต้องพูดว่าจังหวัดไหนไม่เลือกไม่ให้งบประมาณ อย่างทักษิณ (ซึ่งดีแต่พูด) นี่คือสูตร “การเมืองน้ำเน่า” ที่คนชั้นกลางเคยเกลียด แต่ตอนนี้หลับตาข้างหนึ่งลืมตาข้างหนึ่ง

ถามว่าทำไมจะเป็นไปไม่ได้ ในเมื่อแต่งตั้งโยกย้ายตำรวจ ผู้ว่าฯ วางกลไกรัฐไว้พร้อมหมดแล้ว เด็กภูมิใจห้อยใหญ่คับ นอกจากนี้ยังมีการแต่งตั้งโยกย้ายทหาร ที่ประยุทธ์ดันดาว์พงษ์เพื่อนร่วมรุ่น ผู้มีผลงานปราบม็อบเสื้อแดงเป็น เสธ.ทบ.ถามว่าเสธ.ทบ.สำคัญอย่างไร หนึ่ง การซื้ออาวุธ ต้องผ่านเสธ.ทบ. สอง ตาม พรบ.ความมั่นคงที่จัดตั้ง กอ.รมน.เป็นรัฐซ้อนรัฐ เสธ.ทบ.ก็คือแม่บ้านของรัฐทหาร

ถามว่าทำไมจะเป็นไปไม่ได้ ในเมื่อ 18 อรหันต์แก้ไขรัฐธรรมนูญชุดสมบัติ ธำรงธัญญวงศ์ โผล่มาเสนอให้เลือกตั้งเขตเดียวเบอร์เดียว แต่ลดเหลือ 375 เขต ปาร์ตี้ลิสต์เขตใหญ่ทั้งประเทศ เพิ่มเป็น 125 แถมยังแบะท่าว่า ส.ส.ไม่ต้องสังกัดพรรค

ไม่ทราบเหมือนกันว่าสมคิด เลิศไพฑูรย์, นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ที่เป็นกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ 50 ให้เหตุผลอย่างไรกับการกลับไปกลับมาไม่มีหลัก ลักลั่น ไม่มีเหตุผล เพราะในขณะเดียวกันก็ให้มี สว.แต่งตั้ง 73 คน สว.เลือกตั้ง 77 คนตามจำนวนจังหวัด (เดี๋ยวตั้งจังหวัดที่ 78 ต้องตามแก้รัฐธรรมนูญอีก) สรุปได้ว่าคนกรุงเทพฯ นี่แหละ “ฟาย” ที่สุด เพราะมีประชากรตั้งมากตั้งมายเป็นศูนย์กลางของประเทศ แต่เลือก สว.ได้คนเดียวเท่าระนอง เท่าบึงกาฬ ยังไปเชียร์เขาเย้วๆ

แก้แบบนี้เข้าทางใครก็เห็นชัด ภูมิใจห้อยอยากให้เลือกเขตเดียวเบอร์เดียวมานานแล้ว แถมลดเหลือ 375 เขต ก็ต้องให้ กกต.แบ่งเขตใหม่ จะแบ่งเข้าทางใครต้องจับตาต่อไป การลด การลด ส.ส.พื้นที่อาจทำให้อัตราส่วน ส.ส.ภาคเหนือภาคอีสานลดลง ขณะที่ปาร์ตี้ลิสต์เขตใหญ่ 125 คน คราวที่แล้ว ปชป.เชื่อว่าเขาได้พอฟัดพอเหวี่ยง

การเลือกตั้งปี 50 ถึงจะใช้กลไกรัฐแทรกแซงอย่างโจ๋งครึ่ม แต่ก็ยังคุมโดยทหารโง่ๆ การเลือกตั้งครั้งนี้ไม่เหมือนกันนะครับ เพราะคุมด้วยนักการเมืองเขี้ยวลาก ที่มีทั้งอำนาจเงิน และมีตำรวจ ทหาร ข้าราชการเป็นเครื่องมือ

อ้อ ยังมี “การเลือกตั้งล่วงหน้า” ซึ่งไม่เคยมีที่ไหนในโลก กฎหมายเลือกตั้งตาม รธน.40 ให้เลือกตั้งต่างแดน ต่างเขต และไปลงล่วงหน้าได้ถ้ามีกิจสำคัญ แต่กฎหมายเลือกตั้งตาม รธน.50 และระเบียบ กกต.ชุดปัจจุบัน เปิดให้เลือกตั้งล่วงหน้า 2 วัน เลือกตั้งจริง 1 วัน ใครนึกอยากจะไปลงเมื่อไหร่ก็ได้ เหมือนไปเที่ยวห้าง หย่อนบัตรนอนไว้ในหีบ อีก 7 วันค่อยมาเปิด ไม่เหมือนวันเลือกตั้งจริง เปิดนับกันเห็นๆ ต่อหน้าประจักษ์พยานกองเชียร์ทั้งสองฝ่าย

ผมไม่กินเหล้า แต่นึกถึงหัวอกคนกินเหล้าเจ้าของร้านเหล้าผับบาร์แล้วน่าสงสาร เลือกตั้งล่วงหน้าต้องหยุดขายเหล้า 2 วัน เลือกตั้งจริงหยุดแค่วันเดียว บ้าไหม

ปัจจัยทุกอย่างจึงบ่งชี้ว่า รัฐบาลจะชนะถล่มทลาย เป็นจุด peak แต่ก็เป็นจุดเสื่อมไปในตัว กับการทำทุกวิถีทางเพื่อเอาชนะ โดยถ้ายิ่งยุบสภาเร็ว ก็จะยิ่งชนะมาก แต่ถ้าทอดเวลาไป ไม่แน่เหมือนกัน ปีศาจเสื่อมอาจคลอดก่อนกำหนด

ถ้ารัฐบาลชนะถล่มทลาย ถ้าเพื่อไทยแพ้ย่อยยับ แล้วมีผลอะไรไหมกับขบวนประชาธิปไตย มันอาจมีด้านลบอยู่บ้าง แต่อะไรๆ คงไม่แย่ไปกว่านี้หรอก และมีด้านดีด้วยซ้ำ เพราะเราคงไม่หวังจะต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยแล้วได้พ่อใหญ่จิ๋ว สภาโจ๊ก หรือพ่อไอ้ปื๊ดมาเป็นนายกฯ

ยุทธศาสตร์ของฝ่ายประชาธิปไตยจึงเปลี่ยนไปจากเดิมที่ถูกผูกอิงอยู่กับการ เลือกตั้ง ที่เคยเชื่อๆ กันก่อนนี้ว่าถ้ายุบสภาเลือกตั้งใหม่แล้วเพื่อไทยจะชนะ (แต่ผมไม่เคยเชื่อ ต่อให้ชนะก็ปฏิรูปประชาธิปไตยไม่ได้ ในเมื่อฝ่ายจารีตนิยมยังกุมอำนาจรัฐราชการ ทหารและตุลาการ อยู่เหนียวแน่น)

มาตอนนี้เราต้องอดทนรอความเสื่อมของระบอบอภิสิทธิ์ ซึ่งอาจแบ่งเป็น 2 ขั้นคือความเสื่อมของอภิสิทธิ์จริตนิยม กับความเสื่อมของตัวระบอบอภิสิทธิ์ชน

ที่พูดอย่างนี้เพราะตัวบุคคลก็มีความสำคัญ อภิสิทธิ์สำคัญมากในฐานะหน้ากากละครคาบูกิ เอาไว้หลอกคนกรุงคนชั้นกลางบนโพเดียม ถ้าหมดอภิสิทธิ์เมื่อไหร่ พวกเขาไม่มีตัวแทนที่เหมาะสม กรณ์หรือ สุขุมพันธ์หรือ เทือกไม่ต้องพูดถึง

ความเสื่อมของอภิสิทธิ์จะไม่ต่างจากชวน คือการอุ้มสมพรรคร่วมรัฐบาลโดยปากอ้างความดีความซื่อ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอีกหลายอย่างเช่น ความมั่วความสุดโต่งสมัยไล่ทักษิณ มันจะย้อนกลับมาเข้าตัว ยกตัวอย่างตอนนี้เงินนอกไหลเข้า หุ้นขึ้น พวกนักวิชาการพันธมิตรบางส่วนที่บ้าต่อต้านโลกาภิวัตน์ก็ออกมาเรียกหาความพอ เพียงกันแล้ว

หรือที่ว่าสมัยทักษิณแต่งตั้งโยกย้ายเล่นพวก ดูโผตำรวจ โผผู้ว่าฯ ก็ถูกวิจารณ์ขรม ไหนล่ะ “ข้าราชการ ข้าของแผ่นดิน” คนดีที่ก้มหน้าก้มตาทำงานโดยไม่แอบอิงนักการเมือง เห็นแต่ศิษย์โรงเรียนเนฯ ทั้งนั้น กลายเป็นทีใครทีมัน ยุคไหนใครมีเส้น ส่วนคนไม่มีเส้น แป๊กทุกยุคทุกสมัย

แต่ความเสื่อมของระบอบอภิสิทธิ์อาจจะมาช้าหน่อย เพราะต้องเสื่อมพร้อมกันทั้งชนชั้นนำและชนชั้นกลาง สถาบันสำคัญที่เป็นตัวแทนของชนชั้นกลาง ทั้งสื่อ ทั้งนักวิชาการ ทั้งสิ่งที่เรียกว่าภาคประชาสังคม จะช่วยกันปกป้อง ผ่อนหนักเป็นเบา หลับตาข้างหนึ่งลืมตาข้างหนึ่ง จนเสื่อมไปด้วยกัน

ผมมองว่านั่นคือภาระของคนในภาคประชาสังคมที่ยังยืนอยู่ฝ่ายประชาธิปไตย ที่จะต้องทำ “สงครามทำลายล้าง” ทางความคิด กับพวกนักบิดเบือนเหล่านี้ โดยไม่มีคำว่าปรองดอง ไม่มีประกาศลงหนังสือพิมพ์ ทางบ้านให้อภัยแล้ว กลับบ้านด่วน

ขณะที่นักเคลื่อนไหวก็ต้องพยายามตั้งลำใหม่ ตั้งขบวนใหม่ ยกระดับมวลชนเสื้อแดงให้เป็นมวลชนประชาธิปไตยที่ไม่ผูกติดกับพรรคเพื่อไทย ทักษิณ และแกนนำชุดที่ทำให้พ่ายแพ้มาแล้ว วันนี้มวลชนอาจจะอยู่ในสภาพที่ไร้หัว เคว้งคว้าง ไร้ทิศทาง มีแต่ความคับแค้น และมีบ้างที่อาจจะท้อแท้หมดกำลังใจ แต่คนที่ผ่าน 6 ตุลามาแล้วอย่างพวกผม บอกได้เลยว่ามวลชนเสื้อแดงยังมีมากกว่ามวลชนของพรรคคอมมิวนิสต์ในอดีตอย่าง น้อยสิบเท่า

ขบวนประชาธิปไตยที่ก่อร่างขึ้นใหม่ไม่จำเป็นต้องมีรูปการจัดตั้งเข้มแข็ง ไม่จำเป็นต้องมีศูนย์การนำ ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนจากทักษิณ จตุพร มาเป็นจาตุรนต์ เพราะจะต้องเป็นขบวนที่มีความหลากหลาย เติบโตอย่างเป็นธรรมชาติ เคลื่อนไหวในรูปแบบที่แตกต่างตามเงื่อนไขของตัวเอง มีความเป็นตัวของตัวเองสูง แต่มีอุดมการณ์ร่วมคือเสรีประชาธิปไตยที่เปิดกว้าง

เมื่อถึงจุดเสื่อมสุดจริงๆ จะเกิดอะไรขึ้น ยังมองยาก แต่เป็นธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงที่เมื่อสั่งสมทางปริมาณเพียงพอ ก็จะปะทุขึ้น นำไปสู่คุณภาพใหม่ เปรียบง่ายๆ ก็เหมือนทักษิณชนะเลือกตั้งท่วมท้น แค่ปีเดียวล้มพังพาบ หรือใครจะเชื่อว่าสหภาพโซเวียตล่มสลายในช่วงเวลาไม่กี่วันที่เยลต์ซินนำมวล ชนลุกฮือ เหมือนมาร์กอส หรือเหมือน 14 ตุลา ที่มีคนออกมาเดินถนนเป็นแสน

ทั้งนี้ไม่ใช่เป็นสูตรว่า จะต้องเป็นอย่าง 14 ตุลา อย่างอาควิโน อย่างพธม. ผมเพียงจะเน้นว่าตัวอย่างเหล่านี้เป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างธรรมชาติ ไม่มีใครวางแผนไว้ได้ ไม่มีใครคาดคิด แม้แต่ตัวเยลต์ซิน อาควิโน หรือว่าเสกสรรค์

ฉะนั้น กระบวนการต่อสู้ที่เป็นธรรมชาติ จึงไม่จำเป็นต้องเป็นอย่างที่เสกสรรค์พูดว่า “การปฏิวัติมันเป็นเรื่องใหญ่กว่าการใช้ความรุนแรง มันต้องมีโปรแกรม มีพิมพ์เขียวของสังคมในอนาคต มีจินตนาการใหม่เกี่ยวกับโลกและชีวิต นอกจากนี้ยังต้องมีการจัดตั้งกำลังที่มีวินัย มีจิตสำนึกชัดเจนว่าตัวเองกำลังทำอะไรอยู่ ส่วนการนำก็ต้องปราศจากผลประโยชน์ส่วนตัว อีกทั้งมีความเชี่ยวชาญจัดเจนในเรื่องยุทธศาสตร์ ยุทธวิธีการเคลื่อนไหว มีการกำหนดเป้าหมายขั้นตอนที่จะสะสมชัยชนะ สิ่งเหล่านี้ผมในฐานะผู้สังเกตการณ์ยังมองไม่เห็น”

แปลว่าตอน 14 ตุลา เสกสรรค์มองเห็น? เสกสรรค์มีโปรแกรมมีพิมพ์เขียว?

ขบวนปฏิวัติแบบที่เสกสรรค์พูดตกยุคไปแล้ว ผมไม่เชื่อเรื่องขบวนปฏิวัติที่มีการจัดตั้ง มีกองกำลังที่เป็นเอกภาพ ผมเชื่อว่าเราต้องมียุทธศาสตร์ยุทธวิธีคร่าวๆ มีอุดมการณ์กว้างๆ แต่ให้ความเปลี่ยนแปลงมันเป็นไปโดยธรรมชาติมากกว่า

ที่สำคัญคือเราต่อสู้เพื่ออุดมการณ์เสรีประชาธิปไตย ไม่ใช่อุดมการณ์สังคมนิยมที่ต้องไปฝังหัวใคร แล้วก็ไม่ใช่ว่าถึงชัยชนะแล้ว จะต้องเอาพิมพ์เขียวไปบังคับใคร เพราะเราแค่ต้องการทลายอำนาจที่ปิดกั้น เสรีประชาธิปไตยคือทุกคนมีเสรี ยกเว้นพวก พธม.ไม่ให้มีเสรี เพราะพวกนี้ไม่ต้องการประชาธิปไตย ต้องการ 70-30 (ฮา)

เอาแค่ที่บอกว่าการนำต้องปราศจากผลประโยชน์ส่วนตัว ก็ผิดแล้ว (ถ้าอย่างนั้นก็เอาพระนำสิ หามมาเลย) การต่อสู้วันนี้เป็นเรื่องอำนาจและผลประโยชน์ทางชนชั้น ถ้าผลประโยชน์สอดคล้อง ใครนำก็เอาด้วย ดูอย่างสนธิสิ ปราศจากผลประโยชน์ส่วนตัวไหม พันธมิตรก็ยังยอมรับเป็นศาสดา

ใบตองแห้ง
9 ก.ย.53

กลุ่มวันอาทิตย์สีแดงขี่จักรยานรอบพื้นที่ราชประสงค์

กลุ่มวันอาทิตย์สีแดงจัดกิจกรรมขี่จักรยานไปบนเส้นทางที่มีผู้เสียชีวิตจาก การกระชับพื้นที่ โดยมีผู้นำจักรยานเข้าร่วมขบวนกว่า 50 คัน และมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวนมาก

12 ก.ย.53 - ที่แยกราชประสงค์ กลุ่มวันอาทิตย์สีแดงจัดกิจกรรมขี่จักรยานไปบนเส้นทางที่มีผู้เสียชีวิตจาก การกระชับพื้นที่ โดยมีผู้นำจักรยานเข้าร่วมขบวนกว่า 50 คัน และมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวนมาก

ก่อนเคลื่อนขบวนจักรยาน นายสมบัติ บุญงามอนงค์ ผู้ริเริ่มกิจกรรมวันอาทิตย์สีแดงให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวเกี่ยวกับการจัด กิจกรรม “4 ปีรัฐประหาร 4 เดือนราชประสงค์” ในวันที่ 19 ก.ย.ที่จะถึงนี้ว่า เนื่องจากรัฐบาลยังไม่มีคำตอบเกี่ยวกับการเสียชีวิตของประชาชนในเหตุการณ์ขอ คืนพื้นที่และกระชับพื้นที่ จึงเป็นเรื่องที่ประชาชนจะแสวงหาคำตอบเอง และเป็นการยืนยันว่าคนเสื้อแดงยังไม่ลืมความสูญเสียที่เกิดขึ้น

นายสมบัติกล่าวกิจกรรมในวันที่ 19 ก.ย.ว่า เป็นกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์เพื่อรำลึกถึงการรัฐประหารในเดือน ก.ย. 2549 และรำลึกถึงความสูญเสียของประชาชนจากสลายการชุมนุมในเดือน พ.ค.2553 โดยกิจกรรมในวันนั้นจะมีการปล่อยลูกโป่งสีแดงจำนวน 10,000 ลูกขึ้นสู่ท้องฟ้าพร้อมกัน จากนั้นจะมีการผูกผ้าแดง 100,000 ชิ้นทั่วราชประสงค์ และมีกิจกรรมนอนตาย ก่อนจะจบด้วยการจุดเทียนสีแดงในเวลา 19.00 น. โดยกิจกรรมทั้งหมดจะใช้เวลาประมาณ 2 ชม.ครึ่ง ซึ่งนายสมบัติคาดว่าจะมีผู้เดินทางมาร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก

ผู้สื่อข่าวได้ถามนายสมบัติเกี่ยวกับเหตุระเบิดที่เกิดขึ้นหลายครั้งก่อน หน้านี้ ซึ่งนายสมบัติตอบว่าไม่ว่าฝ่ายใดก็ตามไม่มีความชอบธรรมในการใช้ความรุนแรง และหวังว่าจะไม่มีเหตุระเบิดเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่จัดกิจกรรม

“ขอประณามคนที่ทำเหตุการณ์ระเบิด ไม่ว่าจะมาจากฝ่ายไหนไม่มีความชอบธรรมในการใช้ความรุนแรง ผมหวังว่าจะไม่มีเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในช่วงที่เราจัดกิจกรรมรำลึก” นายสมบัติกล่าว

นอกจากนี้นายสมบัติยังกล่าวด้วยว่า ได้ประสานงานกับทางเจ้าที่ตำรวจเรียบร้อยแล้ว และหวังว่าทุกอย่างจะผ่านไปได้ด้วยดี ส่วนคำถามของผู้สื่อข่าวต่างประเทศที่ถามว่านายสมบัติเป็นแกนนำคนเสื้อแดง หรือไม่ นายสมบัติยืนยันว่า ตนไม่ใช่แกนนำ แต่เป็นประชาชนที่มาจัดกิจกรรม และเชื่อว่าแม้จะไม่มีแกนนำ ประชาชนก็จะยังคงทำกิจกรรมต่อไป

ระหว่างนั้น น.ส.ขัตติยา สวัสดิผล บุตรสาว พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล หรือเสธ.แดง ได้เดินทางมาที่แยกราชประสงค์เพื่อมาให้กำลังใจผู้ที่มาร่วมกิจกรรมวัน อาทิตย์สีแดง ซึ่งก็ได้รับการต้อนรับจากผู้เข้าร่วมกิจกรรมอย่างอบอุ่น

ในเวลา 17.00 น.เศษ ขบวนจักรยานเริ่มเคลื่อนตัวออกจากแยกราชประสงค์ โดยวิ่งไปตามถนนราชดำริ ผ่านแยกประตูน้ำเข้าถนนราชปรารภ มาหยุดขบวนในจุดที่นายสมาพันธ์ ศรีเทพ หรือน้องเฌอถูกยิงเสียชีวิตในตอนเช้าวันที่ 15 พ.ค. และหยุดแวะที่ปากซอยราชปรารภ 22 เพื่อพูดคุยและดูร่องรอยกระสุนปืนที่ยิงเข้าใส่บ้านเรือนประชาชนจนได้รับ ความเสียหาย จากนั้นจึงเคลื่อนขบวนเข้าสู่ถนนราชวิถี ผ่านสวนสันติภาพ ห้างเซ็นเตอร์วัน และอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เลี้ยวซ้ายเข้าถนนพญาไทและเข้าสู่ซอยรางน้ำเพื่อวกกลับมาที่ถนนราชปรารภ ก่อนจะเคลื่อนขบวนไปบนถนนราชดำริจนมาถึงปลายทางที่ลานพระรูป ร.6 หน้าสวนลุมพินี

ระหว่างทางที่ขบวนจักรยานเคลื่อนที่ไปมีการส่งเสียง “ทหารยิงประชาชน” และ “เราไม่ลืม” เป็นระยะ และมีประชาชนริม 2 ข้างทางโบกมือให้กำลังใจ โดยการเคลื่อนขบวนจักรยานใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง

ส่วนที่ลานพระรูป ร.6 สวนลุมพินี มีการจัดกิจกรรมรำลึกถึง พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล หรือเสธ.แดง ซึ่งถูกลอบยิงในตอนค่ำวันที่ 13 พ.ค.และเสียชีวิตในเวลาต่อมา โดยกิจกรรมนี้มีผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนมาก รวมทั้งผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมของกลุ่มวันอาทิตย์สีแดงก็ได้เดินทางมาร่วมใน กิจกรรมดังกล่าวนี้ด้วย

ในกิจกรรมมีการจำลองเหตุการณ์ที่ พล.ต.ขัตติยะ ถูกลอบยิงขณะกำลังให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวต่างประเทศ จากนั้น น.ส.ขัตติยา สวัสดิผล และผู้ร่วมกิจกรรมได้ร่วมกันนำภาพวาดของ พล.ต.ขัตติยะ พร้อมผ้าสีแดงและกุหลาบแดงเดินเท้าไปยังทางขึ้น-ลงของสถานีรถไฟใต้ดินสีลม ฝั่งสวนลุมพินีซึ่งเป็นจุดที่ พล.ต.ขัตติยะถูกยิงล้มลง จากนั้น น.ส.ขัตติยาได้อ่านประวัติย่อของ พล.ต.ขัตติยะ และผู้ร่วมกิจกรรมร่วมกันจุดเทียนสีแดงและนำกุหลาบแดงมาวางหน้าภาพ พล.ต.ขัตติยะ จากนั้นจึงร่วมกันร้องนักสู้ธุลีดิน และผู้ร่วมกิจกรรมบางส่วนนำผ้าสีแดงมาผูกในบริเวณที่ พล.ต.ขัตติยะถูกยิง ในช่วงท้ายของกิจกรรม น.ส.ขัตติยาได้กล่าวขอบคุณต่อผู้ร่วมกิจกรรมในความรักที่มี พล.ต.ขัตติยะ ซึ่งเป็นบิดาของตน และกิจกรรมได้ยุติลงในเวลาประมาณ 19.00 น.


ที่มา: ประชาไท

แต่งผีไปหลอนทหารที่ BTS: เรามายืนยัน ให้เขานึกได้ว่าใคร เคยทำอะไร

โหมโรงก่อน 19 กันยายน สำหรับการจัดกิจกรรม “4 ปีรัฐประหาร 4 เดือนราชประสงค์” กลุ่มประกายไฟ ร่วมกับเครือข่ายนักกิจกรรมทางสังคมเพื่อประชาธิปไตย และนักเรียน นักศึกษากว่า 10 ชีวิต แต่งตัว-แต่งหน้า เลียนแบบผี ออกมาทำกิจกรรม “แต่งผีไปหลอนทหารที่ BTS”
วันอาทิตย์ที่ 12 กันยายน เวลาบ่าย 3 โมง คือเวลาของการนัดหมายเพื่อเตรียมการกิจกรรม “แต่งผีไปหลอนทหารที่ BTS” ซึ่งในวันเดียวกัน ยังมีกิจกรรมวันอาทิตย์สีแดงปั่นจักรยานรอบพื้นที่ราชประสงค์ นำโดย สมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บก.ลายจุด ผู้ริเริ่มกิจกรรมวันอาทิตย์สีแดง ทั้งนี้พร้อมๆ กับช่วงเวลาที่ บก.ลายจุดนำขบวนรถจักรยานออกเดินทางจากจุดเริ่มต้นที่บริเวณแยกราชประสงค์ กลุ่มคนแต่งผีก็เริ่มทำกิจกรรม
จากคำเชิญชวนในเฟซบุ๊ค ก่อนหน้านี้ที่ระบุเอาไว้ว่า สำนักข่าวรอยเตอร์รายงาน ข่าวและภาพทหารที่มาประจำการอยู่บนสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส นักกิจกรรมกลุ่มนี้จึงคิดกิจกรรมสำหรับผู้ที่อยากให้ทหารจดจำสิ่งที่พวกเขา ลืมทิ้งเอาไว้ รวมทั้งสื่อสารให้สังคมได้ฉุกคิดต่อความสูญเสียจากเหตุการณ์สลายการชุมนุม เดือน เม.ย.-พ.ค.ที่ผ่านมา
“ป๊อก” นักกิจกรรมจากกลุ่มประกายไฟ หนึ่งในคนแต่งผีบอกกับเราว่า เขาต้องการสะท้อนภาพว่าการมาดูแลความสงบสุขของทหารในวันนี้ ก่อนหน้านี้คนที่ทำให้ประชาชนต้องเสียชีวิตก็คือทหารเอง
“เรามายืนยัน ให้เขานึกได้ว่าใครเคยทำอะไร และพวกเรายังคงปรากฏตัวให้เขาเห็นอยู่ เหมือนภาพหลอน” หนุ่มนักกิจกรรมซึ่งอยู่ในเหตุการณ์ที่มีผู้เสียชีวิตจากการขอคืนพื้นที่การ ชุมนุมเมื่อเดือนเมษา และต้องรับรู้ถึงความสูญเสียอีกครั้งเมื่อรัฐบาลประกาศกระชับพื้นที่ที่ราช ประสงค์ ซึ่งเขามองว่าใครหลายคนอาจลืมไปแล้ว
ส่วน “ตี๋” นักกิจกรรมอีกคนหนึ่งจากกลุ่มประกายไฟ บอกว่า กิจกรรมในวันนี้พวกเขาต้องการจะสื่อสารกับคนทั่วไป คนที่เห็น คนที่พวกเขาเดินผ่าน ซึ่งส่วนหนึ่งกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ ขณะที่คนอีกส่วนหนึ่งมองว่าตรงนี้มันไม่ใช่เรื่องปกติตามที่ชีวิตพวกเขาควร จะเป็น
แค่คำว่า “เอ๋!... มาทำอะไร” แค่ถูกตั้งคำถาม หรือเพียงแค่การทำกิจกรรมในวันนี้ไปสะดุดความคิด เท่านั้นพวกเขาก็พอใจแล้ว โดยตี๋บอกว่าเป็นการเริ่มต้นจากจุดเล็กๆ พร้อมยอมรับว่าหากจะไปเปลี่ยนความคิดใครคงเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก
สำหรับกิจกรรมวันนี้ของกลุ่มคนแต่งผี เริ่มจากการเดินเท้าบน Sky Walk บริเวณหน้าวัดปทุมวนาราม ผ่านแยกราชประสงค์ เพื่อไปขึ้นรถไฟฟ้าบีทีเอส ที่สถานีชิดลม จากนั้นไปต่อรถที่บีทีเอส สถานีสยามเพื่อไปยังบีทีเอส สถานีศาลาแดง ซึ่งบริเวณลานพระรูป ร.6 สวนลุมพินี มีการจัดกิจกรรมรำลึกถึง พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล หรือเสธ.แดง ซึ่งถูกลอบยิงเสียชีวิต
ทั้งนี้ ในระหว่างการเดินทางกลุ่มคนแต่งผีได้แวะทักทายและถ่ายรูปกับทหารที่ประจำการอยู่บริเวณสถานีรถไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง
“แนน” เด็กนักเรียนหญิงชั้น ม.4 ที่ร่วมกิจกรรมบอกเล่าความรู้สึกให้ฟังว่า ตอนเธออยู่บนรถไฟฟ้าเหมือนถูกมองเป็นตัวประหลาด ถูกมองแบบสงสัย ตั้งคำถาม แต่เมื่อเดินทางไปถึงที่ลานพระรูป ร.6 คนเสื้อแดงที่มารวมตัวกันทำกิจกรรมกันอยู่ออกมาให้กำลังใจ บอกว่าให้สู้ๆ เป็นความรู้สึกที่แตกต่างกันมาก
เมื่อถามแนนถึงจุดประสงค์ของการมีเรียกร้องในครั้งนี้ เธอบอกเราเพียงว่า “อยากให้เขา (ทหาร) กลับไป”
ขณะที่ “กอล์ฟ” หรือ ภรณ์ทิพย์ มั่นคง นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง หนึ่งในสมาชิกกลุ่มประกายไฟเล่าว่าจากการไปทำกิจกรรมทำให้ได้รับรูว่าหลายคน ไม่เข้าใจกับสิ่งที่ได้ทำ รวมทั้งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งต้องทำอีกมากเพื่อจะให้คนที่ไม่เข้าใจได้เห็น อาจเป็นการทำกิจกรรมหรือลงไปพูดคุย
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของคนทำกิจกรรมเองก็มีปัญหา เนื่องจากที่ผ่านมาเมื่อมีการเปิดรับอาสาสมัคร ก็มีนักเรียน นักศึกษาที่สนใจอยากเข้ามาร่วมทำกิจกรรมมีจำนวนมาก แต่ก็ติดปัญหาเกี่ยวกับการเรียน เพราะต้องทำรายงาน ต้องเรียนพิเศษ ทำให้ไม่ว่างมาร่วมกิจกรรมที่ค่อนข้างต้องการความต่อเนื่องในการพูดคุย วางแผน และฝึกซ้อมร่วมกัน
กอล์ฟ แสดงความเห็นว่า สำหรับนักศึกษาแล้วการเรียนเป็นสิ่งสำคัญมากในชีวิต แต่ก็ตั้งคำถามว่าระบบการศึกษานั้นจำเป็นที่จะต้องบีบรัดขนาดทำให้กลายเป็น ว่าไม่มีสิทธิมาทำกิจกรรมเลยหรือ เพราะในส่วนคนทำงานก็เคยมีตัวอย่างที่โทรมาให้กำลังใจ บอกว่าอยากเข้าร่วมเพราะที่ผ่านมาสมัยเรียนไม่เคยมีเวลาทำกิจกรรม แต่เขาก็ไม่มีเวลาเข้าร่วมทำกิจกรรม แล้วสุดท้ายก็ไม่มีเวลาทำอะไร
กอล์ฟ เล่าด้วยว่าที่ผ่านมา ในส่วนของกลุ่มประกายไฟได้มีการทำกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวของกับปัญหาสังคม อีกทั้งยังมีในส่วนกิจกรรมการละครเวทีเพื่อการสื่อสารข้อมูล ซึ่งที่ผ่านมาก็มีการทำละครสะท้อนสังคมการเมือง 2 เรื่อง คือ หนูน้อยหมวกแดง และกินรีสีแดง ซึ่งขณะนี้กลุ่มประกายไฟยังเปิดรับนักแสดง คุณสมบัติที่ต้องการคือ รักประชาธิปไตยไม่เห็นด้วยกันการเข่นฆ่าประชาชน ไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์ทางด้านการแสดง (สามารถเข้าไปดูข้อมูลได้ในเฟซบุ๊คที่ Iskra Drama
สำหรับกิจกรรมต่อไป กอล์ฟ ให้ข้อมูลว่าในวันที่ 19 กันยายนนี้ ทางกลุ่มจะมีละครไปแสดงร่วมในกิจกรรม “4 ปีรัฐประหาร 4 เดือนราชประสงค์” ที่บริเวณสี่แยกราชประสงค์ นอกจากนั้นยังจะมีการทำค่ายเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจาก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และการสลายการชุมนุม ในวันที่ 27 ต.ค.-2 พ.ย.นี้ในภาคอีสาน โดยที่คิดรูปแบบไว้จะเป็นการเดินทางไปเยี่ยมผู้ต้องขังในเรือนจำ และจะมีการไปแสดงละครเวทีที่บริเวณศาลากลาง จ.ขอนแก่นด้วย
ส่วนกิจกรรมวันอาทิตย์สีแดง เธอเห็นว่าเป็นกิจกรรมที่ง่ายต่อการเข้าร่วม ง่ายในการใส่เสื้อแดงร่วมกิจกรรม แต่ส่วนตัวคิดว่าไม่พอ ดังนั้นจึงต้องสร้างกิจกรรมของเราเองขึ้นมาเพื่อหนุนเสริมให้มันแข็งแรงขึ้น

ที่มา: ประชาไท

สนนท. ส่งจดหมายเปิดผนึกให้กำลังใจนักศึกษา ม. บูรพา

12 ก.ย. 53 - สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงเพื่อนนักศึกษา ม. บูรพา ที่ถูกเรียกเข้า บชน. 5 เหตุร่วมงานเสื้อแดง ย้ำสิ่งที่เรียกว่า “เสรีภาพ” เป็นเรื่องเกินอาจเอื้อมในสังคมเผด็จการ

จดหมายเปิดผนึก สนนท. ถึงเพื่อน ม. บูรพา สิ่งที่เรียกว่า “เสรีภาพ” เป็นเรื่องเกินอาจเอื้อมในสังคมเผด็จการ

ถึงเพื่อนนิสิต

หากการร่วมชุมนุมเพียงเพื่อร่วมรำลึกเหตุการณ์การสลายการชุมนุม และการเสียชีวิตของประชาชนผู้บริสุทธิ์ที่ “ราชประสงค์” ถือเป็นอาชญากรรม จนถูกตำรวจจากกองบัญชาการตำรวจนครบาลเรียกตัวเข้าพบแล้วล่ะก็ พวกเราก็คงจะจัดได้ว่าคุณเป็นอาชญากรคนหนึ่งนั่นคือ “อาชญากรแห่งเสรีภาพ” เพราะการตั้งคำถามและเรียกร้องสิทธิ เสรีภาพ รวมทั้งการสำนึกในความเป็นมนุษย์ของคนเสื้อแดง นับเป็นเรื่องเกินอาจเอื้อมในสังคมเผด็จการ

แม้ว่าพวกเราจะอยู่ท่ามกลางบรรยากาศของความปรองดองสมานฉันท์ตามที่รัฐบาล ประกาศ และพยายามอธิบายอยู่เสมอ แต่การคุกคามสิทธิและเสรีภาพของนิสิต นักศึกษา ยังคงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้น พวกเขา(รัฐบาล?) ยังคงใช้วิธีเดิมๆ ในการจัดการกับผู้ที่มีความคิดเห็นที่แตกต่าง เส้นที่พวกเขาขีดขึ้นถือเป็นเส้นที่ไม่อาจก้าวข้ามและไม่อาจล่วงล้ำ เพราะ สำหรับคนที่กล้าแตกแถวย่อมได้รับผลกระทบที่คล้ายคลึงกับคุณ

พวกเรามีเพื่อนซึ่งถูกกล่าวหาว่าเป็นเจ็ดมือวางระเบิดในภาคใต้ เรามีเพื่อนซึ่งถูกส่งไปบำบัดทางจิตเพียงเพราะชูป้ายว่า “เราเห็นคนตายที่ราชประสงค์” และเรามีเพื่อนที่ถูกจับกุมคุมขังเพียงเพราะฝ่าฝืน พรก. ฉุกเฉิน – กฎหมายที่ไม่เป็นธรรม

ไม่เพียงเท่านี้พวกเรายังมีเพื่อนอีกจำนวนมาก เพื่อนที่สั่นเทาด้วยความโกรธแค้นต่อการกวาดล้างประชาชนผู้บริสุทธิ์เพียง เพราะพวกเขาเรียกร้องสิทธิพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญ นั่นคือการยุบสภา

ใช่! พวกเราเชื่อว่าเรายังมีเพื่อนอีกจำนวนมากที่ยังไม่กล้าแสดงตัว และยังเรายังมีเพื่อนอีกจำนวนมากที่พร้อมจะเป็น “อาชญากรแห่งเสรีภาพ” เช่นเดียวกับคุณ

พวกเรา (สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย – สนนท.) ขอให้กำลังใจเพื่อนนิสิต, ชุติพงศ์ พิภพภิญโญ, ผู้ยึดมั่นในสิทธิ เสรีภาพ และความเป็นมนุษย์ของประชาชนผู้บริสุทธิ์ พวกเราจะขอเป็นกำลังใจและจะเป็นแนวร่วมเพื่อพิทักษ์สิทธิและเสรีภาพของ นักศึกษา ในการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง นอกจากนี้พวกเรายังขอชื่นชมอาจารย์โอฬาร ถิ่นบางเตียว อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ผู้มองเห็นว่าความคิดเห็นที่แตกต่างและกิจกรรมนักศึกษานับเป็นความก้าวหน้า ของสังคมประการหนึ่ง และการกระทำของตำรวจเป็นการคุกคามสิทธิ เสรีภาพ

ด้วยมิตรภาพและความระลึกยิ่ง

สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.)

ที่มา: http://www.siamintelligence.com/open-letter-from-sft-to-friend-from-burapa-univ/

"มาร์ค" ระบุ "ตู่" ขัดขวางการพัฒนาประเทศ-ปรองดอง

"มาร์ค" ออกรายการเชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ ขอ "จตุพร" หยุดขวางการพัฒนา ปท.-แผนปรองดอง รอประเมิน 2-3 เดือน ก่อนจัดการเลือกตั้งใหม่

12 ก.ย. 53 - นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กล่าวเมื่อวันที่ 11 กันยายน ในรายการเชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯอภิสิทธิ์ ช่วงที่สาม ซึ่งมีนายสรยุทธ์ สุทัศนะจินดา พิธีกรข่าวชื่อดัง เป็นผู้ดำเนินรายการว่า มีความเป็นกังวลต่อกรณีการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง ในช่วง19ก.ย.ครบ4ปีของการทำรัฐประหาร ซึ่งรัฐบาลไม่ขัดขวางการกิจกรรมทางการเมืองยกเว้นการทำผิดกฏหมายเช่นการปิด ถนน ยืนยันว่า รัฐบาลไม่ได้สองมาตรฐาน ใครทำผิดกฏหมายจะต้องถูกจับกุมดำเนินคดี

ส่วนการพบวัตถุเบิด และยิง M79 ในหลายจุด และล่าสุดมีกระแสข่าวเกิดเหตุระเบิดบริษัทของพ่อตานายเนวิน ชิดชอบ แกนนำพรรคภูมิใจไทย ที่จ.เชียงใหม่ เมื่อกลางดึกนั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ถือเป็นการกระทำที่ท้าทายสังคม ส่วนการแก้ปัญหาเพื่อให้เกิดความสงบสุข ทางที่ดีที่สุดต้องยึดหลักสากล โดยรัฐบาลพร้อมเปิดพื้นที่แสดงออกทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย

นายกรัฐมนตรี กล่าวต่อด้วยว่า รัฐบาลไม่ได้สร้างสถานการณ์ตามที่นายจตุพร พรหมพันธ์ ส.ส.เพือไทย และแกนนำคนสำคัญของนปช.ออกมาตั้งข้อสังเกตุขอให้นายจุตพร หยุดขัดขวางกระบวนการพัฒนาประเทศชาติ และแผนปรองดองได้แล้ว รัฐบาล พร้อมร่วมมือกับทุกฝ่ายเพื่อสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้น แต่พรรคเพื่อไทย ต้องตัดจากกลุ่มคน ที่มีความเชื่อมโยงกับการก่อเหตุรุนแรงให้ได้ที่ผ่านมาได้เคยเสนอกติกาเพื่อ ให้เกิดความปรองดอง แต่ก็ถูกปฏิเสธมาตลอด

นายกรัฐมนตรี กล่าวต่อว่า การเลือกตั้งที่จะนำไปสู่ความสงบต้องเป็นการเลือกตั้งที่เป็นธรรม และเสรี ซึ่งเหตุการณ์ความไม่สงบของบ้านเมืองที่ผ่านมาประชาชนยังเกิดความไม่มั่นใจ จึงขอเวลาในการประเมินสถานการณ์ใน 2-3 เดือนจากนี้ก่อน รวมทั้งต้องรอให้คณะกรรมการปฏิรูปทุกชุด มีการทำงานให้ความชัดเจน ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวชี้ชัดว่า ต้นปีหน้าจะมีการเลือกตั้งได้หรือไม่ และจะเป็นในช่วงเวลาใดที่เหมาะสม

ที่มาข่าว:

"มาร์ค" ขอ "จตุพร" หยุดขวางการพัฒนา ปท.-แผนปรองดอง รอประเมิน 2-3 เดือน ก่อนจัดการเลือกตั้งใหม่ (มติชน, 12-9-2553)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1284265938&grpid=00&catid=

"สมยศ" โวยรัฐปิด "เรด พาวเวอร์" เสียหายกว่า 10 ล้าน เดินหน้าทำต่อที่เชียงใหม่

สมยศ พฤกษาเกษมสุข บรรณธิการเรด พาวเวอร์ เผย โวยรัฐบาลสั่งปิดหนังสือ ทำความเสียหายกว่า 10 ล้านบาท รัฐใช้อำนาจผิดวิธี ลั่นเดินหน้าทำหนังสือต่อที่จังหวัดเชียงใหม่

ที่มาภาพ: Thailand Mirror

12 ก.ย. 53 - นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข บรรณาธิการบริหารหนังสือพิมพ์เรด พาวเวอร์ แถลงข่าวเกี่ยวกับกรณีที่ ศอฉ. โดยคำสั่งของรัฐบาล สั่งยึดแท่นพิมพ์จำนวน 11 เครื่อง ของบริษัทโกลด์เด้น เพาเวอร์ พริ้นติ้ง ซึ่งการกระทำดังกล่าว สร้างความเสียหายให้แก่บริษัท โกลด์เด้น เพาเวอร์ พริ้นติ้ง กว่า 10 ล้านบาท ว่า เป็นการกระทำของรัฐบาล ที่ใช้อำนาจในทางที่ผิด ทำตัวเยี่ยงอันธพาลครองเมือง ไม่มีความเป็นมนุษยชน เป็นรัฐบาลที่มือถือสากปากถือศีล ใช้อำนาจมืดในการดำเนินการ

พร้อมทั้งยืนยันว่าจะดำเนินการจัดทำหนังสือพิมพ์เรดพาวเวอร์ต่อ โดยจะตั้งศูนย์ที่จังหวัดเชียงใหม่ และจะเตรียมออกเป็นรายสัปดาห์ และรายวันต่อไป ทั้งนี้ สำหรับการรวมตัวของกลุ่มคนเสื้อแดง ในวันที่ 19 ก.ย. นี้ ที่กรุงเทพมหานคร และจังหวัดเชียงใหม่นั้น จะมีการเรียกร้องให้รัฐบาลปฏิรูปประเทศ โดยยื่นข้อเสนอจำนวน 4 ข้อ คือ

1. ต้องปล่อยตัวนักโทษทางการเมืองของ นปช. ทุกคน

2. ปฏิรูปศาลยุติธรรมให้เชื่อมโยงประชาชน

3. ปฏิรูปเศรษฐกิจ เพื่อดูแลประชาชน

4. ปฏิรูปที่ดินประกันราคาพืชผลเกษตรกร

ส่วนวันที่ 18-19 ก.ย. นี้ กลุ่มคนเสื้อแดง จะจัดแรลลี่รำลึก 4 ปี รัฐประหาร 4 เดือน ราชประสงค์ โดยจะรวมตัวกันบริเวณหน้า ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี ลาดพร้าวในเวลา 06.00 น. และจะเดินทางออกสู่จังหวัดเชียงใหม่ต่อไป

ที่มาข่าว:

บ.ก.เรดนิวส์โวยเสียหายกว่า10ล้าน (ไอเอ็นเอ็น, 12-9-2553)
http://innnews.co.th/crime.php?nid=244003

รองผู้ว่าเชียงใหม่เผย เตรียมเสนอรัฐบาลประกาศ พรก.ฉุกเฉิน อีกครั้ง

คนร้ายลอบยิงลูกระเบิดเอ็ม 79 ใส่บ้านพักพ่อตานายเนวิน ด้านรองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่เผยเตรียมเสนอรัฐบาลประกาศใช้ พรก.ฉุกเฉินฯในพื้นที่จังหวัดอีกครั้ง หลังเกิดเหตุยิงเอ็ม 79 "สมชาย-จตุพร"นำเผาศพการ์ดแดงที่เชียงใหม่

12 ก.ย. 53 - พ.ต.อ.ภาณุเดช บุญเรือง รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดเชียงใหม่ เข้าตรวจสอบอาคารบริษัทเชียงใหม่คอนสตัคชั่น ของนายคะแนน สุภา พ่อตานายเนวิน หลังถูกลอบยิงลูกระเบิดเมื่อช่วงเช้ามืด โดยนายคะแนนเปิดเผยว่า ขณะนอนอยู่ในบ้านพักได้ยินเสียงดังคล้ายระเบิด ช่วงเวลา 03.00 น. เมื่อตรวจสอบพบว่ากันสาดหน้าอาคาร และกิ่งไม้ถูกสะเก็ดระเบิด คาดว่าจะเป็นชนิดเอ็ม 79 ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน และตรวจสอบภาพที่บันทึกจากกล้องวงจรปิด ทั้งนี้ที่ผ่านมาบ้านพักของนายคะแนน เคยถูกปาปะทัดยักษ์ใส่บ้านพักมาแล้วหลายครั้ง

รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่เผยเตรียมเสนอรัฐบาลประกาศใช้ พรก.ฉุกเฉินฯในพื้นที่จังหวัดอีกครั้ง

ด้านนายชูชาติ กีฬาแปง รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ (รองผวจ.เชียงใหม่) กล่าวว่า จากเหตุการณ์คนร้ายลอบยิงระเบิดเอ็ม79 ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ทำให้ขณะนี้สถานการณ์ในพื้นที่จังหวัดไม่น่าไว้วางใจ ซึ่งทางจังหวัดจะเสนอให้รัฐบาลประกาศใช้ พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่อีกครั้งใน สัปดาห์หน้า เพื่อป้องกันเหตุการณ์รุนแรง

อย่างไรก็ตามจากการตรวจสอบบริเวณพื้นที่สำนักงานของบริษัทเชียงใหม่คอนสต รัดชั่น ของ นายคะแนน สุภา ซึ่งเป็นพ่อตานายเนวิน ชิดชอบ แกนนำพรรคภูมิใจไทย ที่ได้ถูกคนร้อยลอบยิงลูกระเบิดเอ็ม79เข้าใส่นั้น ทางตำรวจวิทยาการเชียงใหม่สัณนิษฐานว่า ลูกระเบิดถูกยิงมาจากฝั่งถนนและกระสุนได้มาตกบริเวณต้นไม้ก่อนที่จะเกิด ระเบิดขึ้น โดยแรงระเบิดทำให้พื้นที่ใกล้เคียงได้รับความเสียหายเป็นรูพรุนหลายจุด

"ขณะนี้ตำรวจได้เร่งตรวจสอบที่เกิดเหตุและหาร่องรอยของคนร้ายตามจุดต่างๆ พร้อมตรวจสอบกล้องวิดิโอ ตามจุดใกล้เคียง เพื่อหาเบาะแสของคนร้ายแล้ว ซึ่งที่ผ่านมาสำนักงานของนายคะแนน ถูกลอบยิงใส่มาแล้วถึง 3 ครั้ง" นายชูชาติกล่าว

"สมชาย-จตุพร"นำเผาศพการ์ดแดงที่เชียงใหม่

วันนี้ (12) นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย และแกนนำ นปช.แดง ได้โฟนอินไปยังรายการวิทยุของเสื้อแดงกลุ่มรักเชียงใหม่ 51 โดยบอกกับคนเสื้อแดงว่า การเสียชีวิตของ นายกฤษฎา กล้าหาญ อายุ 27 ปี การ์ดแดงรักเชียงใหม่ 51 ที่ถูกเอ็ม16 ยิงบนถนนสายเชียงใหม่-หางดง อ.หางดง จ.เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 30 สิงหาคมที่ผ่านมา น่าจะเป็นฝีมือของรัฐบาล และการต่อสู้ของคนเสื้อแดงจะไม่ยุติหรือสิ้นสุด พร้อมประกาศชวนคนเสื้อแดงให้มารวมพลในวันที่ 19 กันยายนนี้ ระบุว่าจะเป็นการนัดรวมพลังครั้งใหญ่ที่สนามกีฬาเทศบาลนครเชียงใหม่

ต่อมานายจตุพรได้เดินทางมายังวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร ต.พระสิงห์ อ.เมืองเชียงใหม่ เพื่อเข้าร่วมขบวนแห่ศพของนายกฤษฎา ร่วมกับคนเสื้อแดงกว่า 500 คน ซึ่งแกนนำแดงในพื้นที่ได้แก่ นายวรวุฒิ รุจนาภินันท์ หรือดีเจแดงสองแคว จากกลุ่มรักเชียงใหม่ 51 และนายศรีวรรณ จันทร์ผง แกนนำ นปช.แดงเชียงใหม่ โดยตั้งขบวนเดินเท้านำศพออกจากวัดไปประกอบพิธีฌาปนกิจที่สุสานหายยา อ.เมือง ในช่วงบ่าย คนทั้งหมดพร้อมใจกันสวมเสื้อสีแดง ส่วนนายจตุพรนั่งบนรถตู้ส่วนตัวเคลื่อนออกไปพร้อมกับขบวน

เมื่อไปถึงสุสานหายยา เวลา 15.30 น.นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี ได้เดินทางมาเป็นประธานในพิธี ร่วมกับกลุ่มคนเสื้อแดงถวายผ้าไตรและวางดอกไม้จันทน์ประกอบพิธีเผาศพ มีพระเทพโกศล เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ขณะวางดอกไม้จันทน์แกนนำแดงได้ประกาศเชิญชวนคนเสื้อแดงเป็นระยะให้ไปเข้า ร่วมการชุมนุมใหญ่ที่สนามกีฬาเทศบาลนครเชียงใหม่ในวันที่ 19 กันยานยน ทั้งนี้ตลอดงานมีตำรวจทั้งในและนอกเครื่องแบบกว่า 1 กองร้อยมารักษาความปลอดภัย ซึ่งหลังเสร็จพิธีคนทั้งหมดได้แยกย้ายกันกลับโดยไม่มีเหตุการณ์รุนแรงใดๆ เกิดขึ้น


ที่มา: ประชาไท

รายงาน:จากปากคำผู้ต้องหาหญิง คดีเผาศาลากลางจ.อุดรธานี

เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม ศกนี้ ได้มีการปล่อยตัวผู้ต้องหาจำนวน 28 คนจาก 29 คนที่ครบกำหนดฝากขังถึง 7 ครั้งรวม 84วัน ยังเหลือผู้ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำกลางจ.อุดรธานีอีก 16 คน ที่ยังไม่ได้รับสิทธิในการประกันตัวใดๆทั้งสิ้น เพราะถูกตั้งข้อหาหนัก 3 ฐานความผิด กล่าวคือ เผาศาลากลาง ,ร่วมกันทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานและบุกรุกสถานที่ราชการ

แม้จะมีการจำแนกผู้ต้องหา 28 คนออกมาและปล่อยตัวออกมาให้เป็นอิสระ โดยตั้งเงื่อนไขเพียงให้ผู้ที่ได้รับการปล่อยตัวต้องไปรายงานตัวทุกวันที่ 15 ของเดือนจนกว่าจะมีการยกเลิกพ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ผู้ที่ได้รับการปล่อยตัวและญาติพี่น้องพากันยินดีปรีดากับอิสรภาพของแต่ละ คน เช่น นางจันทร์ เทพสาร รองประธานอสม.สถานีอนามัยจำปา ตำบลเชียงยืน ที่ในวันเกิดเหตุได้ซ้อนท้ายมอเตอร์ไซด์เพื่อนบ้านที่กำลังจะออกไปรับลูกที่ โรงเรียน เพื่อไปซื้อกับข้าวในตลาด ผ่านทางไปศาลากลางเห็นไฟไหม้ศาลากลางอยู่ เข้าร่วมมุงดูเหตุการณ์พร้อมกับคนจำนวนมาก และร่นไปถึงสำนักงานเทศบาลที่ถูกไฟไหม้ด้วย จนปะกับนางเพียง ชาวพ่อค้า นางประกาย วรรณศรี นางวิไล ธาตุไพบูลย์ซึ่งเป็นคนบ้านเดียวกันและขวนกันนั่งรถประจำทางออกมา ซื้อของในเมืองแล้วเดินมาดูเหตุการณ์ไฟไหม้ศาลากลางเช่นกัน
แม่บ้านกลุ่มนี้พากันเดินหาทางออกจากการตีโอบของเจ้าหน้าที่ผู้ ถืออาวุธเข้าสลายกลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อแดง รวมทั้งบรรดาไทยมุงลาวมุงทั้งหลายที่พากัน “ไปดูไฟไหม้ศาลากลาง”
ระหว่างทางนางจันทร์ได้พบกับคุณนายรัศมีขับรถผ่านมา เห็นหน้าก็รู้จักหน้าว่าคุณนายรัศมีเป็นคนจากหมู่บ้านใกล้เคียงกัน ขออาศัยติดรถออกมาด้วยกัน จะด้วยความตกใจที่ถูกเจ้าหน้าที่กระชับพื้นที่ เข้ามา ประกอบกับพบคันกองดินกีดขวางการขับรถผ่านออกมาไม่ได้ คุณนายรัศมีขับรถโหลดเตี้ยวนเวียนหาทางออกไม่ได้ จนในที่สุดทั้งหมดถูกจับกุมขังไว้ที่ค่ายทหารแห่งหนึ่งก่อนนำตัวส่งเข้า เรือนจำนานถึง 84 วัน
ป้าจันทร์ในวัย 56ปี ได้เคยตั้งคำถามกับผู้เขียนที่เข้าไปเยี่ยมในเรือนจำว่า “คุก ไม่ใช่ที่ที่พวกเราต้องเข้ามาอยู่ ถึงเราจะจน เราก็มีบ้านอยู่ มีที่นอน ที่กิน ทำไมต้องเอาเรามาขังไว้ เราทำผิดตรงไหน ?”
แกต้องทุกข์ทรมานมากกว่าผู้อื่นตรงที่ ต้องอดหมาก เมื่อเสื้ยนหมากมากๆ เพื่อนร่วมชะตากรรมก็จะปลอบใจป้าจันทร์อย่างขื่นๆว่า ไม่เป็นไร ถือเสียว่า ป้าต้องอดหมากเพื่อประชาธิปไตยก็แล้วกัน
เมื่ออกจากคุกมาได้ เราถามว่าป้าอดหมากตัดหมากได้ไหม แกรีบบอกว่า “ออกมาได้ฉันต้องคว้าหมากกินก่อนอื่น อดมาตั้ง 3 เดือน”
คนที่ได้ออกมาจากคุกบอกเล่ากับผู้เขียนว่ารู้สึกกังวลใจเป็นห่วงชะตากรรมของ คนอีก 16 คนที่ต้องทุกข์ทรมานอยู่ในเรือนจำกลางอุดรธานีที่แออัดยัดเหยียดด้วยนักโทษ เด็ดขาดและผู้ต้องหาถึง 2,400คน บนพื้นที่ 18 ไร่ โดยเฉพาะผู้ต้องขังหญิงอีก 4 รายที่ถูกขังรวมกับผู้ต้องโทษคดีอื่นๆในสภาพที่อาจทำให้เสียจริต กระทั่งบางคนเคยคิดจะฆ่าตัวตายเพื่อหนีให้พ้นจากสภาพความเลวร้ายที่ทนไม่ได้ …
ผู้เขียนได้เข้าไปรับฟังคำบอกเล่าจากปากของผู้ต้องหาหญิงที่ยัง ไม่ได้รับการปล่อยตัวอีก4คน และขออนุญาตนำเรื่องราวของ ผู้ต้องหาหญิง 3 คน แจ้งให้คนภายนอกได้รับรู้
นางรัศมี อายุ 50 ปีในเย็นวันเกิดเหตุได้ขับรถออกมาเพื่อรับหลานชายที่โรงเรียน ชาวบ้านที่ รู้จักนางรัศมี จะเรียกว่า “คุณนาย” และรู้กันว่า คุณนายรัศมีเป็นคนรักสวยรักงาม เมื่อตกอยู่ในสภาพที่ต้องปรับตัวด้วยความยาก ลำบากกับการอาบน้ำวันละไม่กี่ขันภายในเวลาที่กำหนดไม่กี่นาที นางรัศมีได้ เล่าให้ผู้เขียนฟังพร้อมน้ำตาที่ไหลอาบแก้มตลอดเวลาว่า
"คุณยายไม่ได้รับส่ง หลานไม่ได้ไปโรงเรียน สถานที่อยู่ลำบากมากนอนกินน้ำตาทุกคืน ห้องน้อยๆ ยาว 8 x 20 ม. นอนตั้ง 200 คน วันนั้นบ่าย3 ขับรถออกไปรับหลานชายที่โรงเรียน ขับรถผ่านถนนไพธิศรี แวะจอดรถฟังปราศรัย แล้วออกมาฝั่งโน้นแล้ว เขายิงกันมาก็จอดรถไม่ได้ คนวิ่งหนีออกมาจากฝั่งโน้น ตกใจเจอคนตำบลเดียวกันเข้าวัดเข้าวาสายเดียวกันในการทำบุญ ก็เลยเรียก วิลัย เพียง จันทร์ ประกาย ขึ้นรถคันเดียวกัน กลัวถูกกระสุน จึงขับรถวนเวียน เพราะออกไม่ได้ เป็นเขตก่อสร้าง รถโหลดเตี้ยวิ่งขึ้นไม่ได้ เราสอบถามเส้นทางจากตำรวจ ทหารก็ล็อกตัวไว้ วันนั้นถูกจับเอาไปขังที่ค่ายทหาร 2 คืน วันที่ 21 มาเรือนจำมีเจ้าหน้าที่ศาล มีผู้พิพากษามาอ่านว่าพวกเราร่วมเผา อ่านให้เราฟัง เขาบอกว่าผิด พรก. เฉยๆไม่มีข้อหวาดกลัวอะไร ถูกปรับไม่มากมาย โทษเท่ากับเล่นไฮโล ทุก วันนี้เรารู้ว่าหลอกพวกเราให้ลงชื่อ แต่เราอ่านแล้วรู้ว่าหลงกลเพราะมีทางเพิ่มข้อหาเราหนักหนา ขนาดเราไม่เซ็นต์ก็หาว่าหัวหมอ หัวแข็ง ถ้าว่าเราร่วมชุมนุม จะฟ้องเราแค่นี้เราก็ยอมรับ เพราะเรามาดูมาฟังการชุมนุมจริงในวันนั้น แต่เราไม่ได้ทำลายหรือเผาศาลากลางตามที่กล่าวหา ”
คุณนายรัศมี มีอาการปวดท้องจากเนื้องอกในมดลูกที่แพทย์กำลังจะนัดผ่าตัด จึงเชื่อได้ว่า คุณนายคงไม่หลบหนีหรือไปก่อเหตุวุ่นวายใดๆทั้งสิ้น ควรที่จะเมตตาปราณี อนุญาตให้ประกันตัวออกไปรักษาพยาบาลจะเป็นการดีกว่า
นางแสงเดือน เล่าว่า ถูกจับในเหตุการณ์วันที่ 19 พฤษภาคม 53 ได้เปิดวิทยุชุมชน มีเสียงพูดว่า “พี่น้องทุกแห่ง ทุกกลุ่ม ให้ออกมาช่วยกันที่หน้าศาลากลางจังหวัดอุดรฯ ” ตนเองไม่คิดว่าจะออกไปต่อต้านใดๆ เพียงแต่อยากออกไปดู มีคนเยอะไหม พอที่จะเอาไอศกรีม ที่ตนเองและลูกไปจำหน่ายขายเป็นประจำ ไปถึงแล้วได้เดินไปดูเต้นท์ต่างๆ และฟังผู้ประกาศไมค์ ที่หน้าศาลากลาง ยืนฟังว่าเ ขาพูดอะไร
ขณะนั้นเกิดเหตุการณ์ชุมนุมในศาลากลางไม่รู้อะไรเกิดขึ้น ก็ยังยืนดูอยู่หน้าศาลากลางพักหนึ่งก็ออกไปซื้อยาหม่องมาดม กลับมาไฟไหม้หมดแล้ว ก็ยืนดูขณะนั้นไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร คิดว่าไม่ได้ทำผิดอะไร จึงไม่ได้หลบหนี ขณะนั้นมีผู้ชายที่กำลังจะปีนกำแพงแถวร้านข้าวต้มกันเอง ฉันยืนอยู่ใกล้ชายคนดังกล่าว จึงโดนจับไปด้วย เขาตั้งข้อกล่าวหาผิด พรก.ฉุกเฉิน และร่วมกันวางเพลิง
ทหารได้พาฉันไปที่กักขังที่ค่ายทหารบังคับให้รับสารภาพว่า ฉันเป็นคนบอกว่าเผาเลย ฉันไม่ยอมรับเพราะไม่ได้พูดคำดังกล่าว และไม่มีในความคิดของฉันเลย”
นางแสงเดือนอยู่ในค่ายทหาร 2 วัน นำมาฝากขังที่เรือนจำกลางอุดรฯ อยู่เรือนจำมีชีวิตที่เจ็บปวดทรมาน หวาดผวาที่สุด โดยเฉพาะข้อกล่าวหาของผู้มีอำนาจรัฐ และจิตใจคิดถึงลูกที่ต้องดูแล และแม่ที่แก่แล้ว สามีก็ไม่มี ดูแลลูกคนเดียวมาตั้งแต่เล็ก ที่สำคัญแม่ไม่ได้ทำความผิด ทำไมต้องถูกจับความยุติธรรมไม่มีสำหรับเรา และยังต้องมาคิดห่วงลูกในคดีที่โดนเขาเอาน้ำร้อนสาดทั้งตัว (หัวลงมาหน้า) ขณะที่อยู่ในเรือนจำถึงวันที่ลูกขึ้นศาล ลูกก็ไม่มีใคร ไม่มีแม่ให้ความอบอุ่น มีแต่เด็กขึ้นศาลตามลำพัง ส่วนที่รักษาลูกไปก็รักษาเป็นปีกว่าลูกจะได้ขนาดนี้ และยังไม่ได้รับค่าเสียหายเลย ฉันใคร่ขอความเป็นธรรมทุกที่ แต่สุดท้ายก็ไม่มี ในเวลาที่คิดถึงลูก ฉันอยากขอความเป็นธรรมให้โอกาสได้กลับไปดูแลลูกที่ไม่มีใครดูแลเลย
นางปัทมาวดี อายุ 48 ปีได้เข้ามอบตัวทันทีที่ตำรวจโทรศัพท์ตามให้ไปพบในวันที่ 26 พ.ค.2553 ถูกตั้งข้อหากระทำความผิดตามพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ,ร่วมวางเพลิง,เป็นผู้ปลุกระดม ผู้ร่วมประกาศ โฆษณา “ ข้อกล่าวหาทั้ง 4 ข้อ ดิฉันให้การปฏิเสธ ซึ่งโดยความเป็นจริงแล้ว ยอมรับว่าได้ถือไมค์จริง แต่เป็นการแสดงความคิดเห็นทางความคิด ในฐานะคนไทยคนหนึ่งเท่านั้น แต่ถูกถ่ายรูป เคยยื่นการขอประกันตัวแต่ไม่ได้รับอนุญาตเพราะ เกรงหลบหนี ขอยืนยันว่าไม่เคยคิดเลย ไม่เช่นนั้นดิฉันไม่มามอบตัวทำไม”
ดีเจผู้นี้ได้บอกว่า “ ดิฉันต้องการให้ได้รับทราบข้อมูลจากผู้ถูกกล่าวหา ในฐานะคนไทยคนหนึ่งในการแสดงทรรศนะทางการเมือง หากถือว่าเป็นความผิด ต้องขอถามต่อว่าประเทศไทยของเราปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยหรือไม่ ทำไม คนเสื้อแดงถึงถูกติดตามจับกุมโดยไม่ลดละโดยส่วนใหญ่ที่ถูกควบคุมตัวในเรือน จำเวลานี้เป็นชาวบ้านธรรมดา ที่อยากรู้อยากเห็น ไปมุงดูเหตุการณ์แล้วก็ถูกทหารกวาดต้อนมา บางคนไปขายของในที่ชุมนุมทั้งสามีและภรรยา ถูกควบคุมตัวมา ถามว่าครอบครัว ลูกเต้า พ่อแม่ที่ไม่มีใครดูแล เมื่อขาดเสาหลักใครจะรับผิดชอบ
ใคร่ขอวิงวอนให้ท่านช่วยพวกเราด้วย ในแง่ของความเป็นจริง ถ้ากฎหมายศักดิ์สิทธิ์จริง ก็ควรจะให้ความเป็นธรรมแก่คนเสื้อแดงบ้าง อย่างน้อยก็เปิดโอกาสให้เขาได้ต่อสู้ตามกระบวนการ และขั้นตอนของกฎหมาย ถูกก็ว่ากันไปตามถูก ผิดก็ว่ากันไปตามผิด และควรจะให้เขาได้ประกันตัวออกไปพบกับครอบครัวลูกเมียที่รออยู่
พวกคุณทราบหรือไม่ว่า การถูกควบคุมตัวอยู่ในเรือนจำนั้น พวกเราเจอกับอะไรบ้าง มันมีความกดดันมากมายขนาดไหน ที่จะต้องมาใช้ชีวิตกับผู้ต้องขังคดี ยาเสพติด หรือคดีฆ่า อีกทั้งยังมีสายตาของผู้ต้องขัง ที่ไม่เคยรู้ข่าวความข้อเท็จจริงภายนอก พวกเขามองว่าพวกเราเป็นพวกเผาบ้านเผาเมือง เจ็บปวดมาก ผู้ถูกกล่าวหาหลายคนเริ่มมีอาการทางประสาท มีความหวาดระแวงและและขาดความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน อีกทั้งการกินอยู่หลับนอนก็แออัด ยัดเยียด
ในวันเกิดเหตุเวลา 11.00 น.ได้เดินทางไปร่วมสังเกตการณ์การชุมนุมที่หน้าศาลากลางจังหวัดอุดรฯ ในฐานะประชาชนคนหนึ่ง แต่ด้วยวิญญาณของนักจัดรายการวิทยุ ดิฉันก็ได้ร่วมแสดงความรู้สึกในทรรศนะของตัวเอง เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในกรุงเทพฯในขณะนั้น เพียงแต่ต้องการให้เสียงของคนตัวเล็กๆได้ดังไปถึงนายอภิสิทธิ์ ว่าให้ยุติการกระทำในการล้อมปราบประชาชนเสีย คำกล่าวในการบันทึกเสียงไม่มีการปลุกระดมแต่อย่างใด ภายหลังดิฉันทราบมาว่า มีคนโยนความผิดมาให้ โดยกล่าวหาว่าดิฉันเป็นแกนนำ ขอเรียนความตรงว่า ดิฉันไม่มีมวลชน ดิฉันไปสังเกตการณ์เพียงคนเดียว จอดรถไว้ที่ศาลเจ้าปู่เจ้าย่า ในสนามทุ่งศรีเมืองอุดรธานี ถือไมค์ประกาศที่หน้าศาลากลางไม่ถึง 10 นาที ดิฉันกลับบ้านก่อนเที่ยงในขณะนั้นยังไม่มีเหตุการณ์เผาศาลากลางเลย ”
ผู้หญิงทั้งสี่คน เป็นคนไทย อยากให้ผู้มีอำนาจได้รับรู้ ไม่ว่าเธอจะผิดหรือถูก จะให้อภัยกันไหม ผิด – ถูก ว่ากันทีหลัง พวกเธอไม่มีทางเลือก ไม่มีโอกาสเตรียมตัวสู้คดี ช่วยเถอะ ช่วยให้โอกาส ถ้าไม่ผิดต้องให้ความยุติธรรม ถ้าผิด ก็ให้โอกาส ให้อภัยกันได้ไหม
############################################################

หมายเหตุ:เผยแพร่ครั้งแรกใน"มติชนสุดสัปดาห์"ปีที่ 30 ฉบับที่ 1567 (27 ส.ค.-2 ก.ย.2553)