วันเสาร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2553

รายงานมุกดาหาร:เรื่องเล่าจากหลังลูกกรงของสองชีวิตที่ถูกจับกุม

“ไปชุมนุมเพราะอยากเรียกร้องประชาธิปไตย ไม่อยากให้มี 2 มาตรฐาน ไม่อยากให้รัฐบาลฆ่าประชาชน ไม่ได้คิดว่าจะมีการเผาศาลากลาง”

เป็นถ้อยคำที่ลอดผ่านลูกกรงออกมาแสดงถึงเจตจำนงในการออกมาร่วมชุมนุมของ คนรากหญ้าที่ถูกชนชั้นนำตราหน้าว่าไม่มีการศึกษา ไม่รู้จักประชาธิปไตย ถูกจ้างมา

ทองมาก คนยืน และพวกอีก 25 คน ถูกจับในข้อหาร่วมกันบุกรุกและวางเพลิงเผาอาคารศาลากลางจังหวัดมุกดาหาร จำนวน 2 หลัง อันเป็นสาธารณสถานและสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ในวันที่ 19 พฤษภาคม ที่ผ่านมา จนศาลากลางดังกล่าวเสียหาย คิดเป็นเงินจำนวน 85,000,000 บาท (แปดสิบห้าล้านบาท)

แต่ก่อนที่จะโดนจับกุมตัวในวันเกิดเหตุ ทองมากและผู้ร่วมชุมนุมที่ถูกจับกุมตัวเช่นกันถูกเจ้าหน้าที่ที่เข้าสลายการ ชุมนุมหลังอาคารศาลากลางทั้งสองหลังถูกไฟไหม้แล้ว ทำร้ายด้วยการใช้กระบองตี บางคนถูกเตะ ถูกเหยียบ จนได้รับบาดเจ็บ จากนั้นก็จับพวกเขายัดใส่รถคุมขังไว้หน้าศาลากลาง 2 คืน 1 วัน และนำไปฝากขังที่เรือนจำมุกดาหารในวันที่ 21 พฤษภาคม

ทองมากเล่าถึงเหตุการณ์ในวันนั้นว่า เขากับเพื่อนบ้านซึ่งอยู่ที่บ้านโคกสว่าง อ.ดอนตาล ได้ทราบข่าวจากวิทยุในตอนเช้าว่า ทหารกำลังเข้าสลายการชุมนุมที่ราชประสงค์ มีผู้ชุมนุมเสียชีวิต จึงได้เดินทางมาพร้อมกับเพื่อนบ้านประมาณ 10 คน เข้าไปที่ศาลากลางจังหวัดมุกดาหาร หวังจะไปเรียกร้องความเป็นธรรมกับผู้ว่าราชการจังหวัด เมื่อไปถึงศาลากลางก็เข้าร่วมการชุมนุมอยู่บริเวณถนนข้างศาลากลาง

ประมาณ 11 นาฬิกา ผู้ชุมนุมบางส่วนได้พังรั้วเข้าไปชุมนุมในบริเวณศาลากลาง เนื่องจากการเจรจาขอเข้าไปชุมนุมในบริเวณศาลากลางกับรองผู้ว่าฯ ไม่เป็นผล รองผู้ว่าฯ ปฏิเสธข้อเรียกร้องด้วยท่าทีที่ทำให้ผู้ชุมนุมไม่พอใจ ทองมากและเพื่อนได้ตามเข้าไปในบริเวณศาลากลางด้วย ขณะนั้นการชุมนุมยังเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ไม่มีเหตุการณ์รุนแรงใดๆ เกิดขึ้น

ช่วงเที่ยงทองมากได้ออกจากศาลากลางไปพบเพื่อนที่อยู่ในตัวเมืองมุกดาหาร และกลับมาอีกครั้งประมาณบ่ายสอง พบว่าไฟกำลังไหม้อาคารศาลากลางอยู่ จึงนั่งดูเหตุการณ์อยู่นอกรั้ว พร้อมทั้งรอเพื่อนบ้านมาสมทบเพื่อเดินทางกลับบ้าน

เมื่อเจ้าหน้าที่เจ้าหน้าที่สลายการชุมนุมโดยใช้กระบองไล่ตีผู้ชุมนุม ด้านในรั้วออกมาถึงบริเวณที่ตนกับเพื่อนนั่งอยู่ก็เข้ามาตีและจับกุมทองมาก กับเพื่อนด้วย ตัวทองมากเองนั้นโดนกระบองตีที่ขาจนเดินไม่ไหว และบวมในเวลาต่อมา ส่วนเพื่อนบ้านที่นั่งอยู่ด้วยกัน บ้างก็ถูกตี บ้างก็ถูกเหยียบ และถูกจับกุมรวมทั้งสิ้น 5 คน ในจำนวนนี้มีเด็กผู้ชายอายุ 15 ปี ที่ตามพ่อไปดูเหตุการณ์ แล้วโดนจับกุมด้วย

หลังจากถูกควบคุมตัวอยู่ในเรือนจำนานเกือบ 3 เดือน โดยไม่ได้รับอนุญาตให้ประกันตัว ในที่สุดอัยการก็ยื่นฟ้อง ทองมากและเพื่อนผู้ต้องหาด้วยกันจึงได้รับรู้ข้อหาที่พวกเขาโดนจับกุมอย่าง ชัดเจน หลังจากที่เข้าใจมาโดยตลอดว่าทุกคนโดนข้อหาวางเพลิง 7 คน โดนข้อหาบุกรุกสถานที่ราชการ ส่วนทองมากและผู้ต้องหาที่เหลือรวม 19 คน โดนข้อหาบุกรุกและร่วมกันวางเพลิงเผาศาลากลาง คนที่โดนข้อหาบุกรุกสถานที่ราชการเพียงข้อหาเดียวได้รับการปล่อยตัวชั่ว คราว(ประกันตัว)

เมื่อเพื่อนบ้านที่ถูกจับด้วยกันถูกตั้งข้อหาบุกรุกและได้รับการประกัน ตัวไป ปัญหาที่คาอยู่ในใจของทองมากมาตลอดเวลา 3 เดือนในเรือนจำก็เพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ “ตำรวจมีหลักฐานอะไร ทำไมถึงตั้งข้อหาวางเพลิงให้ผม ตอนไฟไหม้ผมก็อยู่ข้างนอก เพื่อนถูกจับด้วยกันที่นอกรั้วยังโดนแค่บุกรุก หรือว่าผมใส่เสื้อสีดำ เขาเลยคิดว่าผมเป็นการ์ดหรือเปล่า ทั้งตัวผมก็ไม่มีอะไรวันนั้น ผมสะพายถุง(ย่าม)ใส่ก่อง(กระติ๊บ)ข้าวเท่านั้น”

ทองมากในวัย 44 ปี พกพาเอาโรคไตอักเสบเข้าไปในเรือนจำด้วย ก่อนหน้านั้นเขาเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลดอนตาล หมอนัดผ่าตัดตั้งแต่ปีที่แล้ว แต่เจ้าตัวไม่กล้า ได้แต่ไปเอายามากิน ทุกวันนี้ปวดเอวมาก โดยเฉพาะเวลานอน อาศัยกินยาแก้ปวด หรือไม่ก็ฝากซื้อยาจากข้างนอก และให้เพื่อนช่วยนวดให้ทุกวันจึงนอนได้

“ผมอยากได้รับการประกันตัวไปสู้คดีอยู่ข้างนอก จะได้รักษาตัวด้วย อยู่ในนี้ผมกลัวว่าถ้าผมเป็นอะไรหนักตอนกลางคืน ผมอาจตายอยู่ในคุกได้ เพราะไม่มีใครพาไปโรงพยาบาล เมื่อเดือนก่อนมีผู้ต้องหาคดียาเสพติดไส้ติ่งอักเสบ ปวดตั้งแต่ค่ำ ไม่มีใครกล้าพาไปโรงพยาบาล ปวดอยู่จนตี 1 ไส้ติ่งแตกก็เสียชีวิต”

“เมียผมก็เป็นโรคหัวใจ ลูกสาวก็ป่วยเป็นร่อย(แขนขาไม่มีแรง) ทำงานไม่ได้ ซ้ำตอนนี้น้ำก็ท่วมบ้านอีก ผมต้องการแค่สิทธิในการได้รับการประกันตัว เพื่อออกไปดูแลพวกเขา” ทองมากย้ำถึงความต้องการเป็นครั้งสุดท้ายก่อนจะถูกนำตัวจากคุกใต้ศาลกลับสู่ เรือนจำมุกดาหารอีกครั้งพร้อมกับเพื่อนๆ ที่ยังไม่ได้รับการประกันตัว

ในอีกฟากหนึ่งซึ่งแยกขังผู้ต้องหาหญิง บุญเทียน รูปสะอาด ผู้ต้องหาหญิงเพียงหนึ่งเดียวในคดีบุกรุกและวางเพลิงเผาอาคารศาลากลาง จังหวัดมุกดาหารก็ส่งเสียงร้องขอสิทธิในการประกันตัวเช่นกัน

บุญเทียน รูปสะอาด เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหมู่ 15 ต.โพนทราย อ.เมือง จ.มุกดาหาร ในวันเกิดเหตุมีคนในหมู่บ้านเดินทางมาชุมนุมที่ศาลากลางจำนวนหลายคน เธอจึงได้รับมอบหมายจากผู้ใหญ่บ้านให้มาช่วยดูแลลูกบ้าน ทั้งหมดมาถึงศาลากลางประมาณ 10 โมงครึ่ง บุญเทียนทำหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายมาเป็นอย่างดี เธอคอยห้ามปรามทั้งลูกบ้านและผู้ร่วมชุมนุมคนอื่นไม่ให้ทำอะไรที่จะเป็นเหตุ ให้การชุมนุมเกิดเหตุการณ์รุนแรง แต่เมื่อไฟลุกไหม้อาคารศาลากลางจนยากที่จะควบคุมได้แล้ว บุญเทียนและลูกบ้านจึงชวนกันกลับในเวลาประมาณบ่ายสาม ขณะที่เจ้าหน้าที่ยังไม่ได้เข้าสลายการชุมนุม

1 เดือนเศษต่อมา ตำรวจไปควบคุมตัวเธอมาจากบ้าน โดยมีภาพในหมายจับเป็นรูปเธอใส่เสื้อสีแดงนั่งอยู่บนกองยางรถยนต์ที่กองอยู่ ในบริเวณศาลากลาง

“เรานั่งอยู่บนกองยางก็จริง แต่ไม่ได้ทำอะไร แถมยังเป็นคนห้ามไม่ให้เขาจุดไฟเผายาง และกองยางในภาพก็ไม่ได้ถูกเผา แต่เราโดนจับ โดนขังมา 2 เดือนแล้ว ยื่นประกันหลายครั้งแล้ว ก็ไม่ได้ประกัน พวกที่โดนจับมาทั้งหมดนี่ก็ไม่ได้เผา ไอ้คนเผาจริงก็ไม่ถูกจับ ไม่รู้ยังไงกัน”

“ฉันต้องการแค่ได้ประกันตัวไปสู้คดีอยู่ข้างนอก อยู่ในนี้ก็ไม่รู้จะสู้ยังไง มีโรคประจำตัวด้วย ทำให้ความเป็นอยู่ค่อนข้างลำบาก ซ้ำยังเป็นผู้หญิงคนเดียว โดนแยกไปขังอยู่กับผู้ต้องหาคดีอื่น ส่วนใหญ่เป็นคดียาเสพติด เขาก็ไม่รู้อะไรเรื่องเสื้อแดง ไม่รู้จะระบายกับใคร อึดอัดมาก” เป็นความในใจที่ระบายออกมาของผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหญิงวัย 37 ปี แม่ของลูก 2 คน จากหลังลูกกรงใต้ศาลจังหวัดมุกดาหาร

นี่เป็นเพียงเสียงของ 2 ใน 19 ผู้ต้องหาคดีเผาศาลากลางจังหวัดมุกดาหาร และเป็นเพียงเสียงของผู้ต้องหา 2 คนในจำนวนนับร้อยที่ได้รับการลงโทษ จับกุมคุมขังในสิ่งที่เขาไม่ได้กระทำ หรือกระทำในสิ่งที่เป็นสิทธิที่ได้รับการรับรองอยู่ในรัฐธรรมนูญแห่งราช อาณาจักรไทย อีกทั้งยังไม่ได้รับสิทธิในการปล่อยตัวชั่วคราวเพื่อแก้ข้อกล่าวหาอย่างเป็น ธรรม ในวันนี้ถึงแม้ความไม่เป็นธรรมที่พวกเขาได้รับจะทำให้พวกเขาและครอบครัว ทุกข์ทน แต่มันก็เป็นสิ่งที่ตอกย้ำให้พวกเขา แม้กระทั่งเราเชื่อมั่นว่าการต่อสู้เพื่อให้ความเป็นธรรมเกิดขึ้นในสังคมไทย นั้นจะต้องสานต่อให้บรรลุผลต่อไป

ที่มา: ประชาไท

วันศุกร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2553

นักโทษ พ.ร.ก.ฉุกเฉินในกรุงเทพฯ ความผิด? ความจน? และการถูกลืม?

เป็นเวลาเกือบ 4 เดือนแล้วหลังการสลายการชุมนุมของคนเสื้อแดงเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม นอกเหนือจากผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิต ยังมีผู้ถูกจับกุมอีกจำนวนมาก บางส่วนถูกปล่อยตัวแล้ว บางส่วนได้รับการประกันตัว แต่มีคนอีกไม่น้อยที่ยังอยู่ในเรือนจำจนทุกวันนี้ แม้หลาย หน่วยงานจะพยายามเรียกร้องให้มีการเปิดเผยจำนวนและรายชื่อของผู้ถูกคุมขัง ทั้งหมด แต่ข้อมูลมากที่สุดเท่าที่มีตอนนี้คงเป็นดังที่ พ.อ.เฟื่องวิชชุ์ อนิรุทธเทวา เลขานุการ รมว.ยุติธรรม ชี้แจงว่า ปัจจุบันยังมีผู้ที่อยู่ในเรือนจำทั้งสิ้น 209 คน

โดยกรมราชทัณฑ์แบ่งผู้ถูกคุมขังเป็น 4 ประเภท คือ 1)อยู่ระหว่าง

สอบสวน ศาลยังไม่ตัดสินในเรือนจำทั่วประเทศ 169 คน 2)คดีตัดสินเด็ดขาด 12 คน 3) กักขังแทนค่าปรับ 2 คน 4)อยู่ระหว่างอุทธรณ์ฎีกา 26 คน

สำหรับสถานที่กักขังนั้น

แยกเป็น เรือนจำพิเศษธนบุรี 1 คน เรือนจำกลางคลองเปรม 17 คน เรือนจำพิเศษพัทยา 1 คน เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานครที่ควบ คุมแกนนำ นปช.รวม 53 คน ทัณฑสถานหญิงกลาง 4 คน เรือนจำกลางเชียงราย 6 คน เรือนจำจังหวัดนนทบุรี 6 คน เรือนจำกลางขอนแก่น 9 คน เรือนจำจังหวัดมุกดาหาร 22 คน เรือนจำอำเภอธัญบุรี 2 คน เรือนจำกลางนครปฐม 2 คน เรือนจำกลางเชียงใหม่ 7 คน เรือนจำกลางสมุทรปราการ 2 คน เรือนจำกลางอุดรธานี 25 คน เรือนจำจังหวัดมหาสารคาม 11 คน เรือนจำกลางอุบลราชธานี 35 คน

คนเหล่านี้ส่วนใหญ่ถูกแจ้งข้อหาอื่นๆ เพิ่มเติมอีก นอกเหนือจากข้อหาพื้นๆ อย่างการชุมนุมเกิน

5 คน ทั้งข้อหาวางเพลิงเผาสถานที่ราชการ การมีอาวุธสงครามในครอบครอง ฯลฯ ขณะเดียวกันเมื่อสำรวจตามเรือนจำต่างๆ จะพบว่ามีคนจำนวนมากทั้งที่ยอมรับสารภาพหรือให้การปฏิเสธยังคงไม่มีทนาย เพื่อต่อสู้คดี แม้พรรคเพื่อไทยได้ให้การช่วยเหลือด้านทนายความให้บางส่วนแล้วก็ตาม


ภาวิณี ชุมศรี ทนายความสิทธิมนุษยชน เดินทางเข้าเยี่ยมผู้ต้องขัง 10 คน ที่เรือนจำคลองเปรม เมื่อวันที่ 31 ส.ค.ที่ผ่านมา หลังจากได้รับจดหมายขอความช่วยเหลือ ซึ่งพบว่าทั้งหมดรับสารภาพในชั้นศาลและถูกพิพากษาจำคุกโดยไม่รอลงอาญา ในจำนวนนี้มีส่วนที่คดีอยู่ระหว่างอุทธรณ์ 3 คน โดยในจำนวนนั้น 2 คน เป็นนักศึกษาในกลุ่มเสรีปัญญาชน ถูกจับวันที่ 16 และ 17 พ.ค. ศาลพิพากษาจำคุก 1 ปี และไม่อนุญาตให้ประกันตัวเพราะเกรงว่าจะหลบหนี

ที่เหลือเป็นคนต่างจังหวัดและไม่มีทนายความสู้คดี คาดว่าคดีคงถึงที่สุดแล้วเนื่องจากพ้นกำหนดเวลาอุทธรณ์มานาน พวกเขาได้รับโทษตั้งแต่ 6 เดือนถึง 2 ปี เช่น กรณีของนายแสวง คนโคราช ถูกจับวันที่ 18 พ.ค. บริเวณแยกมักกะสัน เดินทางมาจากแยกราชประสงค์กำลังจะข้ามไปสามเหลี่ยมดินแดง เขาเข้ามาทำงานก่อสร้างที่ กทม.นานแล้ว ไปร่วมชุมนุมคนเดียว เมื่อถูกจับก็ถูกส่งตัวมาที่ สน.พญาไท ต่อมาวันที่ 19 พ.ค.53 ไปขึ้นศาลแต่ให้การปฏิเสธ ต่อมาวันที่ 20 มิ.ย.53 ได้ให้การรับสารภาพในชั้นศาล ไม่มีทนายความสู้คดี ศาลพิพากษาจำคุก 1 ปี 6 เดือน แต่เนื่องจากเพิ่งพ้นโทษจากคดีเก่าไม่เกิน 5 ปี ศาลจึงเพิ่มโทษอีก 6 เดือน เป็นจำคุก 1 ปี 12 เดือน ส่วนญาติพี่น้องนั้นอยู่ที่ต่างจังหวัด พ่อก็แก่มากแล้ว ทางบ้านทราบว่าถูกขังแต่ไม่สะดวกมาเยี่ยม เขาพยายามเขียนจดหมายไปที่บ้าน แต่จนถึงบัดนี้ยังไม่มีใครตอบ

กรณีของนายอภิวัฒน์ เป็นคนขอนแก่น ถูกจับเมื่อวันที่ 18 พ.ค.53 รับสารภาพและศาลตัดสินในวันรุ่งขึ้น พิพากษาจำคุก 1 ปี เคยมีส.ส.จากเพื่อไทยมาเยี่ยมคนหนึ่งและให้ความช่วยเหลือแต่งทนายให้ แต่ไม่เคยได้พบทนาย เขาเดินทางเข้ามากทม.กับเพื่อน 3-4 คน และยอมรับตรงไปตรงมาว่าถูกจับบริเวณซอยรางน้ำ ขณะกำลังจะเข้าไปที่ชุมนุมที่ราชประสงค์

ปัจจุบันคณะทนายความ หนุ่มสาวอาสากลุ่มหนึ่งกำลังหาทางช่วยเหลือด้านคดีกับคนเหล่านี้ซึ่งมีฐานะ ยากจน ด้วยเหตุผลว่า อย่างน้อยที่สุด เขาก็ควรได้รับสิทธิพื้นฐานในการต่อสู้คดี


นอกจากนี้ยังมีอีกบางกรณีที่ไม่มีญาติเยี่ยม ไม่มีทนาย ไม่รู้ว่าคดีของตัวเองไปถึงไหน ไม่รู้ชะตากรรมใดๆ ข้างหน้า อย่างกรณีของสมพล อายุ
43 ปี ถูกขังอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ มา 3 เดือนกว่า โดนจับตั้งแต่วันที่ 16 พ.ค.บริเวณด่านทหารแถวจุฬาฯ การสอบถามข้อมูลเป็นไปอย่างยากลำบาก เพราะยังมีความกลัว หวาดระแวงค่อนข้างสูง เขาเล่าเพียงว่าชีวิตในเรือนจำค่อนข้างขัดสน เพราะไม่มีญาติมาเยี่ยม ไม่มีเงินในบัญชีในการใช้จ่ายส่วนตัว เคยได้รับแจกสบู่ 3 ก้อนตอนเข้ามาอยู่ใหม่ๆ ปัจจุบันต้องเก็บเศษสบู่ของคนอื่นใช้ นอกจากนี้เขายังเรียกร้องขอผงซักฟอกเป็นสิ่งจำเป็นมากในเรือนจำ

“เคยมีมาเยี่ยม พวกนี้เอาแต่ฟ้อน เบื่อมาก (หัวเราะ) ถ่ายรูปแล้วก็กลับ บอกเขาแล้วว่าไม่มีสบู่ ยาสีฟัน แฟ้บก็กำลังจะหมด เขารับปากแต่ไม่เห็นได้” สมพลกล่าวถึงข้อเรียกร้องอันไร้ผลที่มีต่อหน่วยงานด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งเคยเข้าไปเยี่ยมผู้ต้องขังข้อหาฝ่าฝืน พรก.ฉุกเฉินในเรือนจำแล้วครั้งหนี่ง

เขากล่าวด้วยว่าที่ ผ่านมาเดินทางไปศาลแขวงปทุมวันหลายครั้ง และเคยเซ็นกระดาษเปล่าครั้งหนึ่ง โดยเจ้าหน้าที่อ้างว่าทางพรรคเพื่อไทยจะตั้งทนายให้ แต่จนบัดนี้ก็ยังไม่เคยได้พบทนาย ปัจจุบันสมพลทำงานในเรือนจำในหน่วยผลิตแก้วกระดาษ ตลอด 3 เดือนที่ผ่านมา เขาได้เงินปันผลไปแล้ว 78 บาท

อีกกรณีหนึ่งคือ ประสงค์ ซึ่งทนายของพรรคเพื่อไทยได้เข้าไปสอบคำให้การแล้วครั้งหนึ่งเมื่อเดือนที่ผ่านมา ประสงค์เป็นเด็กหนุ่มอายุ 26 ปี ใส่ตาปลอมข้างซ้ายเนื่องจากตาเสียจากอุบัติเหตุตอนวัยรุ่น เขาบอกว่ามีอาชีพเก็บของเก่าอยู่ย่านดินแดง ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง อาศัยใต้ทางด่วนเป็นที่หลับนอนมาหลายปีแล้ว ก่อนหน้านี้เขาทำงานอยู่โครงการศิลปาชีพ สวนจิตรลดา ในแผนกช่างปั้น แต่ด้วยความเกเรจึงถูกส่งตัวกลับบ้านที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน แล้วก็หนีมาอยู่กทม.อีก

ประสงค์เล่าให้ฟังว่า เขาถูกทหารจับบริเวณใต้ทางด่วนดินแดงเมื่อวันที่ 21 พ.ค. ซึ่งยังคงเป็นช่วงเวลาประกาศเคอร์ฟิว และทหารกำลังเคลียร์พื้นที่บริเวณนั้น เวลาประมาณบ่ายสองเขารู้สึกหิวจึงเดินออกมาหาข้าวกินแถววัดสะพานแล้วจึงถูก ทหารจับ พร้อมกับคนอื่นๆ ในบริเวณเดียวกันอีก 5 คน จากนั้นถูกมัดมือไขว้หลัง แล้วให้คุกเข่าตรงกองอาวุธไม่ว่าจะเป็นระเบิด ปืน ขวดน้ำมัน เพื่อให้นักข่าวถ่ายภาพ เขายืนยันว่านั่นเป็นครั้งแรกที่ได้เห็นอาวุธเหล่านั้น ก่อนหน้านั้นเขาไปร่วมชุมนุมบ้างเหมือนกันโดยไปช่วยแจกน้ำตามเต๊นท์และได้ ข้าวกินฟรี

ประสงค์บอกด้วยว่า ขณะถูกทหารควบคุมตัวนั้นเขาพยายามดิ้นและถูกซ้อม ก่อนจะถูกจับส่งตำรวจในพื้นที่ เขาถูกตั้งข้อหาฝ่าฝืนพรก.ฉุกเฉิน และมีอาวุธไว้ในครอบครอง เขาให้การปฏิเสธทุกข้อหาและจะขึ้นศาลนัด แรกในวันที่ 27 ก.ย.นี้

ที่มา ประชาไท

ไทยรัฐสัมภาษณ์ทักษิณ เผยถ่ายรูปกับแมนเดลาเมื่อศุกร์ที่แล้ว

ไทยรัฐออนไลน์ นำเสนอบทสัมภาษณ์ทักษิณ ชินวัตร ภายหลังถูกวิจารณ์เรื่องความสมจริงของรูปถ่ายกับเนลสัน แมนเดลา เผยทำเหมืองเพชรอยู่แอฟริกา มีคนสร้างเรื่องโกหกกรณีป่วย รำคาญถูกกล่าวหาเรื่องเป็นที่ปรึกษาฮุนเซน บอกตนไม่มีอนาคตทางการเมือง-ไม่กลับไทยก็ได้ขอให้บ้านเมืองปรองดองเลิกกลั่น แกล้งกัน

2 ก.ย. 2553 - เว็บไซต์ไทยรัฐออนไลน์ นำเสนอบทสัมภาษณ์ทักษิณ ชินวัตร ภายหลังจากนายนพดล ปัทมะที่ปรึกษากฎหมายตระกูลชินวัตร นำรูปถ่ายล่าสุดของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ถ่ายรูปคู่กับ นายเนลสัน แมนเดลามาเปิดเผยกับสื่อมวลชนแต่กลับโดนเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่า อาจจะเป็นรูปถ่ายที่ถูกปรับแต่งหรือไม่นั้น รวมทั้งกระแสข่าวเรื่องปัญหาสุขภาพ ซึ่งบทสัมภาษณ์ฉบับตัวอักษรมีดังนี้

อยากขอเรียนถามถึงความคืบหน้า ว่า ขณะนี้ท่านอาศัยอยู่ในประเทศอะไร

ผม ... เดินทางตลอดเวลา ครับ ขณะนี้อยู่ที่ทวีปแอฟริกา มาทำเหมืองเพชร อยู่

ด้านกระแสข่าวเรื่องสุขภาพ ที่มีการพูดถึงในวงกว้างว่าอาจจะกำลังป่วยหนักอยู่

คน ที่สร้างเรื่องก็โกหกมาตลอดอยู่แล้วนี่ครับ หากคนยังเชื่อการโกหกอยู่ คน ๆ นั้น ก็ควรพิจารณาตัวเองว่า ทำไมจึงยังเชื่อคนที่โกหกเราตลอดทั้ง ๆ ที่พิสูจน์แล้วว่ามันไม่จริงก็ยังเชื่ออยู่ ก็ต้องถามตัวเองแล้วว่า ตัวเองผิดปกติหรือเปล่า หรือชอบฟังนิยายโกหก คนเราใครจะพูดอะไรก็ได้ มันอยู่ที่คนฟัง พูดได้หมดครับ จะพูดไง จะโกหกยังไงก็ได้ แต่อยู่ที่คนฟัง คุณฟังเสียงผมแล้วคิดว่าผมป่วยไหม

ส่วนเรื่องที่หยุดการสนทนาผ่านทวิตเตอร์ ในระยะนี้ มีปัญหาติดขัดในเรื่องอะไรนั้น

ผม ก็อยากให้บ้านเมืองเกิดความปรองดอง ทุกคนก็ยังจะ .... จริง ๆ แล้ว หากไม่ใช่ไทยรัฐ ผมก็คงไม่พูดนะ

ด้านเหตุผลที่ลาออกจากตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฮุนเซน

คือ ผม... รำคาญ ครับ เพราะมักจะมีการกล่าวหาผม อย่างโน้นอย่างนี้ อยู่บ่อย ๆ ผมก็เลยปรึกษาท่านฮุนเซน ว่า ผมออกดีกว่าไหม มันจะได้ขี้เกียจรำคาญ ผมจะได้สบาย ๆ อีกทั้งผมเอง ก็ไม่มีเวลาให้เค้าจริง ๆ ผมไม่มีเวลาเลย เหมือนไปเอาชื่อเป็นตำแหน่งเค้า แต่ว่าไม่มีเวลา เพราะว่าผมไม่ค่อยได้ไปกัมพูชา เพราะผมเดินทางมาทำเหมือง ทำอะไรเลยไม่มีเวลา ก็เลยลาออกดีกว่า

หากนายกรัฐมนตรีฮุนเซน เชิญให้กลับมาเป็นที่ปรึกษาเศรษฐกิจอีกครั้งจะกลับมารับตำแหน่งหรือไม่

ไม่ ครับ ... อย่าเลย ขอทำเรื่องของตัวเองมั่ง อายุก็เยอะแล้วไม่ค่อยมีเวลา ทำงานให้ตัวเองดีกว่า ทรัพย์สินหามา ก็ถูกปล้นไปเกินกว่าครึ่งหนึ่ง ก็ต้องหาใหม่เพื่อสร้างหลักสร้างฐานให้ลูกต่อไป

ด้านการที่ นายกษิต ภิรมย์ เดินทางไปเจรจากับรัฐบาลมอนเตเนโกร ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับความพยายามเจรจาเรื่องส่งผู้ร้ายข้ามแดนและยกเลิก สัญชาติมอนเตเนโกร

ผมว่าคนคนนี้ เดินทางไปที่ไหนเค้าก็คงต้อนรับแต่เพียงในนาม เพราะพอคุยได้เพียงสองคำคนเค้าก็วิ่งหนีหมด และผมเองก็ไม่เคยคิดที่จะให้ความสำคัญกับคน ๆ นี้เลย

ด้านอนาคตทางการเมือง ยังปรารถนาที่จะกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกหรือไม่

ผมเป็นคนไม่มีอนาคตทางการเมือง อนาคตทางการเมืองของผม ผมขอเป็นคนของประชาชนต่อไปแค่นั้น ก็พอไม่มีอย่างอื่น

หากสามารถเดินทางกลับประเทศไทย ได้ จะเดินทางกลับมาเมื่อใด

ผม อยากกลับบ้านเกิด ตั้งแต่เมื่อวานนี้แล้ว แต่จริง ๆ แล้ว เฉย ๆ ครับ จะกลับก็ได้ ไม่กลับก็ได้ ขอให้บ้านเมืองมีความปรองดอง เลิกกลั่นแกล้งกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลั่นแกล้งกับคนที่ไม่มีกำลัง มันไม่ดีเลย เพราะมันจะสร้างความโกรธแค้นในใจให้เข้าไปลึกซึ้งยิ่งขึ้น ผมอยากขอให้เลิกเห็นคนที่เค้าไม่มีกำลังเหมือนไม่ใช่คนไทยได้แล้ว อันนี้มันเป็นนิสัยเก่า ที่เคยไปใช้สมัยโบราณแล้ว มันไม่ดี ซึ่งเมื่อยามใดที่เผด็จการครอบงำประเทศก็มักจะเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นทุก ครั้ง ซึ่งมันอันตรายต่อประเทศโดยรวม

ด้านเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในอินเทอร์เน็ตว่ารูปภาพล่าสุด ที่ถ่ายร่วมกับอดีตประธานาธิบดีเนลสัน แมนเดลา อาจเป็นภาพที่ถูกปรับแต่งขึ้น

ผม ขอยืนยันว่า รูปดังกล่าวเป็นการถ่ายเมื่อวันศุกร์ที่ 27 ส.ค.2553 เวลาประมาณ 14.00 น. ของทวีปแอฟาริกา โดย ผมถ่ายกับนายเนลสัน แมนเดลา ที่มูลนิธิของอดีตผู้นำแอฟริกาใต้ จากนั้น ในเวลาประมาณ 16.00 น. ไปถ่ายรูปกับ วินนี่ แมนเดลา ที่บ้านพักที่ใช้ในการต้อนรับนายเนลสัน หลังติดคุกอยู่นานถึง 27 ปี

โดยทางเว็บไซต์ไทยรัฐออนไลน์ เปิดเผยว่าจะมีบทสัมภาษณ์ตอนที่ 2 เรื่องเกี่ยวกับ "ความในใจของอดีตนายกรัฐมนตรี ต่อเบื้องหลังเหตุการณ์ปฏิวัติ 19 ก.ย." มานำเสนอต่อต่อในวันพรุ่งนี้

สามารถฟังเสียงบทสัมภาษณ์ได้ที่ต้นฉบับใน เว็บไซต์ไทยรัฐออนไลน์


ที่มา ประชาไท

ศาลสั่งจำคุก 'สนธิ-สโรชา' คดีหมิ่นประมาท 'ทักษิณ' ให้รอลงอาญา 2 ปี

ศาลอาญาอ่านคำพิพากษา คดีทักษิณ ฟ้อง "สนธิ ลิ้มทองกุล" ในข้อหาหมิ่นประมาท พิเคราะห์แล้วมีความผิดจริง จำคุก 6 เดือน ปรับ 2 หมื่นบาท แต่จำเลยไม่เคยถูกลงโทษจำคุกมาก่อน ประกอบกับการกระทำเป็นการเคารพต่อสถาบันให้รอลงอาญา 2 ปี

2 ก.ย. 2553 - เว็บไซต์ไทยรัฐออนไลน์ รายงานว่าศาลอาญา นัดฟังคำพิพากษา คดีที่ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นโจทก์ฟ้องนายสนธิ ลิ้มทองกุล, นางสโรชา พรอุดมศักดิ์ ผู้ดำเนินรายการทางสถานีเอเอสทีวี (ASTV) และบริษัท แมเนเจอร์ มีเดียร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (ศาลยกฟ้องและให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ) เป็นจำเลยที่ 1-3 ในความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา

โดยฟ้องว่า วันที่ 24 ส.ค. 2550 จำเลยที่ 1-2 ร่วมกันจัดรายการ ยามเฝ้าแผ่นดิน ทางสถานีโทรทัศน์เอเอสทีวี และ นสพ. ผู้จัดการรายวันของจำเลยที่ 3 ตีพิมพ์ข้อความที่จำเลยที่ 1-2 กล่าวปราศรัยให้กลุ่มพันธมิตรฯ ที่สหรัฐฯ มาเผยแพร่ ทำนองว่า นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย อดีตรองนายกรัฐมนตรี สมัยรัฐบาลของ พ.ต.ท. ทักษิณ ระบุว่า สาเหตุที่ต้องออกจากรัฐบาล เนื่องจากทนไม่ได้ที่หลังการยึดอำนาจรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2549 ประมาณ 8 ชั่วโมง พ.ต.ท. ทักษิณ ได้พูดจาบจ้วงสถาบันเบื้องสูง

สำนักข่าวไอเอ็นเอ็น รายงานว่า ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า จำเลยทั้ง 2 ไม่ได้นำสืบให้ศาลเห็นว่าการกระทำของโจทก์ เป็นการจาบจ้วงสถาบัน อีกทั้งโจทก์ยังไม่เคยถูกดำเนินคดี ในข้อหาอาฆาต มาดร้ายมหากษัตริย์ ข้อความที่จำเลยกล่าวหาโจทก์ ทำให้โจทก์เสื่อมเสียชื่อเสียง การกระทำของจำเลยทั้ง 2 ถือเป็นความผิดตามฟ้อง พิพากษาจำคุกจำเลยทั้ง 2 คนละ 6 เดือน ปรับ 20,000 บาท แต่จำเลยไม่เคยถูกลงโทษจำคุกมาก่อน ประกอบกับการกระทำเป็นการเคารพต่อสถาบัน โทษจำคุกจึงให้รอลงอาญาเป็นเวลา 2 ปี และให้เผยแพร่คำพิพากษาลงในหนังสือพิมพ์จำนวน 6 ฉบับ เป็นเวลา 3 วัน

ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์, สำนักข่าวไอเอ็นเอ็น

พี่ชาย ‘ดา ตอร์ปิโด’ ร้องเรียนอธิบดีราชทัณฑ์ กรณีเลือกปฏิบัติในเรือนจำ

1 ก.ย.53 กิตติชัย ชาญเชิงศิลปกุล พี่ชายของดารณี ชาญเชิงศิลปกุล หรือ ดา ตอร์ปิโด ซึ่งถูกศาลตัดสินจำคุก 18 ปีข้อหาหมิ่นเบื้องสูงและคดีอยู่ระหว่างการอุทธรณ์ ให้สัมภาษณ์ว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาได้เข้าร้องเรียนกับอธิบดีกรมราชทัณฑ์ กรณีเจ้าหน้าที่มีการต่อว่าด้วยวาจาหยาบคายกับดารณีและมีการเลือกปฏิบัติใน เรือนจำ โดยหากเป็นผู้ต้องขังต่างชาติทำผิดจะได้รับการผ่อนปรน ขณะที่ผู้ต้องขังชาวไทยจะถูกทำโทษอย่างเข้มงวด ทั้งนี้ อธิบดีได้รับเรื่องไว้และรับปากจะให้มีการสอบสวนต่อไป
ด้าน ดารณี กล่าวว่า ขณะนี้ยังคงได้รับผลกระทบจากอาการขากรรไกรยึดติดทำให้อ้าปากไม่ได้ แต่ยังไม่สามารถผ่าตัดได้ เนื่องจากเกร็ดเลือดต่ำ และเมื่อ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาได้เข้าโครงการบวชชีพราหมณ์เป็นเวลา 5 วัน เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับผู้เสียชีวิตจากการสลายการชุมนุมเมื่อเดือนเมษายน และพฤษภาคมที่ผ่านมา ทั้งยังแนะนำให้คนเสื้อแดงลองต่อสู้ด้วยการอโหสิกรรมแทนความเคียดแค้น ทำกิจกรรมนั่งสมาธิ สวดมนต์แผ่เมตตา อโหสิกรรมให้ศัตรูเพื่อเปลี่ยนแปลงศัตรู

มหาสารคาม:ศาลไม่ให้ประกันเสื้อแดง ผู้ว่าไม่ฟังคำขอร้องญาติผู้ต้องขัง

ทนายพร้อมครอบครัวผู้ต้องขังเข้าพบผู้ว่าสารคามขอความกรุณาออกหนังสือไม่ คัดค้านการประกันตัว ผู้ว่าฯ ปัดยังไม่เห็นสำนวน ด้านศาลมหาสารคามยังไม่ยอมไม่ให้ประกันตัว 4 ผู้ต้องขัง

31 สิงหาคม พ.ศ.2553 เวลา 10.00 น. น.ส.เบญจรัตน์ มีเทียน ทนายความได้เดินทางมาพูดคุยเพื่อเตรียมการยื่นประกัน 10 ผู้ต้องหาคดีเตรียมการวางเพลิงเผาสถานที่ราชการต่อศาลจังหวัดมหาสารคาม โดยมีญาติพี่น้องของผู้ต้องขังมาร่วมพูดคุยประมาณ20คน
น.ส.เบญจรัตน์ แจ้งต่อญาติพี่น้องของผู้ต้องขังว่า จะได้เดินทางไปขอเข้าพบ นายวีระพล สุพรรณไชยมาตย์ นายอำเภอเมืองมหาสารคาม เพื่อขอร้องให้นายวีระพลในฐานะที่เป็นผู้เสียหายในคดีดังกล่าวทำหนังสือไม่ คัดค้านการให้ประกันตัวต่อศาล โดยที่บรรดาญาติผู้เสียหายที่มาร่วมรับฟังได้ ขอติดตามไปพบเพื่อขอความเมตตาจากนายอำเภอด้วย
13.30 น. น.ส.เบญจรัตน์ ในฐานะทนายความและญาติพี่น้องผู้ต้องขังจำนวน 20คน เดินทางไปที่ยังที่ทำว่าการอำเภอเมืองมหาสารคามโดยได้แจ้งความจำนงขอเข้าพบ นายวีระพล ตามเหตุผลข้างต้น ซึ่งคณะทนายความและญาติของผู้ต้องขังได้เข้าพบนายวีระพล เมือ่เวลาประมาณ14.00 น. หลังจากที่นายวีรพล ได้ฟังนางสาวเบญจรัตน์ชี้แจงถึงวัตถุประสงค์การเข้าพบแล้ว นายวีรพลจึงได้ชี้แจงต่อนางสาวเบญจรัตน์และบรรดาญาติของผู้ต้องขังว่าตนไม่ มีอำนาจในการตัดสินใจและแนะนำให้ไปขอร้องต่อ นายทองทวี พิมเสน ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม
น.ส.เบญจรัตน์และคณะจึงเดินทางไปขอพบนายทองทวี พิมเสน ผู้ว่าฯ ที่ห้องทำงานชั้น 4 ของศาลากลางแห่งใหม่บริเวณศูนย์ราชการ อย่างไรก็ตาม นายทองทวีซึ่งออกมาพบกับคณะญาติผู้ต้องขังและทนายแสดงอาการไม่พอใจอย่าง รุนแรงและไม่ฟังคำขอร้องของ น.ส.เบญจรัตน์ จนท้ายที่สุด นายทองทวีกล่าวว่า ”ผมยังไม่ได้เห็นสำนวนของคดีและจะขอพิจารณาเป็นรายๆไป” ขณะที่ญาติผู้ต้องขังจะกล่าวให้เหตุผลเพื่อขอความเห็นใจ นายทองทวีกล่าวตัดบทว่า”ผมไม่ชอบวิธีการของพวกคุณ" พร้อมกับเดินหันหลังหนีไปและตำหนิเจ้าหน้าที่ว่า”ปล่อยให้พวกมันขึ้นมาได้ อย่างไร”
น.ส.เบญจรัตน์แสดงความเห็นต่อผู้สื่อข่าวว่า รู้สึกสงสารและเสียใจแทนญาติพี่น้องของผู้ต้องขังที่ไม่มีโอกาสในการชี้แจง ถึงสภาพปัญหาและคิดว่าผู้ว่าราชการจังหวัดน่าจะให้เวลาในการพูดคุยกับ ประชาชนและควรมีท่าทีรับฟังมากกว่านี้ นางวิจิตร ดวงพรหม ภรรยาของนายอุทัย คงหาญ ผู้ต้องขัง กล่าวว่าเมื่อได้เห็นท่าทีของผู้ว่าแล้วตนก็รู้สึกขาอ่อนหมดหวังต่อเจ้า หน้าที่บ้านเมือง ในขณะที่ญาติผู้ต้องขังอีกรายหนึ่งบอกว่า”รัฐบาลบอกว่าจะ ปรองดองแต่เจ้าหน้าที่ในท้องถิ่นมีท่าทีอย่างนี้แล้วมันจะปรองดองกันได้ อย่างไร”
1 กันยายน พ.ศ.2553 เวลา 09.30 น. ญาติของ นายคมกฤษ คำวิเศษ นายภาณุพงษ์ พลเสน นายสุชล จันปัญญา และนายสมโภชน์ สีกากุล ได้เดินทางไปที่ศาลจังหวัดมหาสารคาม เพื่อยื่นคำร้องพร้อมหลักทรัพย์ขอประกันตัวผู้ต้องขังโดยในคำร้องได้ระบุว่า ผู้ต้องขังอยู่ในระหว่างการศึกษา การคุมขังผู้ต้องหาจะเป็นการจำกัดโอกาสในการศึกษา แต่ศาลฯได้สั่งยกคำ ร้อง ทำให้ทั้งผู้ต้องขังและญาติมิตรที่มารอคอยประสบกับความผิดหวังอีกครั้ง

ที่มา ประชาไท

นิสิตชูป้าย ช่วยผู้ต้องขังจากการชุมนุมที่ จ.มหาสารคาม

นิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคามชูป้ายรณรงค์ ช่วยเหลือผู้ต้องขังที่ถูกจับกุมจากการชุมนุมที่หน้าศาลากลางจังหวัด มหาสารคาม หลังจากถูกขังโดยไม่ได้รับการประกันตัวกว่า 3 เดือน
เมื่อเวลาประมาณ 20.30 น. นิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำนวน 3 คน ได้ทำกิจกรรมชูป้ายรณรงค์เรื่องการถูกจับกุมคุมขังชาวจังหวัดมหาสารคามจำนวน 12 คน (ปัจจุบันยังถูกขังอยู่ในเรือนจำ 10 คน) ที่ถูกตั้งข้อหาดว่าเกี่ยวข้องกับการชุมนุมบริเวณหน้าศาลากลางจังหวัด มหาสารคาม (หลังเก่า) ในเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมืองของกลุ่มคนเสื้อแดงจังหวัดมหาสารคามเมื่อ กลางเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา โดยนักศึกษากลุ่มดังกล่าวได้จัดกิจกรรมขึ้นที่บริเวณทางเข้าตลาดภายใน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ตลาดน้อย)
นิสิตกลุ่มนี้ได้พยายามให้เห็นว่าจังหวัดมหาสารคามก็มีคนถูกคุมขังและดำเนินคดีตาม พรก. ฉุกเฉิน โดยมีทั้งชาวบ้านและนักศึกษาจำนวน 10 คน และได้ถูกคุมขังมาแล้ว 3 โดยไม่ได้รับอนุญาตให้ประกันตัว ซึ่งเป็นผลกระทบตามมาต่อครอบครัวของผู้ต้องหา
หนึ่งในผู้รณรงค์ได้ชี้แจงว่าต่อ”ประชาไท”ว่า“เราไม่สนใจว่าผู้ที่ถูก คุมขังจะเข้าร่วมหรือไม่ได้เข้าร่วมกับการชุมนุมทางการเมืองในเดือนพฤษภาคม ที่ผ่านมาหรือไม่ แต่ที่เราสนใจคือ ทำไมพวกเขาเหล่านี้ถึงไม่ได้รับการประกันตัว …??? พวกเขาต้องการที่จะกลับไปเรียนหนังสือ และพวกเขาต้องทำมาหากินหาเลี้ยงลูกเมีย
ตัวแทนอีกคนของนิสิตกลุ่มนี้กล่าวว่า “เราอยากให้มีอาสาสมัครที่เป็นนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคามไปให้การช่วยเหลือ แก่ญาติผู้ที่ถูกคุมขังเกี่ยวกับการติดตามคดีและกระบวนการทางกฏหมายของพวก เขา หรืออย่างน้อยก็อยากให้ไปเยี่ยมและให้กำลังใจแก่ทั้งผู้ที่ถูกคุมขังและญาติ พี่น้องของพวกเขา”
นอกจากนี้นิสิตคนดังกล่าวยังได้กล่าวเสริมอีกว่า”รายได้ของครอบครัวของ ผู้ที่ถูกคุมขังหลายคนมีน้อยมาก เมื่อเทียบกับรายจ่ายที่ต้องหมดไปกับทั้งเรื่องการติดตามการดำเนินคดี และการไปเยี่ยมผู้ต้องขังที่เรือนจำเป็นประจำทุกวัน ซึ่งบางคนที่เงินมีน้อยก็ต้องมาเยี่ยมเพียงอาทิตย์ละครั้ง หรือมาเยี่ยมเมื่อครบกำหนดและต่ออายุการฝากขังในแต่ละครั้ง ทำให้พวกเขาได้รับความลำบากมาก”
บรรยากาศในปฏิบัติการชูป้ายบอกข่าวในครั้งนี้ได้รับความสนใจจากนิสิต มหาวิทยาลัยมหาสารคามเป็นเป็นจำนวนมาก ที่มีทั้งการยืนดูและพูดคุยสอบถาม รวมถึงการแลกเปลี่ยนเบอร์โทรศัพท์ติดต่อกัน แต่ปฏิบัติการครั้งนี้ก็ทำได้เพียงแค่ 20 นาที เท่านั้น เนื่องจากได้มีเจ้าหน้าที่กองกิจการนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เข้ามาสอบถามตัวแทนนิสิตกลุ่มนี้ และได้โทรศัพท์รายงานสถานการณ์ต่อกองกิจการนิสิตฯ ทางกลุ่มนิสิตจึงได้ยุติการดำเนินกิจกรรมเมื่อเวลา 20.50 น.


mี่มา ประชาไท

สหพันธ์นิสิตนักศึกษาชุดใหม่ลั่นเชิดชูการต่อสู้คนเสื้อแดงประณามมาร์ค /ไม่สังฆกรรมอานันท์ ประเวศ

เป็นเวลากว่าสามเดือนแล้วที่รัฐบาลได้ใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุมเรียกร้องข้อเสนอที่เป็นประชาธิปไตยของประชาชนคนเสื้อแดง

เป็น เวลากว่าสามเดือนแล้วที่ประชาชนผู้บริสุทธิ์ถูกประหัตประหารด้วยกำลังจากน้ำ มือของทหาร และอาวุธยุทโธปกรณ์ที่มาจากภาษีของพวกเขาเอง เป็นเวลากว่าสามเดือนแล้วที่ประชาชนผู้บริสุทธิ์ถูกประหัตประหารด้วยกำลัง จากน้ำมือของทหารและอาวุธยุทโธปกรณ์ที่มาจากภาษีของพวกเขาเอง

ผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ครั้งนั้น ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติยังคงไม่ได้รับความเป็นธรรม ผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ครั้งนั้นทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติยังคงไม่ได้รับความเป็นธรรม

ยัง คงไม่มีใครออกมาแสดงความรับผิดชอบ แม้แต่รัฐบาล ในฐานะที่ควรจะต้องรับผิดชอบมากที่สุด เมื่อมีประชาชนได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมากใจกลางกรุงเทพมหานครก็ตาม ยังคงไม่มีใครออกมาแสดงความรับผิดชอบแม้แต่รัฐบาลในฐานะที่ควรจะต้องรับผิด ชอบมากที่สุดเมื่อมีประชาชนได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมากใจกลางก็ตาม กรุงเทพมหานคร

รัฐบาล ไม่เพียงนิ่งเฉย หากแต่กลับป้ายความผิดให้กับผู้เสียชีวิตอย่างหน้าด้านๆ ให้พวกเขากลายเป็นผู้ก่อการร้าย เป็นผู้สร้างความเดือดร้อน และ เป็นผู้ทำร้ายประเทศไทย ทั้งๆที่เศรษฐกิจที่ล้มเหลว การเมืองที่เป็นเผด็จการ การทุจริตฉ้อฉลในทุกวงการ ที่เป็นตัวการทำร้ายประเทศไทยอย่างแท้จริงและหนักหน่วงที่สุด ล้วนแต่เป็นฝีมือของรัฐบาลทั้งสิ้น รัฐบาลไม่เพียงนิ่งเฉยหาก แต่กลับป้ายความผิดให้กับผู้เสียชีวิตอย่างหน้าด้าน ๆ ให้พวกเขากลายเป็นผู้ก่อการร้ายเป็นผู้สร้างความเดือดร้อนและเป็นผู้ทำร้าย ประเทศไทยทั้งๆที่เศรษฐกิจที่ล้มเหลวการเมืองที่เป็นเผด็จการการทุจริตฉ้อฉล ในทุกวงการ ที่เป็นตัวการทำร้ายประเทศไทยอย่างแท้จริงและหนักหน่วงที่สุดล้วน แต่เป็นฝีมือของรัฐบาลทั้งสิ้น

อีก ทั้งในเหตุการณ์เมษา-พฤษภาเลือดที่ผ่านมา หลักฐานมากมายระบุชัดว่า กองกำลังฝ่ายรัฐบาลคือผู้ยิงฆ่าประชาชนผู้บริสุทธิ์มากกว่า 90 ชีวิต อีกทั้งในเหตุการณ์เมษา -- พฤษภาเลือดที่ผ่านมาหลักฐานมากมายระบุชัดว่ากองกำลังฝ่ายรัฐบาลคือผู้ยิงฆ่า ประชาชนผู้บริสุทธิ์มากกว่า 90 ชีวิต

ไม่ เพียงเท่านั้นรัฐบาลยังคงใช้สื่อเป็นเครื่องมือในการบิดเบือนข่าวสาร สร้างวาทกรรม ตีฝีปากเพื่อเอาภาพลักษณ์บดบังปัญหา ไม่ได้มีความจริงใจที่จะแก้ไขความขัดแย้งใดๆ หยิบยกเอาตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจปลอมๆที่ขัดแย้งกับความเป็นจริงของ ชีวิตประชาชนตามท้องนาและท้องตลาดที่ลำบากยากแค้นแสนเข็ญ มากลบเกลื่อนปัญหาที่ต้องรับผิดชอบ ไม่เพียงเท่านั้นรัฐบาลยังคงใช้สื่อเป็นเครื่องมือในการบิดเบือน ข่าวสารสร้างวาทกรรมตีฝีปากเพื่อเอาภาพลักษณ์บดบังปัญหาไม่ได้มีความจริงใจ ที่จะแก้ไขความขัดแย้งใด ๆ หยิบยกเอาตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจปลอม ๆ ที่ขัดแย้งกับความเป็นจริง ของชีวิตประชาชนตามท้องนาและท้องตลาดที่ลำบากยากแค้นแสนเข็ญมากลบเกลื่อน ปัญหาที่ต้องรับผิดชอบ

ก็ เหมือนใช้ใบบัวมาปิดซากศพของประชาชนเอาไว้ ตอนนี้ครอบครัวญาติพี่น้องของผู้สูญหายและเสียชีวิตยังคงร่ำไห้ได้แต่เก็บ ความเคียดแค้นไว้ในใจรอวันชำระ ก็เหมือนใช้ใบบัวมาปิดซากศพของประชาชนเอาไว้ตอนนี้ครอบครัวญาติพี่น้องของ ผู้สูญหายและเสียชีวิตยังคงร่ำไห้ได้ แต่เก็บความเคียดแค้นไว้ในใจชำระรอวัน

และ เป็นเวลาสามเดือนกว่า อีกเช่นกันที่ประชาธิปไตยในประเทศไทยดิ่งลงถึงจุดที่ต่ำที่สุดในนประวัติ ศาสตร์ แน่นอนว่าตัวอย่างที่ชัดเจน ก็คือจำนวนผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต ที่มีจำนวนสูงเกินกว่าในการปราบปรามประชาชนของรัฐบาลเผด็จการในอดีตเสียอีก และเป็นเวลาสามเดือนกว่าอีกเช่นกันที่ประชาธิปไตยในประเทศไทยดิ่งลงถึงจุด ที่ต่ำที่สุดในนประวัติศาสตร์แน่นอนว่าตัวอย่างที่ชัดเจนก็คือจำนวนผู้ได้ รับบาดเจ็บและเสียชีวิตที่มีจำนวนสูงเกินกว่าในการปราบปรามประชาชนของรัฐบาล เผด็จการในอีกอดีตเสีย

การ เห็นต่างมีอานุภาพร้ายแรงจนสามารถสั่งเป็นสั่งตายคนได้ เป็นช่วงเวลาที่ประเทศไทยต้องจดจำไว้ว่าเรามีรัฐบาลเผด็จการทรราชย์ครอง เมือง ที่ใช้อำนาจผ่านกฎหมายพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อทำ ร้ายประชาชนอย่างชอบธรรม การเห็นต่างมีอานุภาพร้ายแรงจนสามารถสั่งเป็นสั่งตายคนได้เป็นช่วงเวลาที่ ประเทศไทยต้องจดจำไว้ว่าเรามีรัฐบาลเผด็จการทรราชย์ครองเมืองที่ใช้อำนาจ ผ่านกฎหมายพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อทำร้ายประชาชน อย่างชอบธรรม

นั่นคือรัฐบาลภายใต้การนำของนายอภิสิทธิ์ เวชาชีวะ ได้มองประชาชนผู้เรียกร้องการยุบสภา เป็นเพียงศัตรูที่จะต้องปราบปราม นั่นคือรัฐบาลภายใต้การนำของนายอภิสิทธิ์เวชาชีวะได้มองประชาชนผู้เรียกร้องการยุบสภาเป็นเพียงศัตรูที่จะต้องปราบปราม
แม้ จะดูเหมือนว่ารัฐบาลได้พยายามแสดงความตั้งใจที่จะคลี่คลายปัญหา และเร่งสร้างภาวะปรองดองสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นโดยตั้งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ แม้จะดูเหมือนว่ารัฐบาลได้พยายามแสดงความตั้งใจที่จะคลี่คลายปัญหาและเร่ง สร้างภาวะปรองดองสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นโดยตั้งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ

แต่ สิ่งที่เรามองเห็นคือการโกหกปลิ้นปล้อน และการผลาญงบประมาณโดยใช่เหตุ เราจะปฏิรูปประเทศได้อย่างไร ในเมื่อญาติพี่น้องของผู้เสียชีวิตยังไม่ได้รับความเป็นธรรม และเสียงของพวกเขายังถูกทำให้แผ่วหายไปในสายลม แต่สิ่งที่เรามองเห็นคือการโกหกปลิ้นปล้อนและการผลาญงบประมาณโดยใช่เหตุเรา จะปฏิรูปประเทศได้อย่างไรในเมื่อญาติพี่น้องของผู้เสียชีวิตยังไม่ได้รับ ความเป็นธรรมและเสียงของพวกเขายังถูกทำให้แผ่วหายไปใน สายลม

ด้วย เหตุผลดังกล่าวนี้ พวกเรา ในนามของที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) และคณะกรรมการบริหารชุดใหม่ จึงขอประกาศจุดยืนต่อจากนี้ที่ไม่ยอมอ่อนข้อต่อเผด็จการ และขอประณามการกระทำของรัฐบาลทรราชย์จอมสร้างภาพ ดังนี้: ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้พวกเราในนามของที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหพันธ์นิสิต นักศึกษาแห่งประเทศไทย (นทสน . ) และคณะกรรมการบริหารชุดใหม่จึงขอประกาศจุดยืนต่อจากนี้ที่ไม่ยอมอ่อนข้อต่อ เผด็จการและขอประณามการกระทำของ รัฐบาลทรราชย์จอมดังนี้สร้างภาพ :

1. 1 พวก เราจะไม่ขอร่วมสังฆกรรมกับคณะกรรมการปฎิรูปฯ คนที่เป็นคู่กรณีย่อมไม่อาจเป็นตัวกลางผู้ไกล่เกลี่ยได้ จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าคณะกรรมการปฏิรูปฯ ที่ถูกตั้งขึ้นโดยรัฐบาล ผ่านการทาบทามนายประเวศ วะสี และนายอานันท์ ปันยารชุน นั้น เป็นเพียงคณะเล่นละครปาหี่ตบตาประชาชนเท่านั้น พวก เราจะไม่ขอร่วมสังฆกรรมกับคณะกรรมการปฎิรูปฯ คนที่เป็นคู่กรณีย่อมไม่อาจเป็นตัวกลางผู้ไกล่เกลี่ยได้จึงไม่ต้องสงสัยเลย ว่าคณะกรรมการปฏิรูปฯ ที่ถูกตั้งขึ้นโดยรัฐบาลผ่านการทาบทามนายประเวศวะสีและ นายอานันท์ปันยารชุนนั้นเป็นเพียงคณะเล่นละครปาหี่ตบตาประชาชนเท่านั้น

และ ถึงที่สุดคณะกรรมการที่ว่านี้ ก็ไม่ได้ประกอบขึ้นมาจากประชาชนทุกภาคส่วนอย่างแท้จริง การปรองดองบนกองเลือดของผู้เสียชีวิตจะทำไม่ได้ การปรองดองบนความเกลียดชังย่อมไม่นำไปสู่สันติภาพ การที่รัฐบาลเข่นฆ่าประชาชนกลุ่มหนึ่ง แล้วยัดเยียดพวกเขาให้เป็นฝ่ายผิด จากนั้นก็มัดมือชกขอให้ลืมเรื่องราวทั้งหมดที่ผ่านมา ลืมความแค้น แล้วมาเริ่มต้นความสุขกันใหม่ ผู้ที่มีสามัญสำนึกรู้ผิดชอบชั่วดี ย่อมไม่อาจทำใจยอมรับได้ และถึงที่สุดคณะกรรมการที่ว่านี้ก็ไม่ได้ประกอบขึ้นมาจากประชาชนทุกภาคส่วน อย่างแท้จริงการปรองดองบนกองเลือดของผู้เสียชีวิตจะทำไม่ได้การปรองดองบน ความเกลียดชังย่อมไม่นำไปสู่สันติภาพการที่รัฐบาลเข่นฆ่า ประชาชนกลุ่มหนึ่งแล้วยัดเยียดพวกเขาให้เป็นฝ่ายผิดจากนั้นก็มัดมือชกขอให้ ลืมเรื่องราวทั้งหมดที่ผ่านมาลืมความแค้นแล้วมาเริ่มต้นความสุขกันใหม่ผู้ ที่มีสามัญสำนึกรู้ผิดชอบชั่วดีย่อมไม่อาจทำใจยอมรับได้

2. 2 พวก เราขอประณามการใช้อำนาจเกินขอบเขตของรัฐบาล แม้ปากจะบอกให้ปรองดอง แต่รัฐก็ยังกุมอำนาจทุกอย่างไว้ในมือ กระทำการสองมาตรฐานได้อย่างหน้าไม่อาย พวก เราขอประณามการใช้อำนาจเกินขอบเขตของรัฐบาลแม้ปากจะบอกให้ปรองดอง แต่รัฐก็ยังกุมอำนาจทุกอย่างไว้ในมือกระทำการสองมาตรฐานได้อย่างไม่อายหน้า

ใช้ กฎหมายที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ และเสรีภาพของประชาชนอย่างไม่สะทกสะท้าน เพื่อสั่งปิดสื่อของฝ่ายตรงข้าม และให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐในการตีความและจับกุมคนที่เห็นต่างได้อย่าง เต็มที่ ทั้งกรณีของนักเรียนนักศึกษาจังหวัดเชียงรายที่ถูกจับเพราะมาชูป้าย “เราเห็นคนตายที่ราชประสงค์” กรณี บ.ก.ลายจุด ที่ถูกจับเนื่องจากมาผูกผ้าแดงที่แยกราชประสงค์ หรือคุณนที สรวารี ที่ถูกจับเพียงเพราะตะโกนคำว่า “ผมเห็นคนตายที่นี่” ใช้กฎหมายที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญและเสรีภาพของประชาชนอย่างไม่สะทกสะท้านเพื่อ สั่งปิดสื่อของฝ่ายตรงข้ามและให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐในการตีความและ จับกุมคนที่เห็นต่างได้อย่างเต็มที่ทั้งกรณีของนักเรียนนักศึกษาจังหวัด เชียงรายที่ถูก จับเพราะมาชูป้าย"เราเห็นคนตายที่ราชประสงค์"กรณี บ.ก. ลายจุดที่ถูกจับเนื่องจากมาผูกผ้าแดงที่แยกราชประสงค์หรือคุณนทีสรวารีที่ถูกจับเพียงเพราะตะโกนคำว่า"ผมเห็นคนตาย นี่ที่"

ไม่ ใช่แต่เพียงเท่านี้ ยังมีประชาชนจำนวนมากที่ถูกจับกุมด้วยเหตุผลอันไม่เป็นธรรม หากแต่ในขณะช่วงเวลาเดียวกันกับกรณีข้างต้น ได้มีกลุ่มผู้ชุมนุมพันธมิตรมาปักหลักชุมนุมหน้าสำนักงานยูเนสโก (UNESCO) หรือพยายามจะบุกทำเนียบรัฐบาลอีกครั้งก็ตาม รัฐบาลนี้กลับบอกว่าไม่ถือเป็นการสร้างความเดือดร้อน แม้จะอยู่ใต้การบังคับใช้กฎหมายฉบับเดียวกัน ไม่ใช่ แต่เพียงเท่านี้ยังมีประชาชนจำนวนมากที่ถูกจับกุมด้วยเหตุผลอันไม่เป็นธรรม หาก แต่ในขณะช่วงเวลาเดียวกันกับกรณีข้างต้นได้มีกลุ่มผู้ชุมนุมพันธมิตรมาปัก หลักชุมนุมหน้าสำนักงานยูเนสโก (UNESCO) หรือพยายาม จะบุกทำเนียบรัฐบาลอีกครั้งก็ตามรัฐบาลนี้กลับบอกว่าไม่ถือเป็นการสร้างความ เดือดร้อนแม้จะอยู่ใต้การบังคับใช้กฎหมายฉบับเดียวกัน

นอกจากนี้นายอภิสิทธิ์เอง ก็ยังไปร่วมขึ้นเวทีทวงคืนเขาพระวิหารของกลุ่มพันธมิตรอีกด้วย นอกจากนี้นายอภิสิทธิ์เองก็ยังไปร่วมขึ้นเวทีทวงคืนเขาพระวิหารของกลุ่มพันธมิตรอีกด้วย

3. 3 พวก เรายืนยันแนวทางการต่อสู้ของคนเสื้อแดง ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น เรายังคงขอยึดแนวทางประชาธิปไตยที่อำนาจสูงสุดเป็นของประชาชนอย่างไม่มี เงื่อนไขใดๆเป็นที่ตั้ง เราจะเชิดชูการต่อสู้ของประชาชนผู้ถูกกดขี่เจตน์จำนงของประชาชนจะต้องได้รับ การตอบสนอง พวกเรายืนยันแนวทางการต่อสู้ของคนเสื้อ แดงไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นเรายังคงขอยึดแนวทางประชาธิปไตยที่อำนาจสูงสุดเป็น ของประชาชนอย่างไม่มีเงื่อนไขใด ๆ เป็นที่ตั้งเราจะเชิดชูการต่อสู้ของประชาชนผู้ถูกกดขี่เจตน์จำนง ของประชาชนจะต้องได้รับการตอบสนอง

เพราะ ประชาชนคือเจ้าของประเทศ ไม่ใช่แค่ฟันเฟืองตัวเล็กตัวน้อยที่ตรากตรำทำงานหนักแล้วยังต้องจ่ายภาษีไป ให้กลุ่มอำมาตย์ และรัฐบาลสันดานโจรสูบกินเสวยสุขกันอย่างไร้ประโยชน์ เราจะขอต่อสู้เคียงข้างเจ้าของประเทศตัวจริง นั่นคือ ประชาชนคนส่วนใหญ่ของประเทศนี้ จนกว่าความเท่าเทียมเสมอภาคจะมาถึง เพราะประชาชนคือเจ้าของประเทศไม่ใช่แค่ฟันเฟืองตัวเล็กตัวน้อยที่ตรากตรำทำ งานหนักแล้วยังต้องจ่ายภาษีไปให้กลุ่มอำมาตย์และรัฐบาลสันดานโจรสูบกินเสวย สุขกันอย่างไร้ประโยชน์เราจะขอต่อสู้เคียงข้างเจ้าของประเทศตัวจริงนั่นคือ ประชาชน คนส่วนใหญ่ของประเทศนี้จนกว่าความเท่าเทียมเสมอภาคจะมาถึง

4. 4 พวก เรายืนยันว่าพลังนักศึกษาไม่ได้หายไปไหน ความอยุติธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นในบ้านเมืองนั้น นักศึกษาสัมผัสได้ เราเจ็บแค้น และเศร้าโศกเสียใจเช่นกัน แม้ว่าครั้งนี้พวกเราจะรู้ตัวช้า และปล่อยให้พ่อแม่พี่น้องต้องออกแรงก่อน แต่เมื่อพวกเราตื่นขึ้นแล้ว พวก เรายืนยันว่าพลังนักศึกษาไม่ได้หายไปไหนความอยุติธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นใน บ้านเมืองนั้นนักศึกษาสัมผัสได้เราเจ็บแค้นและเศร้าโศกเสียใจเช่นกันแม้ว่า ครั้งนี้พวกเราจะรู้ตัวช้าและปล่อยให้พ่อแม่พี่น้องต้องออกแรงก่อนแต่ เมื่อพวกเราขึ้นแล้วตื่น

เรา จะไม่หลับอีกต่อไป เราขอร่วมเคียงบ่าเคียงไหล่กับพ่อแม่พี่น้อง เป็นกำลังใจ เป็นแนวร่วม เป็นความหวัง และเป็นเพื่อนร่วมรบกับปีศาจเผด็จการที่ชั่วร้ายในสมรภูมิแห่งนี้ที่ชื่อว่า ประเทศไทยต่อไปจนได้รับชัยชนะ เราจะไม่หลับอีกต่อไปเราขอร่วมเคียงบ่าเคียงไหล่กับพ่อแม่พี่น้องเป็นกำลัง ใจเป็นแนวร่วมเป็นความหวังและเป็นเพื่อนร่วมรบกับปีศาจเผด็จการที่ชั่วร้าย ในสมรภูมิแห่งนี้ที่ชื่อว่าประเทศไทยต่อไปจนได้รับชัยชนะ

และท้ายที่สุดแม้ว่าพวกเราจะไม่ใช่ตัวแทนของนิสิตนักศึกษาทั้งประเทศ แต่พวกเราเชื่อว่าสิ่งที่เราทำนั้น เป็นตัวแทนของความถูกต้อง และท้ายที่สุดแม้ว่าพวกเราจะไม่ใช่ตัวแทนของนิสิตนักศึกษาทั้งประเทศ แต่พวกเราเชื่อว่าสิ่งที่เราทำนั้นเป็นตัวแทนของความถูกต้อง

พวก เราเชื่อว่า หัวใจอันยิ่งใหญ่และบริสุทธิ์ของประชาชนผู้รักความเป็นธรรม จิตวิญญาณแห่งเสรีชนที่รักความก้าวหน้า และไม่ยอมก้มหัวให้กับอำนาจบาตรใหญ่ใดๆ พวกเขาคือประชาชนผู้ศรัทธาในระบอบประชาธิปไตย และพวกเขาคือคนที่จะหลอมรวมกันเป็นพลังเพื่อจะเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้ บังเกิดประโยชน์สุขต่อประชาชนอย่างแท้จริง พวกเราเชื่อว่าหัวใจอันยิ่งใหญ่และบริสุทธิ์ของประชาชนผู้รักความเป็นธรรม จิตวิญญาณแห่งเสรีชนที่รักความก้าวหน้าและไม่ยอมก้มหัวให้กับอำนาจบาตรใหญ่ ใด ๆ พวกเขาคือประชาชนผู้ศรัทธาในระบอบประชาธิปไตยและพวกเขาคือคนที่ จะหลอมรวมกันเป็นพลังเพื่อจะเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้บังเกิดประโยชน์สุขต่อ ประชาชนอย่างแท้จริง

สหพันธ์ นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) ขอเป็นส่วนหนึ่งที่จะร่วมกันขับเคลื่อนอนาคตของประเทศไทยไปสู่สังคมที่ยึด มั่นในหลักการแห่งเสรีภาพ เสมอภาค และภราดรภาพในท้ายที่สุด สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท . ) ขอเป็นส่วนหนึ่งที่จะร่วมกันขับเคลื่อนอนาคตของประเทศไทยไปสู่สังคมที่ยึด มั่นในหลักการแห่งเสรีภาพเสมอภาคและภราดรภาพในท้ายที่สุด

จงร่วมกันเร่งสภาวะประชาธิปไตยเสรีสมบูรณ์! จงร่วมกันเร่งสภาวะประชาธิปไตยเสรีสมบูรณ์!

สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท . )

สหพันธ์ นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยชุดใหม่แจ้งด้วยว่า เตรียมเดินสายภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อสานสัมพันธ์และชี้แจงยุทธศาสตร์ของสนนท. สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยชุดใหม่แจ้งด้วยว่าเตรียมเดินสายภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อสานสัมพันธ์และชี้แจงยุทธศาสตร์ของสนนท

ร้อยวันแห่งการสูญเสียของ ครอบครัวศรีหนองบัว

ทรงศักดิ์ ศรีหนองบัว (ป๋อง) เกิดวันที่ 28 มีนาคม 2520 ปัจจุบันอายุ 33 ปี เป็นคนบ้านดอนธาตุ ต.โคกสี อ.เมือง จ.ขอนแก่น ประกอบอาชีพเป็นพนักงานบริษัทฯติดตามหนี้ อยู่ในตัวเมืองจังหวัดขอนแก่น
ข้อมูลจากการสัมภาษณ์นายเจียง ศรีหนองบัว อายุ 59 ปี พ่อของทรงศักดิ์ ทราบว่า ทรงศักดิ์เป็นลูกชายคนโต จากพี่น้องทั้งหมด 4 คน มีน้องชาย 2 คน และน้องสาว 1 คน น้องชายคนรองมีครอบครัวแล้วอยู่หมู่บ้านใกล้ๆกัน คนรองลงมาทำงานอยู่ในตัวเมืองจังหวัดขอนแก่นเช่นกันแต่ไม่ค่อยได้อยู่บ้าน ส่วนน้องสาวคนสุดท้องมีครอบครัวอยู่ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา นานๆ จะกลับมาเยี่ยมบ้านครั้งหนึ่ง มีเพียงทรงศักดิ์ที่อยู่อาศัยที่บ้านเป็นประจำ และช่วยเหลือดูแลงานทั้งหมดภายในบ้าน เช้าไปทำงานเย็นประมาณ 5 โมงก็กลับถึงบ้าน กินข้าวฟังวิทยุพักผ่อน เป็นคนไม่เที่ยวเตร่ ขยันทำงาน ไม่กินเหล้า ไม่สูบบุหรี่ กำลังจะได้เลื่อนตำแหน่งไปขยายสาขาที่จังหวัดอุดรธานี และกำลังมีแผนจะแต่งงานแต่ก็มาเสียชีวิตเสียก่อน
พ่อเจียงเล่าต่อว่า ในวันเกิดเหตุ วันที่ 19 พฤษภาคม 2553 ทรงศักดิ์ขับรถมอเตอร์ไซค์ออกไปทำงานตอนเช้าตามปกติ เวลาประมาณ 5 โมงเย็น โรงพยาบาลโทรศัพท์มาแจ้งว่า ทรงศักดิ์ป่วยอยู่โรงพยาบาลไม่บอกว่าป่วยเป็นอะไร บอกเพียงแต่บอกว่าป่วยให้มาเยี่ยมที่โรงพยาบาลด่วน พ่อจึงให้ลูกชายอีกคนโทรศัพท์กลับไปสอบถามให้แน่ชัดจึงทราบว่าถูกยิง เมื่อไปถึงโรงพยาบาล หมอบอกว่าถูกกระสุนยิงที่ต้นแขน 6 นัด ไปโดนที่เส้นเลือดแดง และต้องผ่าตัด วันนั้นมีประกาศเคอร์ฟิว พ่อต้องรีบกลับบ้าน กลัวไม่ทันเวลา ให้ลูกชายอีกคนเฝ้าอยู่ที่โรงพยาบาล กลับมายังไม่ถึงหมู่บ้านประมาณ 3 ทุ่ม ลูกชายโทรศัพท์มาบอกว่าทรงศักดิ์เสียชีวิตแล้ว
พ่อเจียงเล่าว่าไม่คิดเลยว่าลูกชาย ต้องมาเสียชีวิตเช่นนี้ เพราะตอนเช้ายังแต่งตัวออกไปทำงานตามปกติ และที่ผ่านมาแม้ลูกชายจะเคยเข้าร่วมการชุมนุมกับ นปช. ทั้งที่ขอนแก่นและกรุงเทพฯบ้าง แต่แค่เข้าร่วมฟังปราศรัยเพื่อรับรู้ข้อมูลข่าวสารข้อเท็จจริงเท่านั้น แล้วก็กลับบ้าน ตอนเช้าก็ไปทำงานตามปกติ เคยมาเข้าร่วมการชุมนุมที่กรุงเทพฯ 3 ครั้ง มาวันสองวันก็กลับบ้านไปทำงานตามปกติ คนที่เห็นเหตุการณ์ในวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 หน้าบ้านนายประจักษ์เล่าให้พ่อฟังว่า ทรงศักดิ์ยืนอยู่บนฟุตบาทฝั่งตรงข้าม บ้านนายประจักษ์ แล้วมีคนยิงปืนลูกซองออกมาจากบ้านนายประจักษ์ สองถึงสามนัดมีคนโดนลูกกระสุนบาดเจ็บหลายคน
พ่อเจียงบอกว่า พ่อไม่คิดเอาเรื่อง ไม่คิดฟ้องกลับ ไม่อยากมีเรื่องมีราวขึ้นโรงขึ้นศาล เรามันคนจนต่อสู้กับเขาลำบาก ลูกชายก็ตายไปแล้ว อย่างไรก็ไม่ฟื้น แต่อยากให้ทางนายประจักษ์แสดงความรับผิดชอบบ้าง มาถามไถ่สาระทุกข์สุขดิบ มาร่วมทำบุญให้ลูกชายบ้าง ตอนนี้พ่อเรียกร้องค่าชดเชยไปกับตัวแทนเขาสามแสนบาท ตัวแทนเขาบอกว่ามากเกินไป เขาเสนอให้หนึ่งแสนบาท พ่อคิดว่ามันจะมากไปได้อย่างไร ชีวิตคนหนึ่งชีวิต ถ้าลองเป็นลูกชายเขาบ้างเขาจะยอมไหม จนวันนี้ครบรอบทำบุญร้อยวันแล้ว พ่อยังไม่ได้รับค่าชดเชยแต่อย่างใด
สำหรับความช่วยเหลือที่ผ่านมา พ่อเจียงบอกว่าได้รับการช่วยเหลือจากพรรคเพื่อไทยเป็นเงินหนึ่งแสนสามหมื่น บาท จากสำนักพระราชวังเป็นเงินห้าหมื่นบาท จากสำนักงานประกันสังคมเป็นเงินหนึ่งแสนบาท จากกระทรวงพัฒนาสังคมฯเป็นเงินสี่แสนบาท และได้มีการยื่นเรื่องไว้ที่กระทรวงยุติธรรมฯ ซึ่งทราบมาว่าจะมีการช่วยเหลือเป็นตัวเงิน ตอนนี้อยู่ระหว่างรอผลการสอบสวนจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ
พ่อเล่าต่อว่าได้เงินมาเท่าไร มันก็ไม่คุ้มกับความสูญเสียที่เกิดขึ้น ปีนี้พ่อต้องทำนาคนเดียว คิดถึงทรงศักดิ์มาก ปกติเขาจะเป็นคนจัดการดูแลทุกอย่าง แต่ตอนนี้ไม่มีแล้ว ช่วงดำนาที่ผ่านมา คิดถึงทรงศักดิ์มาก ฝนตกลงมา น้ำตาพ่อก็ไหล

ทำบุญ100วัน‘น้องเกด’ แม่เตรียมรวมกลุ่มญาติวีรชน53-ช่างภาพเนชั่นจ่อฟ้องรัฐเป็นคดีตัวอย่าง

ทำบุญ 100 วันเกดกมน อัคฮาด คนร่วมหนาแน่น แม่น้องเกดลั่นพร้อมร่วมมือจตุพรฟ้องดีเอสไอ แจ้งเท็จใส่ร้ายคนตาย และเตรียมรวมกลุ่มญาติผู้เสียชีวิต ผู้บาดเจ็บ เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรม ช่วยเหลือผู้เดือดร้อน ขณะที่ช่างภาพเนชั่นที่ถูกยิงชี้เตรียมฟ้องรัฐเป็นคดีตัวอย่างฐานใช้ความ รุนแรงสลายการชุมนุม ด้านดีเอสไอยันชันสูตรทำตามขั้นตอน ขีดเส้น 60 วันรู้ใครยิง

27 ส.ค.53 มีการจัดงานทำบุญครบ 100 วันของ นางสาวกมนเกด อัคฮาด ที่หมู่บ้านพูลสิน1 ร่มเกล้า โดยมีแกนนำ นปช.หลายคนและประชาชนทั่วไปเข้าร่วมจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีญาติผู้เสียชีวิตรายอื่นร่วมงานด้วย เช่น ครอบครัวของนายมานะ แสนประเสริฐศรี อาสาสมัครที่ถูกยิงที่ย่านบ่อนไก่เมื่อ 15 พ.ค. ภายในงานมีการทำบุญเลี้ยงพระ แจกซีดีที่ระลึกราว 2,000 แผ่น และกล่าวไว้อาลัยผู้เสียชีวิต
นาง พะเยาว์ อัคฮาด มารดาของน.ส.กมนเกด อัคฮาด หรือน้องเกด อดีตอาสาพยาบาลที่ถูกยิงเสียชีวิตในวัดปทุมวนาราม เมื่อวันที่ 19 พ.ค.กล่าวถึงกรณีที่นายจตุพร พรหมพันธุ์ เตรียมให้ญาติผู้เสียชีวิตลูกเมียจากเหตุการณ์การชุมนุมยื่นฟ้องเอาผิดดีเอส ไอ ในข้อหาฟ้องเท็จ ใส่ร้ายคนเป็นให้ร้ายคนตายต่อศาลฎีกา ว่าพร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับนายจตุพร เพราะผ่านมานาน 3 เดือนแล้วดีเอสไอก็ยังไม่มีความคืบหน้าทางคดีใดๆ ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าใครยิงประชาชน จึงขอแนะนำว่าหากว่ารัฐบาลประกาศยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ทั่วประเทศเมื่อใดหลักฐานต่างๆ เกี่ยวกับเหตุการณ์ยิงประชาชนนี้ก็จะออกมาและทุกอย่างก็จะจบ
นางพะเยาว์ กล่าวด้วยว่า หลังจากเสร็จสิ้นงานทําบุญ 100 วันของลูกสาววันนี้แล้ว ตนมีแนวคิดจะรวมตัวของกลุ่มญาติผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บในเหตุการณ์ตั้งแต่วันที่ 10 เม.ย.-19 พ.ค. ซึ่งขณะนี้ก็มีหลายรายที่แจ้งความประสงค์มาเพื่อเดินหน้าเรียกร้องหาความ เป็นธรรม โดยจะไปกันเองในภาคประชาชนในฐานะที่เป็นผู้เสียหายโดยตรง มีความรู้สึกว่าหากเรารวมตัวได้อย่างนี้จะสามารถไปยื่นเรื่องกับองค์กรต่างๆ ได้ดีกว่า และจะได้ไม่ให้รัฐบาลทําแกล้งเฉย ทําเป็นไม่รู้ไม่ชี้ ผ่านแล้วผ่านเลยเป็นเรื่องเก่า ไม่ใช่ เราจะพยายามทําให้ผู้เสียชีวิตทั้ง 91 ศพ นั้นไม่ให้ใครลืมเขาได้ และผู้เสียชีวิตทุกรายจะต้องได้รับความเป็นธรรมจากรัฐบาลนี้ รัฐบาลจะต้องจัดการให้ได้ผลพิสูจน์ให้เร็วที่สุดว่าใครเป็นคนสั่งฆ่า ใครเป็นคนทํา จะเป็นคนชุดดํา หรือทหาร ทำก็ต้องชี้แจงมาเลย
นายจตุพร พรหมพันธ์ กล่าวไว้อาลัยภายในงานทำบุญ 100 วันว่า การเสียชีวิตของน้องเกดก็เหมือนคดีอื่นๆ ที่ไม่คืบหน้าแม้มีพยานเห็นคนยิงชัดเจนก็ตาม การเสียสละของน้องเกดและคนอื่นๆ เป็นสิ่งสำคัญ เวลานี้ผู้มีชีวิตอยู่มีหน้าที่คือการทำความยุติธรรมให้ผู้เสียชีวิตที่ถูก ปราบปรามอย่างอยุติธรรมที่สุด ความทรงจำของพวกเราต้องอยู่ต่อไป ไม่หยุดที่ 100 วัน วันหนึ่งเมื่อมีการเปลี่ยนรัฐบาล เราต้องสร้างอนุเสาวรีย์วีรชนให้กับผู้บาดเจ็บล้มตาย และรัฐบาลจากการเลือกตั้งต้องดูแลผู้อยู่เบื้องหลัง ขณะที่คนที่เป็นฆาตรกรก็ต้องได้รับการลงโทษอย่างสาสมที่สุด
“วันนี้ ก็ให้กำลังใจกัน ทุกวันนี้เรามีหน้าที่คือการรักษาหัวใจในระยะผ่าน เพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงและเอาฆาตกรมาลงโทษ บ้านเมืองมันยังจะต้องแก้ไขปัญหาอะไรอีกมากมาย และกรณีการเสียชีวิตจะไม่มีคนรับผิดชอบไม่ได้ ตราบใดที่ฆาตกรยังไม่ถูกลงโทษเราก็จะต้องต่อสู้กันต่อไปจนกว่าบ้านเมืองของ เราจะได้ใช้กฎหมายที่ยุติธรรม ไม่ใช่สองมาตรฐานแบบปัจจุบันนี้” นายจตุพรกล่าว

แดงไซเบอร์จัดทำบุญ100 วันผู้เสียชีวิตที่วัดหัวลำโพง หลังพลาดจากวัดปทุม
ผู้สื่อข่าว รายงานว่า ในวันเดียวกันสมาชิกคนเสื้อแดงทางเว็บไซต์จากหลายกลุ่ม ร่วมกันทำบุญ 100 วัน ให้กับผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมือง ในช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม ที่ผ่านมา โดยมีการทำบุญเลี้ยงเพลพระที่วัดหัวลำโพง หลังจากทางวัดปทุมวนารามปฏิเสธการขอใช้พื้นที่เนื่องจากถูกกดดันหนัก
กลุ่ม คนเสื้อแดงทยอยมาร่วมจัดอาหาร เพื่อเลี้ยงเพลพระตั้งแต่ช่วงเช้า โดยการทำบุญครั้งนี้นอกจากเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมืองที่ ผ่านมา ยังมีการรวบรวมเงินบริจาคเพื่อทำบุญร่วมกันและส่วนหนึ่งนำไปช่วยเหลือผู้ที่ ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์การชุมนุมและยอดผู้เสียชีวิต ส่วนการรักษาความปลอดภัย มีเจ้าหน้าที่ตำรวจดูแลบริเวณโดยรอบวัดและสมาชิกคนเสื้อแดงบางส่วน ได้มีการตั้งแผงวางขายของที่ระลึกของคนเสื้อแดงหน้าวัดด้วย อาทิ เสื้อโปโล ผ้าโพกศีรษะ ภาพเหตุการณ์การชุมนุม เป็นต้น
ช่างภาพเนชั่นเตรียมฟ้องรัฐบาล

ด้านนายชัยวัฒน์ พุ่มพวง ช่างภาพสำนักข่าวเนชั่น เหยื่อกระสุนปืนในเหตุ การณ์สลายม็อบเสื้อแดงวันที่ 15 พ.ค. บริเวณสามเหลี่ยมดินแดงและแยกราช ปรารภ กล่าวว่า เตรียมฟ้องร้องรัฐบาลทั้งทางอาญาและแพ่ง เพื่อเป็นคดีตัวอย่าง กรณีใช้กำลังทหารเข้าปราบปรามประชาชนและกลุ่มคนเสื้อแดงที่ปักหลักชุมนุม อยู่บริเวณดังกล่าว จนทําให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจํานวนมาก รวมทั้งตัวเองก็ถูกกระสุนเจ้าหน้าที่ยิงใส่ที่ต้นขาอาการสาหัสด้วย การฟ้องร้องดังกล่าวขณะนี้เตรียมทนายความไว้แล้ว โดยนัดหารือกันเพื่อรวบรวมข้อมูลในวันที่ 1 ก.ย.นี้

"การฟ้องร้องผมต้องการให้เป็นคดีตัวอย่าง ให้รัฐบาลออกมารับผิดชอบ และเป็นการฟ้องส่วนตัวไม่เกี่ยวกับสํานักพิมพ์ ส่วนจะฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายเท่าใดขอปรึกษาทนายก่อน" ช่างภาพที่ถูกยิงกล่าว

นายชัยวัฒน์ กล่าวถึงอาการบาดเจ็บว่า นับตั้งแต่ถูกยิงเมื่อวันที่ 15 พ.ค. อาการดังกล่าวก็ยังไม่ค่อยดี ยังคงต้องทํากายภาพ บำบัดทุกวัน เนื่องจากกระสุนที่ยิงมานั้นไม่ทะลุ แต่ไปทําลายระบบเส้นเลือด และกล้ามเนื้อบริเวณต้นขาขวาทําให้ขาไม่มีแรง และมีสีดํา เนื่องจากเลือดไม่สามารถลงไปหล่อเลี้ยงได้

ธาริตแจงศอฉ.พิสูจน์ 91 ศพ
วันเดียวกัน เมื่อเวลา 10.00 น. ที่กองบัญชาการกองทัพบก นายสุเทพ เทือกสุบรรณรองนายกฯ ในฐานะผอ.ศอฉ. เป็นประธานการประชุมศอฉ. มีพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม พล.อ.ทรงกิตติ จักกาบาตร์ ผบ.สส.พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. พล.ร.อ.กำธรพุ่มหิรัญ ผบ.ทร. พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ์ผบ.ทอ. และพล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ว่าที่ผบ.ตร. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา รองผบ.ทบ.พล.อ.ธีระวัฒน์ บุณยะประดับ ผู้ช่วยผบ.ทบ.พล.อ.วิชญ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ผู้ช่วยผบ.ทบ.พล.อ.พิรุณ แผ้วพลสง เสธ.ทบ. พล.ท.คณิตสาพิทักษ์ แม่ทัพภาคที่ 1 นายธาริต เพ็งดิษฐ์อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ นายถวิล เปลี่ยนศรี เลขาธิการสมช. เข้าร่วมประชุม
พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกศอฉ.กล่าวภายหลังการประชุมว่า นายธาริตได้รายงานในที่ประชุมถึงเสียงวิจารณ์การพิสูจน์ศพประชาชนที่เสีย ชีวิต 91 ศพ จากเหตุการณ์เดือนพ.ค.ที่ผ่านมา ไม่เป็นไปตามขั้นตอนที่ถูกต้องซึ่งกรมสอบสวนคดีพิเศษยืนยันว่าได้ปฏิบัติ ทุกอย่างตามขั้นตอน โดยประสานกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานอัยการสูงสุด ซึ่งผลสรุปที่ออกมาได้ดำเนินการอย่างถูกต้องทุกอย่างโดยเฉพาะการพิสูจน์ศพ ได้ดำเนินการธรรมดาไม่มีกรรมวิธีพิเศษใดๆ ถือว่าทำอย่างดีที่สุดแล้วอย่างไรก็ตามนายสุเทพกำชับว่า ให้อธิบดีดีเอสไอไปชี้แจงถึงผลการพิสูจน์ศพให้ประชาชนเข้าใจว่า ทุกอย่างเป็นไปตามขั้นตอน
"ขอ ให้ยึดเหตุที่เกิดเป็นตัวตั้ง ไม่ต้องคำนึงผลว่าจะเป็นอย่างไร เพราะเราต้องการทำข้อเท็จจริงให้ปรากฏต่อสาธารณชน และขอให้เจ้าหน้าที่แบ่งกลุ่มงานไปรวบรวมข้อมูลหลักฐานให้มากที่สุด ถูกต้องที่สุด จากบุคคลที่มาเป็นพยานได้ในขณะนี้ เพื่อจะได้ไม่มีปัญหาภายหลัง หากใครมารื้อฟื้นคดีจะได้มีข้อมูลหลักฐานที่เพียงพอชี้แจงได้" พ.อ.สรรเสริญกล่าว
พ.อ.สรรเสริญ กล่าวว่า คณะกรรมป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือป.ป.ช.ได้ให้หน่วยงานความมั่นคงประเมินการทำงานทุกหน่วยงานทั่วประเทศ ในการป้องกันการทุจริตและนำข้อมูลทั้งหมดเข้าที่ประชุมเพื่อหาแนวทางต่อต้าน การทุจริต ที่ป.ป.ช.จะจัดประชุมในวันที่ 10-13 พ.ย.นี้
สั่ง 60 วันพิสูจน์ให้เสร็จ
ที่กรมสอบ สวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ กล่าวถึงความคืบหน้ากรณีการตรวจสอบผู้เสียชีวิตของกลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อแดง ในเดือนเม.ย.-พ.ค.ว่า วันนี้ดีเอสไอได้รับหนังสือลงนามคำสั่งอย่างเป็นทางการจาก นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผอ.ศอฉ. ให้ดีเอสไอดำเนินการเป็นพิเศษเกี่ยวกับการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริง การเสียชีวิตของประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐทั้ง 89 ราย ให้เสร็จสิ้นภายใน 60 วัน โดยจะต้องทำความจริงให้ปรากฏ ทั้งในส่วนสาเหตุการเสียชีวิต ลักษณะบาดแผล พยานแวดล้อมพยานบุคคล พยานทางนิติวิทยาศาสตร์ วิถีกระสุน ระเบิด ตลอดจนใครเป็นผู้กระทำให้เสียชีวิต ซึ่งตนมอบหมายให้ พ.ต.ท.วรรณพงษ์คชรักษ์ ในฐานะหัวพนักงานสอบสวนคดีก่อการร้าย จัดทีมทำงานเฉพาะรายไป โดยดีเอสไอจะรายงานความคืบหน้าต่อศอฉ.เป็นระยะ
นาย ธาริตกล่าวว่า เบื้องต้นดีเอสไอรับสำนวนการชันสูตรพลิกศพผู้เสียชีวิต จากตำรวจนครบาลมาครบถ้วนแล้วทั้ง 89 ราย มีเพียงบางส่วนที่ส่งกลับไปแก้ไขเพื่อให้ข้อมูลสมบูรณ์ที่สุดยืนยันว่าจะ พยายามทำงานให้เสร็จสิ้นภายใต้กรอบเวลาที่ศอฉ.กำหนด และมีการทยอยเปิดเผยผลการชันสูตรออกมาเป็นระยะ เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบความคืบหน้าด้วย
ส่วน การเสียชีวิตของช่างภาพชาวญี่ปุ่นและอิตาลีนั้น ดีเอสไอต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษเนื่องจากเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตามขอยืนยันดีเอสไอไม่ได้ละเลยการทำงานในเรื่องดังกล่าว แต่เนื่องจากต้องใช้เวลาแสวงหาข้อเท็จจริงจำนวนมาก ดังนั้นขอให้ผู้สื่อข่าวรวมทั้งผู้ที่อยู่ร่วมในเหตุการณ์ที่มีภาพถ่ายหรือ ข้อมูลอื่นๆ นำมาให้ดีเอสไอด้วยเพื่อเป็นประโยชน์ต่อรูปคดี
ผู้ สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับกรณีการตรวจสอบการเสียชีวิต 89 ศพนั้น ดีเอสไอยึดตามสำนวนของพนักงานสอบสวนกองบัญชาการตำรวจนครบาลและกองปราบปราม เป็นหลักส่วนจำนวน 91 ศพนั้น เป็นตัวเลขจากการสำรวจของกระทรวงสาธารณสุข

ที่มา:ประชาไท

รายงาน: “ทามาดะ โยชิฟูมิ” อภิปรายการเมืองไทยร่วมสมัยที่ ม.เชียงใหม่

ทามาดะ โยชิฟูมิ” อภิปรายเรื่องประชาธิปไตย “แบบไทยๆ” ที่ไม่มีวันเหมือนเดิมหลังจากมีการเลือกตั้ง ผ่่านพฤษภา 35 กระทั่งมีรัฐธรรมนูญ 2540 ชี้การปกครองแบบประชาธิปไตยถ้าปฏิเสธอำนาจอธิปไตยของประชาชนและการเลือกตั้งก็ไม่ใช่ประชาธิปไตย และฝ่ายที่สู้กับประชาชนไม่มีวันชนะ
 หมายเหตุ: เชิงอรรถและคำอธิบายเป็นการเพิ่มเติมโดย “ประชาไท”
เมื่อวันที่ 24 ส.ค. ที่ผ่านมา ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เชิญ ศาสตราจารย์ทามาดะ โยชิฟูมิ (TAMADA Yoshifumi) อาจารย์มหาวิทยาลัยเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น มาบรรยายพิเศษเกี่ยวกับการเมืองร่วมสมัยของไทย ที่ห้องประชุมชั้น 8 อาคาร HB7 คณะมนุษยศาสตร์ โดยการอภิปรายของอาจารย์ทามาดะ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
โดยอาจารย์ทามาดะ เริ่มอภิปรายด้วยคำถามว่า การเมืองไทยและความเป็นประชาธิปไตยของไทยสมัยปัจจุบันนี้มีสถานะอย่างไร เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยนำผลการสำรวจขององค์กรเอกชนที่ชื่อว่า "Freedom House" ซึ่งใช้ตัวชี้วัด 2 ประการ ในการสำรวจ คือ สิทธิทางการเมือง (Political Rights) กับเสรีภาพพลเมือง (Civil Liberties) โดยตัวเลขน้อยแสดงว่ามีสิทธินั้น ๆ มากในอันดับต้นๆ
ผลสำรวจในประเทศไทยปี 2546 มีสิทธิทางการเมือง อยู่ในระดับที่ 2 เสรีภาพพลเมืองอยู่ในระดับที่ 3 แต่ตกต่ำลงหลังรัฐประหาร โดยในปี 2550 สิทธิทางการเมืองตกไปอยู่ระดับที่ 7 ส่วนเสรีภาพพลเมืองอยู่ระดับที่ 4 ในปีล่าสุดนี้สิทธิทางการเมืองของไทยดีขึ้นเล็กน้อยคืออยู่ในระดับที่ 5 ส่วนเสรีภาพพลเมืองยังอยู่ในระดับที่ 4
ขณะนี้เปรียบเทียบในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อเรียงลำดับแล้ว สิทธิทางการเมืองและเสรีภาพพลเมืองอันดับต้นๆ คืออินโดนีเซีย ซึ่งเดิมเคยเป็นรัฐบาลทหารแต่เปลี่ยนเป็นรัฐบาลประชาธิปไตย รองลงมาได้แก่ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และสิงคโปร์ โดยไทยมีสิทธิทางการเมืองและเสรีภาพพลเมืองเท่ากับสิงคโปร์ โดยที่สิงคโปร์ถูกวิจารณ์ว่าเป็นอำนาจนิยม อาจกล่าวได้ว่าประชาธิปไตยในไทยตกต่ำลงเพราะการรัฐประหารในเดือนกันยายน 2549
จากนั้น อาจารย์ทามาดะ ได้อภิปรายเหตุการณ์ทางการเมืองไทย ผ่านการฉายภาพการ์ตูนล้อการเมืองของ "ขวด" ในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ และ "เซีย" ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ซึ่งตีพิมพ์ระหว่างปี 2549-2553 ซึ่งสร้างความสนใจให้กับผู้ร่วมประชุม
อาจารย์ทามาดะ ได้อภิปรายต่อไปว่า คำถามที่ว่ามีสงครามระหว่างใคร มีอะไรเกิดขึ้นในสามปีที่ผ่านมา พอจะนึกออกแล้วใช่หรือไม่ ประเทศไทยกำลังมีสงครามระหว่างใครกับใคร มีคนอธิบายแบบง่ายๆ ว่าเป็นสงครามระหว่าง "สาวกคนดี" กับ "สาวกทักษิณ" ซึ่งตนว่าไม่จริง โดยขออธิบายว่า เป็นการต่อสู้ทางการเมือง มันเป็นสงครามที่ไม่เท่าเทียมกันเพราะมีฝ่ายเดียวที่เป็นฝ่ายรุกโดยส่วนใหญ่
ทั้งนี้ ในระบอบประชาธิปไตย การเลือกตั้งจะต้อง "มีกฎที่แน่นอน แต่ไม่ทราบว่าผลจะเป็นอย่างไร" (Certain rule with uncertain result) แต่ถ้าการเลือกตั้ง "มีกฎที่ไม่แน่นอน แต่ผลแน่นอน" (Uncertain Rule with certain result) แบบนี้จะเรียกว่าเป็นประชาธิปไตยไม่ได้
ธงชัย วินิจจะกูล ได้อธิบายว่า คนที่สนับสนุนรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 (Anti democratic forces) ได้แก่ คนสามกลุ่ม คือ 1.ชนชั้นกลาง (Urban elite) 2.พลังข้าราชการ (Bureaucratic power) 3.ฝ่ายนิยมเจ้า (Monarchist) โดยคนสามกลุ่มเป็นคนละส่วนแต่ได้จับมือกันเพื่อต่อสู้กับทักษิณ ชินวัตร โดยพวกนิยมเจ้าเริ่มสู้กับทักษิณ เพราะเขาไม่ชอบทักษิณ และกังวลเรื่อง Successor (ผู้สืบสันตติวงศ์) ส่วนคนในเมืองที่เป็นชนชั้นกลางนั้นสู้กับคนจนในชนบทและคนจนในเมือง ในขณะที่พวกข้าราชการก็สู้กับ ส.ส.
พวกนิยมเจ้าไม่ชอบทักษิณ เพราะรัฐในอุดมการณ์ของเขาเข้ากับทักษิณได้ยาก เขาต้องการปกครองในรูปแบบ "ประชาธิปไตยแบบไทยๆ" หรือ "ราชประชาสมาศัย" ซึ่งสองอย่างนี้เหมือนกันหรือคล้ายกันมาก
ปิยะบุตร แสงกนกกุล เคยอธิบายว่า "ประชาธิปไตยแบบไทยๆ" มีลักษณะดังนี้ คือ หนึ่ง องคมนตรีมีอำนาจแทรกแซงการเมือง สอง ประชาชนเป็นข้าแผ่นดิน ไม่ใช่พลเมือง สาม รัฐบาลเสียงข้างมากต้องประนีประนอมกับอภิชน สี่ เชื่อว่าการเลือกตั้งไม่ใช่ตัวบงชี้ ห้า กองทัพเป็นผู้อนุบาล หก ปราศจากการตรวจสอบและความรับผิด (accountability)
ระบบการปกครองต่างๆ ทั่วโลก ที่เป็นระบอบประชาธิปไตย มีสามรูปแบบ หนึ่ง ระบบประธานาธิบดี (Presidency System) ผู้นำเป็นประธานาธิบดี เช่น สหรัฐอเมริกา อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้
สอง ระบบรัฐสภา (Parliamentary System) นายกรัฐมนตรีมีอำนาจ เช่น อังกฤษ ญี่ปุ่น มาเลเซีย ภูฏาน สิงคโปร์ ส่วนมากประเทศที่เป็นประชาธิปไตยต้องเป็นรูปแบบที่ 1 หรือที่ 2 นี้
สาม เรียกว่ากึ่งประธานาธิบดีกึ่งรัฐสภา (Semi-Presidential System) โดยนายกรัฐมนตรีกับประธานาธิบดีมีอำนาจเท่าๆ กัน ประเทศที่ใช้การปกครองรูปแบบนี้เช่น ฝรั่งเศส ไต้หวัน รัสเซีย
แบบที่สี่ “แบบไทยๆ” นี่เป็นลักษณะพิเศษ เป็นแบบที่แบ่งอำนาจระหว่างนายกรัฐมนตรีกับ Monarch (สถาบันพระมหากษัตริย์)
และแบบที่ห้า Monarchial system หรือ แบบกษัตริย์ เช่น บรูไน
โดยระบบประธานาธิบดีเป็นประมุข กับระบบกษัตริย์เป็นประมุขมีลักษณะคล้ายกัน ต่างกันที่มาจากการเลือกตั้งหรือไม่เท่านั้น
ทั้งนี้ในรูปแบบสามกับสี่ มีปัญหาอย่างหนึ่ง คือ ความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างนายกรัฐมนตรีกับประธานาธิบดี และระหว่างนายกรัฐมนตรีกับกษัตริย์ อาจเป็นแบบ Zero-sum game คนหนึ่งได้หมด คนหนึ่งจะเสียหมด ทั้งสองฝ่ายจะร่วมกันได้นี่ยากหน่อย โดยทั่วไปแล้วอีกฝ่ายชนะ อีกฝ่ายแพ้ มักจะเป็นอย่างนั้น
ประเทศที่เป็นประชาธิปไตยจะใช้รัฐธรรมนูญกำหนดอำนาจ นายกรัฐมนตรีมีอำนาจแบบนี้ ประธานาธิบดีมีอำนาจแบบนี้ ยึดกันตามกฎหมาย แต่ถ้าไม่กำหนดอย่างชัดแจ้งจะเกิดปัญหาแบบที่เมืองไทยที่แย่งชิงอำนาจกัน ใครมีอำนาจมากกว่ากัน
แบบไทยๆ” นั้นมีปัญหาอย่างไร ถ้าหากว่านายกรัฐมนตรี มีความชอบธรรมสูงมาก สำหรับพวกนิยมเจ้าถือว่าเป็นปัญหา พวกเขาสนใจมากและห่วงมากหากนายกรัฐมนตรีมีความชอบธรรมสูงมากไป แต่ถ้าเป็นที่ญี่ปุ่น หรืออังกฤษ ซึ่งมีกษัตริย์เหมือนกัน แต่นายกรัฐมนตรีจะมีอำนาจมากหรือน้อยนั้นพวกนิยมเจ้าเขาไม่สนใจ ส่วนเมืองไทยไม่เป็นอย่างนั้น
จึงถือว่าแบบญี่ปุ่นและอังกฤษทั้ง Popularity (ความนิยมของ ประชาชน) กับ Ability (ความสามารถ) ของ Monarch นั้น ไม่สำคัญกับระบอบ แต่สำคัญสำหรับแบบที่ 4 กับแบบที่ 5 ในญี่ปุ่น และอังกฤษไม่มีปัญหา โดยอำนาจของกษัตริย์ถูกจำกัดด้วยรัฐธรรมนูญ ผมพูดในฐานะที่ไม่ใช่นักกฎหมาย ผมอาจเข้าใจผิดก็ได้ แต่เมื่อรัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนดอย่างชัดแจ้งปัญหาก็จะเกิด
กล่าวคือความสูงต่ำของเพดานอำนาจ Monarch จึงเปลี่ยนง่าย ขึ้นอยู่กับความสามารถของ Monarch และความสัมพันธ์กับนายกรัฐมนตรี เพราะฉะนั้นพวกนิยมเจ้าจึงพยายามเพิ่มอำนาจของ Monarch
ปัญหาจึงเกิดขึ้น เมื่อฝ่ายนิยมเจ้า กับ ทักษิณ ทะเลาะกัน เพราะความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างนายกรัฐมนตรี กับ กษัตริย์ เริ่มเปลี่ยน เพราะประเทศมีประชาธิปไตยมากขึ้น โดยมีขั้นตอนเริ่มจากการเลือกตั้งอย่างน้อยหลังปี 2522 สมัยรัฐบาล พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ แล้วอีกอย่างที่สำคัญ หลังเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม 2535 มีการแก้รัฐธรรมนูญว่านายกรัฐมนตรีต้องมาจาก ส.ส. แปลว่าคนที่เลือกนายกรัฐมนตรีคือประชาชน นี่เป็นการเปลี่ยนแปลงที่มีความสำคัญ ต่อมามีรัฐธรรมนูญปี 2540 และในช่วงเดียวกันมีการกระจายอำนาจ มีการเลือกตั้งบ่อยขึ้น หลังรัฐธรรมนูญปี 2540 เป็นต้นมา ทั้งระดับชาติ และระดับท้องถิ่นมีการเลือกตั้งมากขึ้น ประชาชนเรียนรู้ว่าจะใช้คะแนนเสียงของตนอย่างไร
สุดท้ายเมื่อมีการเลือกตั้งปี 2544 ทักษิณขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรี เป็นปัจจัย เงื่อนไข ให้พวกนิยมกษัตริย์ ตกใจ เป็นห่วง ไม่พอใจ พวกนิยมเจ้าคิดอย่างไร นี่เป็นคำพูดที่มีชื่อเสียง ทุกคนเคยเห็นเคยได้ยินมาแล้ว เมื่อ พล.อ.เปรม ติณสูลานนนท์ (ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ) พูดที่โรงเรียนนายร้อย จปร. ก่อนมีรัฐประหารประมาณ 2 เดือน เขาอธิบายว่า “รัฐบาลก็เหมือนกับ jockey คือเข้ามาดูแลทหาร ไม่ใช่เจ้าของทหาร เจ้าของทหารคือชาติ และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” [1] แต่คำว่า ชาติ ของ พล.อ.เปรม หมายถึงอะไร ก็คงไม่มีใครอธิบาย เมื่อวานผมผ่าน “ค่ายตากสิน (กองพันสัตว์ต่าง กรมการขนส่งทหารบก อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่) เขาเขียนว่า “เพื่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และประชาชน” แต่ในตะวันตก ชาติ หมายถึง ประชาชน เป็นอันเดียวกัน แต่ที่นี่ ที่ประเทศไทยชาติไม่ใช่ประชาชน ชาติหมายถึงอะไร ไม่รู้ ที่นี่ชาติอาจไม่มีความหมาย ทหารจึงเป็นของกษัตริย์ในสายตาของ พล.อ.เปรม
นอกจากนี้มีหนังสือจากประธานศาลฎีกา ถึงประธานวุฒิสภา ลงวันที่ 1 มิ.ย. 2549 อธิบายทำนองว่าในภาวะที่ประเทศว่างเว้นรัฐสภา และรัฐมนตรีต้องพ้นจากตำแหน่ง ถ้ารัฐสภาว่างเปล่า ครม.ว่างเปล่า เหลือแต่อำนาจศาล กษัตริย์จะใช้อำนาจอธิปไตยโดยผ่านศาลได้ [2] เพราะ ช่วงนั้น สภาว่างเปล่าจริงๆ ไม่มี ส.ส. ส่วน ส.ว. ก็ว่าง เหลือแต่ คณะรัฐมนตรีรักษาการ ถ้าหากทักษิณลาออก หรือถูกทำให้ออกในสมัยนั้น ทักษิณไป คณะรัฐมนตรีก็ไม่มีเหลือ จะเหลือแต่อำนาจศาลเท่านั้น ผมเข้าใจว่ามีการพยายามสร้างสถานการณ์หรือทำให้มีสภาวะของอำนาจแบบนั้น ถ้าเป็นแบบนั้นก็จะสามารถใช้อำนาจอธิปไตยโดยใช้ศาลได้ แต่พอดีเกิดรัฐประหารขึ้น
ต่อมา อาจารย์ทามาดะ เปรียบเทียบความแตกต่างทางความคิดระหว่างคนสองกลุ่ม คือกลุ่มเสื้อแดง กับ กลุ่มเสื้อเหลือง ตามตัวชี้วัดต่างๆ ดังนี้
ประเด็นแรก “การเลือกตั้ง” เสื้อเหลือง ไม่ชอบ และ ด่า ส.ส. ส่วน เสื้อแดง ถือว่าเขาได้ประโยชน์จากการเลือกตั้ง การเลือกตั้งขาดไม่ได้ต้องมี ประเด็นที่สอง ในเรื่อง “การรัฐประหาร” เสื้อเหลือง ยอมได้ เสื้อแดง ไม่ยอม ประเด็นที่สาม ในเรื่อง “ด่าใคร” ในกรณีการสลายการชุมนุมที่ผ่านมา เสื้อเหลือง ด่าคนที่ถูกฆ่า ส่วนเสื้อแดง ด่าคนที่สั่งฆ่าหรือคนที่ฆ่า
จากนั้น อาจารย์ทามาดะ ได้นำข้อมูลจากงานวิจัยของอภิชาต สถิตนิรามัย อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ อาจารย์ยุกติ มุกดาวิจิตร อาจารย์คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มาอภิปราย โดยคำถามในงานวิจัย เมื่อถามเกี่ยวกับอาชีพของคนสองกลุ่ม  ในการสำรวจพบว่าอาชีพเกษตรกร คนเสื้อเหลืองมีอาชีพนี้ 35% ส่วนคนเสื้อแดง 53% เป็นเกษตรกร
ในอาชีพงานนอกระบบ คนเสื้อเหลืองทำงานนอกระบบ 4% คนเสื้อแดง 9% ส่วนอาชีพในระบบที่เป็นทางการ พบว่าเป็นคนเสื้อเหลือง 35% คนเสื้อแดง 22% ส่วนอาชีพค้าขาย พบว่าเป็นคนเสื้อเหลือง 27% คนเสื้อแดง 6%
ส่วนเรื่องวุฒิการศึกษา คนเสื้อเหลืองจบระดับปริญญาตรีขึ้นไป 38% คนเสื้อแดง 18.7%
ในเรื่องรายได้ต่อเดือน คนเสื้อเหลืองมีรายได้ 31,427 บาทต่อเดือน คนเสื้อแดงมีรายได้ 17,034 บาทต่อเดือน ส่วนคนที่เป็นกลางมีรายได้ 11,995 บาทต่อเดือน ในด้านจิตสำนึก เป็นอย่างไร คนเสื้อเหลืองกลับรู้สึกว่าตัวเอง ยากจน 23% คนเสื้อแดง รู้สึกว่าตัวเองยากจนเพียง 18% คือคนเสื้อเหลืองรวยกว่าแต่รู้สึกว่ายากจนกว่า ส่วนคนที่เป็นกลางรู้สึกว่ายากจน 14.6%
ส่วนคนที่รู้สึกว่าตัวเองมีฐานะปานกลาง พบว่า คนเสื้อเหลือง 61.5% คิด ว่าตัวเองมีฐานะปานกลาง คนเสื้อแดง 50% คิดว่าตนมีฐานะปานกลาง ส่วนคนที่เป็นกลาง 78.1% คิดว่าตัวเองมีฐานะปานกลาง ส่วนทัศนคติเกี่ยวกันความเหลื่อมล้ำทางรายได้แล้ว พบว่ากลุ่มคนเสื้อเหลืองนั้นรู้สึกว่าช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนนั้นไม่ ห่างมาก หมายถึงยังพอรับได้ 57.7% ส่วนคนเสื้อแดง 75.0% และคนที่เป็นกลาง 87.8% คิดเช่นนั้น
เรื่องการยอมรับการรับประหาร คนเสื้อแดง ไม่ยอมรับการรัฐประหาร 81% ยอมรับการรัฐประหาร 19.2% ส่วนคนเสื้อเหลือง ไม่ยอมรับการรัฐประหาร 12.5% ยอมรับการรัฐประหาร 50% และเมื่อถามว่าจะยอมรับการรัฐประหารที่เกิดขึ้นในอนาคตหรือไม่ คนเสื้อเหลืองร้อยละ 73.1 ตอบว่ายอมรับการรัฐประหารหากเป็นไปเพื่อการปกป้องสถาบัน และ 57.7% ยอมรับการรัฐประหารเพื่อแก้ปัญหาจลาจล
อาจกล่าวได้ว่า นี่เป็นความขัดแย้งทางการเมืองระหว่าง ฝ่ายที่ต้องการให้มีการเลือกตั้ง กับฝ่ายที่ไม่ต้องการให้มีการเลือกตั้ง พวก Monarchist ต้องโจมตีทั้ง “Principal” “Agent” และ “Election” โดยโจมตีว่าประชาชน ซึ่งเป็น “Principal” นั้น โง่ ยากจน การศึกษาต่ำ จึงขายเสียง โจมผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็น “Agent” ว่าคอร์รัปชั่น ซื้อเสียง จึงไม่ชอบธรรม และโจมตีขั้นตอนมอบอำนาจคือ “Election” หรือการเลือกตั้ง ว่ามีการซื้อเสียง ขายเสียง
โดยอาจารย์ทามาดะ ได้เปรียบเทียบวิธีคิดนี้กับคำพูดของนายจรัญ ภักดีธนากุล ขณะนั้นเป็นเลขาธิการประธานศาลฎีกา เมื่อวันที่ 15 ก.ค. 2549 ที่นายจรัญกล่าวว่า “เราขอถามที่มาของผู้ทรงอำนาจรัฐ 16 ล้านเสียง แค่คูณด้วยเสียงละพัน มันก็เป็นเงินแค่ 1.6 หมื่นล้านบาทเท่านั้นเอง...” [3] ซึ่งถ้าเป็นผู้พิพากษาในญี่ปุ่นพูดแบบนี้ถูกปลดทันที แต่ในไทยตอนนี้คนนี้ก็ยังเป็นผู้พิพากษาอีก
จากนั้น อาจารย์ทามาดะ อภิปรายต่อไปว่า เกี่ยวกับความไม่พอใจของคนเสื้อเหลืองกับคนเสื้อแดง โดยอาจารย์ทามาดะกล่าวว่า ขอเดาว่า หนึ่ง คนเสื้อแดงไม่พอใจกับการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 สอง คนเสื้อแดงไม่พอใจ Injustice หรือสองมาตรฐาน ว่าเป็นประชาชนด้วยกัน เป็นคนไทยด้วยกัน แต่มีการปฏิบัติด้วยมาตรฐานหลายอย่าง สาม คนเสื้อแดงไม่พอใจที่มาของรัฐบาลอภิสิทธิ์ ที่เกิดภายในค่ายทหาร เพราะฉะนั้นเขาไม่ชอบ
ส่วนคนเสื้อเหลือง เขาไม่พอใจ เพราะเขากลัว การเมืองแบบเสียงข้างมาก แต่เขาเป็นเสียงข้างน้อย เขาไมชอบแบบนี้
ตามคำอธิบายของอาจารย์ยุกติ มุกดาวิจิตร ในแง่มุมทางเศรษฐกิจ คนเสื้อเหลือง หรือชนชั้นกลางเดิมนั้นเขาได้เปรียบหลายอย่าง แต่สิบปีที่ผ่านมาไม่ค่อยได้เปรียบ ฐานะเริ่มเท่ากับคนชั้นล่าง เขาจึงไม่พอใจ ส่วนแง่มุมทางวัฒนธรรม คนเสื้อเหลือง ชนชั้นกลาง เขาต่อต้านการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ เขาไม่ชอบ ไม่ต้องการให้เปลี่ยน
อาจารย์ทามาดะ กล่าวว่า ดังนั้นการทะเลาะกันนี้ยังไม่จบและจบยาก เพราะการต่อสู้นี้ ถ้าเลียนแบบคำพูดของ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. ที่พูดกับ ส.ส. เมื่อเดือนธันวาคมปี 2551 ที่พูดว่า “รู้ไหม สู้กับใคร” เพราะฉะนั้น ส.ส. หลายคนจึงกลายเป็นงูเห่า
ดังนั้น ถ้าเลียนแบบเขาเอาคำพูดนี้มาใช้แล้วเอามาถามว่า “เขาสู้ กับใคร?” หลายคนคิดว่ากำลังสู้กับทักษิณ? แต่ว่าจริงๆ แล้ว โจมตีทักษิณมา 5 ปีแล้วยังชนะไม่ได้ ทำไม? ยังโจมตีไม่พอ? ทำลายไม่พอ? หรือเปล่า? ก็ไม่ใช่ เขาสู้กับประชาชน เพราะสู้กับประชาชน ดังนั้นจึงไม่มีทางเอาชนะได้
และการต่อสู้ครั้งนี้เป็นการต่อสู้ระหว่างรัฐสองแบบ รัฐของฝ่ายกษัตริย์นิยม กับ รัฐของประชาชน ถ้าเป็นระบอบการปกครองประชาธิปไตยแบบธรรมดาๆ โดยทั่วไปแล้ว ประชาชนเป็น Principal โดยตัวของเขา และเลือก Agent และ Agent ผู้ถูกเลือกตั้งเขาจะทำการปกครอง โดยเป็นสมาชิกรัฐสภา หรือประธานาธิบดี นี่เป็นการปกครองแบบประชาธิปไตย ภายใต้โครงสร้างนี้จะปฏิเสธอำนาจอธิปไตยของประชาชนและปฏิเสธการเลือกตั้งไม่ ได้ เพราะถ้าปฏิเสธสิ่งเหล่านี้เราไม่ใช่ประชาธิปไตยแล้ว หนทางของฝ่ายที่กำลังสู้กับประชาชนนี้ไม่มีวันที่จะชนะได้